การพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ร่วมกับภาวะไตเรื้อรังระยะ 3b และหรือภาวะหัวใจล้มเหลว ในจังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • อังศุมาลิน โคตรสมบัติ โรงพยาบาลยโสธร
  • เพชรรัตน์ ศรีสุรัตน์ โรงพยาบาลยโสธร

คำสำคัญ:

รูปแบบการจัดการ, ความดันโลหิตสูงและเบาหวานที่ควบคุมไมได้, ไตเรื้อรังระยะ 3b, หัวใจล้มเหลว

บทคัดย่อ

วิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้มีโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3b และหรือภาวะหัวใจล้มเหลวการวิเคราะห์ความรอบรู้ทางสุขภาพและผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วย ใช้กรอบแนวคิดการวิจัยและพัฒนาร่วมกับแนวคิดการจัดการรายกรณีผสมผสานโปรแกรมความรอบรู้ทางสุขภาพและการจัดการตนเอง ศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้พบไตเรื้อรังระยะ3bและหรือมีภาวะหัวใจล้มเหลวจำนวน 45 คน ใช้กลุ่มเดียวและสหสาขาวิชาชีพที่ให้บริการสุขภาพในโรงพยาบาลจำนวน 30 คน ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2562-กุมภาพันธ์ 2563 ใช้เครื่องมือประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 1) แบบประเมินภาวะสุขภาพ คุณภาพชีวิต ความรอบรู้ทางสุขภาพ สำหรับผู้ป่วย 2) แบบประเมินความรู้ของพยาบาล ความพึงพอใจ และแนวคำถามเชิงโครงสร้างที่ใช้สำหรับสนทนากลุ่มของสหสาขาวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ pair t–test ในกิจกรรมสนทนากลุ่มวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาการวิจัยได้รูปแบบการจัดการรายกรณีผสมผสานโปรแกรมความรอบรู้ทางสุขภาพและการจัดการตนเอง ผู้ป่วยมีความรอบรู้ทางสุขภาพเพิ่มขึ้น และพบผลลัพธ์ทางคลินิกระดับความดันโลหิต น้ำตาลในเลือด ไขมันลดลง ชะลอความเสื่อมของไตและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ข้อเสนอแนะ ในงานวิจัยครั้งต่อไปควรมีการศึกษาในค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ เนื่องจากประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการรายกรณีที่ต้องการในด้านหนึ่งคือความคุ้มค่าคุ้มทุน

References

อรุณี ไชยฤทธิ์, วิมล จึงสมบัติ. บทบาทสำคัญของผู้จัดการรายกรณีต่อการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : เบาหวานและความดันโลหิตสูง. พยาบาลสาร 2560;44(4):195-205.

รุ่งทิวา ขันทมูล, สมจิตร แดนสีแก้ว. การจัดการตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560; 2: 89-97.

Anderson.,R.M. Rice, T.R., and Kominski,G.F. Health Care System. Third Edit. Jossey – Bass; 2017.

สุขมาพร พึ่งผาสุก, นภาพร วาณิชย์กุล, ทิพา ต่อสกุลแก้ว, เกศริทร์ อุทริยะประสิทธิ์. ความสัมพันธ์ของความแตกฉานทางสุขภาพ ผลการได้รับความรู้เกี่ยวกับสุขภาพและอิทธิพลทางสังคม กับผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และหรือความดันโลหิตสูง. วารสารสภาการพยาบาล 2560; 32(2): 111-25.

นวลขนิษฐ์ ลิขิตลือชา, อัมราภัสร์ อรรถชัยวัจน์, สมจิตต์ วงศ์สุวรรณสิริ, ธีรพร สถิรอังกูร, ศิริมา ลีละวงศ์. การพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้. วารสารกองการพยาบาล 2560; 44(2): 141-58.

วาสนา สุวรรณรัศมี, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล,วิชชุดา เจริญกิจการ,ฉัตรกนก ทุมวิภาค. ประสบการณ์และการจัดการกับ,อาการแสดง, สภาวะสุขภาพในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว. วารสารการพยาบาลทรวงอกไทย 2556; 24(1):1-16.

Case Management Society of America. Standards of Practice for Case Management. n.d. 2016.

Tachavijitjaru C., Health Literacy: A Key Indicator towards Good Health Behavior and Health Outcomes. Journal of The Thai Army Nurses 2018; 19: 1-9.

สาวิตรี วิษณุโยธิน. ประสิทธิผลของโปรแกรมผสมผสานความแตกฉานทางสุขภาพและการจัดการตนเองสำหรับการควบคุมโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนเขตเมือง จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย. ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต; สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2560.

ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์, นรีมาลย์ นีละไพจิตร. การพัฒนาเครื่องมือวัดความรู้แจ้งแตกฉานด้านสุขภาพ. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขกับมหาวิทยาลัย มหิดล. 2558.

สมคิด สุภาพันธ์. การพัฒนารูปแบบการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยการจัดการรายกรณี โรงพยาบาลภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการพยาบาลสาธารณสุข 2562;28(5).857-66.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30