การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาตา:กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
การพยาบาล, เบาหวานขึ้นจอประสาทตาบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นกรณีศึกษา (case study ) ประชากรที่ศึกษาคือ ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการดำเนินของโรค เปรียบเทียบข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ปฏิบัติการพยาบาล และผลลัพธ์การพยาบาลเลือกแบบเจาะจง 2 ราย ที่มีการรับรู้ และการดูแลตนเองแตกต่างกัน ซึ่งเบาหวานขึ้นจอประสาทตา เป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน ทำให้เส้นเลือดที่จอประสาทตาได้รับความเสียหายและเลือดไหลเวียนผิดปกติ ในช่วงแรกอาจมองเห็นผิดปกติเล็กน้อย หากปล่อยไว้ไม่รักษา อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ ผลการศึกษาผู้ป่วย 2 ราย แตกต่างกันที่ความสม่ำเสมอในการติดตามการรักษา การควบคุมโรค การจัดการตนเองเกี่ยวกับโรค เกิดภาวะแทรกซ้อนคือมีภาวะเบาหวานขึ้นตาอย่างรุนแรง เมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนการดูแลจัดการกับโรคของผู้ป่วย การดูแลช่วยเหลือโดยพยาบาลจึงต้องมีความเหมาะสม และควรต้องเป็นพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญ ผ่านการฝึกทักษะเฉพาะทาง ซึ่งได้ทบทวน และนำใช้หลักการเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ประกอบการวางแผนการพยาบาล เพื่อให้เกิดการเรียนรู้การจัดการตนเองของผู้ป่วยที่ต่อเนื่อง ประกอบกับการพัฒนาทีมทำงาน และคำนึงถึงผู้ป่วยและครอบครัวเป็นศูนย์กลางเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิติที่ดีต่อไปผลการศึกษาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพทีม แนวทางการประเมินผู้ป่วยและใช้เป็นแนวทางดูแลผู้ป่วยกลุ่มภาวะแทรกซ้อนทางตาอื่นได้
References
World Health Organization. World Health Statistics 2015. [cite October 31 2019] available from: http//www. who.int/gho/publications/world_health_statistics/.2015.
Sompopsakul A, Euayaraporn Y, Sukchan P, et el. Prevalence and risk factors of diabetic retinopathy among registered diabetic patient in Songkhla general hospital. Journal of the NarathwatRajanager University. 2012; 4 (3).
Intaravichiankacha S. Factors related to self-care behavior of diabetic patients who come to service at the Tambon Health Promotion Hospital, ProvinceUbonRatchathani. Plubic Health Technical Officer Professional Level Ubonratchathani Provincial Public Health Office. 2012; 7 (2).
Information. Patient statistics, Khon Kaen Hospital. KhonKaen. 2017.
Chen MS,Kao CS, Chang CJ, WuTj, Fu CC, Chen CJ,etal.Prevalenceand risk factorsof diabetic retinopathy among noninsulin-dependent diabetic subjects. Am J Ophtalmo. 1992; 114(6): 723-30.
Cai XL, Wang F, Ji LN. Risk factors of diabetic retinopathy in type 2 diabetic patients. Chin Med J (Engl). 2006: 20; 119(10): 822-6.
Dowse GK, Humphrey ARG, Collins VR, Plehwe W, Gareeboo H, Fareed D, et al. Prevalence and risk factors for diabeticretinopathyinthe- multiethnic population of Mauritius. Am J Epidemiol. 1998; 147(5): 448-57.
Lim A, Stewart J, Chui TY, Lin M, Ray K,LietmanT,etal.Prevalenceand risk factors of diabetic retinopathy in a multi-racial underserved population. Ophthalmic Epidermiol. 2008; 15(6): 402-9.
Pradeepa R, Anitha B, Mohan V, Ganesan A, Rema M. Risk factors for diabetic retinopathy inaSouthIndian Type 2 diabetic population in the Chennai Urban Rural Epidermiology Study (CURES). Diabet Med. 2008; 25(5): 536-42.
Wongsittirak S. Common Ophthalmic Diseases. Nursing Textbook, Eye Practice. Bangkok: Department of Ophthalmology Faculty of Medicine, Thammasat University. 1998.
Mitwongsa G. Incidence of diabetic retinopathy in Mukdahan province. The medical research Mukdahan hospital [interne]. 2012.[cited October 31 2019] available from: http//www.mukhos.go.th/sit/?name=research&file=readresearch&id =6.
Worratach K. Metabolic factors affecting diabetic retinopathy of type 2 diabetic patients In Phetchabun Hospital. Journal of Health Systems Research and Development. 2012; 5 (1): 10-23.
Pawaranggoon W. Prevention of diabetic retinopathy in type 2 diabetic Patients Nunah Hospital Bangkok. Chiangrai Medical Journal. 2018; 9(2): 73-81.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว