ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเครียดของครูผู้ดูแลเด็กพิเศษ ในศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษาที่ 10
คำสำคัญ:
ครูผู้ดูแลเด็กพิเศษ, ความเครียด, การสนับสนุนทางสังคมบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียด และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเครียดของครูผู้ดูแลเด็กพิเศษในศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษาที่ 10 กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้ดูแลเด็กพิเศษ จำนวน 47 คน จากสูตรประมาณค่าสัดส่วนกรณีไม่ทราบประชากรสุ่มศูนย์การศึกษาพิเศษด้วยการสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลครูผู้ดูแลเด็กทุกคนในศูนย์ที่ได้รับการสุ่ม ด้วยแบบวัดระดับความเครียด แบบสอบถามสัมพันธภาพในหน่วยงาน แบบสอบถามภาระการดูแลของครูผู้ดูแลเด็กพิเศษ และแบบสอบถามการสนับสนุนทางด้านสังคม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93, 0.87,0.89 และ 0.91 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ด้วย Chi-Square test หรือ Fisher’s Exact Test ผลการศึกษาพบว่า อัตราการตอบกลับ ร้อยละ 89.4 ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 83.3 มีอายุ 30-39 ปี ร้อยละ 45.2 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 52.4 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 81.0 ไม่ได้จบด้านการศึกษาพิเศษ ร้อยละ 85.7 ได้รับเงินเดือนระหว่าง 15,000-20,000 บาท ร้อยละ 66.7 ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 90.5 ประสบการณ์ในการเป็นครู 3-10 ปี ร้อยละ 47.6 เคยได้รับการอบรมทางการศึกษาพิเศษ ร้อยละ 78.6 และประเภทของนักเรียนที่ได้รับผิดชอบคือ ความบกพร่องทางสติปัญญา ร้อยละ 59.5 ระดับความเครียดของครูผู้ดูแลเด็กพิเศษ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 52.4 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของครูผู้ดูแลเด็กพิเศษอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การมีโรคประจำตัว (p-value = 0.012) สัมพันธภาพในหน่วยงาน (p-value = 0.034) และด้านการสนับสนุนทางสังคม (p-value = 0.005) ดังนั้น ศูนย์การศึกษาพิเศษ ควรปรับแบบการดูแลสุขภาพของครูผู้ดูแลเด็กพิเศษ เสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างครู และผู้บริหารควรสนับสนุนให้คำปรึกษาแก่ครูผู้ดูแลเด็กพิเศษเพิ่มมากขึ้น
References
ณัชพร ศุภสมุทร์. การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ. [อินเตอร์เน็ต]. 2553 เข้าถึงเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2562, เข้าถึงได้จาก http://www.rajanukul.go.th.
กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต. ผลการสำรวจคนพิการที่อยู่ในวัยเด็กและวัยศึกษา พ.ศ. 2559. [อินเตอร์เน็ต]. 2559 เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2562, เข้าถึงได้จาก http://www.dep. go.th/.
กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต. ผลการสำรวจคนพิการที่อยู่ในวัยเด็ก และวัยศึกษา พ.ศ.2561. [อินเตอร์เน็ต]. 2561 เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2562, เข้าถึงได้จาก http://www.dep.go.th/.
กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต. รายงานข้อมูลด้านสถานการณ์คนพิการในประเทศไทย. [อินเตอร์เน็ต]. 2563 เข้าถึงเมื่อวันที่ 31 มีนาคม2563, เข้าถึงได้จาก http://www.dep.go.th/.
ศิริรัตน์ อุฬารตินนท์. ชุดวิชาพัฒนาการเด็กพิเศษ. [อินเตอร์เน็ต]. 2560 เข้าถึงเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2562, เข้าถึงได้จาก http://www.humaneco.stou.ac.th.
นฤมล ทวีพนธ์. ความเครียด ภาระการดูแล และทัศนคติที่มีต่อเด็กออทิสติกของครูที่ดูแลเด็กออทิสติก ในโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสุขภาพจิต คณะวิทยาศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555.
ขนิษฐา หะยีมะแซ. การศึกษาเปรียบเทียบการสนับสนุนทางสังคมในผู้ดูแลเด็กกลุ่มอาการออทิซึม และเด็กพัฒนาการสมวัยที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2556.
ปวิดา โพธิ์ทอง, สุพัตรา จันทร์สุวรรณ, สุนทรี ขะชาตย์, และ เสาวลักษณ์ แสนฉลาด. การศึกษาภาวะสุขภาพของเด็กออทิสติก ความรู้และความเครียดของผู้ดูแลเด็กออทิสติก ที่ได้รับบริการจากศูนย์การศึกษาพิเศษ เขต 5 จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2557; 25(2): 26-40.
จิราพรรณ เบญญศรี. ความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในครูที่สอนนักเรียนพิการทางการศึกษา ระดับชั้นอนุบาลและประถมศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิต ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;2553.
ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 10 จังหวัดอุบลราชธานี. ข้อมูลพื้นฐาน. [อินเตอร์เน็ต].2558. ค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2562, จาก http://www. ubonspecial10.go.th.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2552.
ทศพล บุญธรรม. ภาวะความเครียดจากการทำงานของครูระดับมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปาก; 2547.
นาฏยพรรณ ภิญโญ. ความรู้สึกต่อภาวะการดูแลและความเครียดของบิดามารดาเด็กออทิสติกที่เข้ารับการบำบัดรักษาในตึกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาสุขภาพจิต ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.
อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย และพีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย. การบำบัดรักษาทางจิตสังคมสำหรับโรคซึมเศร้า. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ธนานพรสการพิมพ์; 2553.
ชูทิตย์ ปานปรีชา. อารมณ์ ความเครียดและการปรับตัว. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์; 2534.
Brown, Warren B., and Moberg, Denis J. Organizational Theory and Management: A Macro Approach. New York: John Wiley & Sons; 1980.
Montgomery, R., Gonyea, J., & Hooyman, N. Caregiving and experience of subjective and objective burden. Family Relations 1985; 34: 19-26.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว