ผลของการให้บริการตรวจรักษาโรคแผนกผู้ป่วยนอกคู่ขนาน การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกต่อคุณภาพบริการ ในมุมมองของผู้ให้และผู้มารับบริการ : กรณีศึกษาจังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, ผู้ให้บริการ, ผู้มารับบริการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้บริการตรวจรักษาโรคแผนกผู้ป่วยนอกคู่ขนานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกต่อคุณภาพบริการ ในมุมมองของผู้ให้และผู้มารับบริการในโรงพยาบาลของจังหวัดขอนแก่น เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ในผู้มารับบริการ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ แพทย์แผนไทยที่ตรวจรักษาโรคที่แผนกผู้ป่วยนอกคู่ขนานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จำนวน 44 คน และผู้มารับบริการที่ได้รับการคัดกรองเข้าตรวจรักษา จำนวน 485 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผู้ให้บริการมีอัตราตอบกลับคิดเป็นร้อยละ 100 พบว่า ให้บริการตรวจรักษา OPD คู่ขนาน ไม่น้อยกว่า 2 วันต่อสัปดาห์ มีความมั่นใจในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรค ทราบถึงมีนโยบายที่ชัดเจนในการจัดบริการด้านการแพทย์แผนไทย และแพทย์แผนไทยได้รับการพัฒนาทักษะ ความรู้ อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ในส่วนของผู้มารับบริการมีอัตราตอบกลับคิดเป็น ร้อยละ 97.11 ได้รับการตรวจคัดกรอง และได้รับคำแนะนำในการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย มีความมั่นใจในบริการ และพึงพอใจในการรับบริการระดับมากที่สุด เพื่อการพัฒนาการให้บริการตรวจรักษาโรคแผนกผู้ป่วยนอกคู่ขนานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ควรมีการผลิตและพัฒนาแพทย์แผนไทยให้มีจำนวนแพทย์แผนไทยที่ให้บริการอย่างเพียงพอ และสร้างความมั่นใจให้ผู้มารับบริการในประเด็นของการรักษาด้วยยาสมุนไพรเพื่อให้คุณภาพเทียบเคียงกับยาแผนปัจจุบัน
References
ธวัชชัย กมลธรรม. เจาะลึกระบบสุขภาพ. (ออนไลน์). 2561 [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก https://www. hfocus. org/home?destination=content/2014/11/8633.
ธิดารัตน์ กันทาแจ่ม. ความต้องการและโอกาสการเข้าถึงการบริการด้วยการแพทย์แผนไทยเขตบริการโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่.[วิทยานิพนธ์การแพทย์แผนไทยมหาบัณฑิต]. เชียงราย: วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย; 2558.
เยาวภา ปฐมศิริกุล. พฤติกรรมด้านสุขภาพและปัจจัยจิตวิทยาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการด้านสุขภาพด้วยวิธีการแพทย์ทางเลือกของลูกค้าโรงพยาบาลบ้านนา จังหวัดนครนายก. วารสารศรี นครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2014; 6(11).
Abramson J. H. WINPEPI updated: computer programs for epidemiologists, and their teaching potential. Epidemiologic perspectives & innovations: EP+I, 8(1), 1. doi: 10.1186/1742-5573-8-1). 2011.
อัจฉรา เชียงทอง, อรนุช ภาชื่น, ฉวีวรรณ บุญสุยา, ฉัตรชัย สวัสดิไชย. คุณภาพและการเข้าถึงบริการของโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทย. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2560; ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 ก.ค. - ก.ย. 2560 หน้า 206 – 221.
ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. สถิติพื้นฐาน. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2539.
ชนม์นิภา นามแสง และ อัจฉราวรรณ โตภาคงาม. การประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการการแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลของรัฐ จังหวัดอุดรธานี. KKU Res J (GS) 16(1): January – March 2016.
กลุ่มงานพัฒนาวิชาการ สำนักการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. การดูแลผู้ป่วยกลุ่มอาการปวดเรื้อรังระบบกระดูกและกล้ามเนื้อด้วยการแพทย์ผสมผสาน.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ; มปป.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว