ผลของการให้ความรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ในการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ ที่มารับบริการในคลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • วัลลภา สนธิเส็ง โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, การป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน, หญิงตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นวิจัยกึ่งทดลองแบบ 2 กลุ่มเปรียบเทียบ ก่อนและหลัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้ความรู้โดยใช้แนวคิดความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ ที่มารับบริการในคลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น ระหว่างเดือน เมษายน-มิถุนายน 2563 กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มละ 24 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมให้ความรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน ที่เกิดจากผู้วิจัยออกแบบขึ้นใหม่ โดยการบรรยาย การอภิปรายกลุ่ม การส่งข้อมูลความรู้ทางไลน์กลุ่มไอโอดีน การติดตามกระตุ้นเตือนทางโทรศัพท์ และใช้แบบบันทึกการปฏิบัติตัวที่บ้าน เป็นระยะเวลา 7 สัปดาห์  ใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยมีค่าความเชื่อมั่น 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติอ้างอิงดังนี้ Chi-square, Independent t-test และ ANCOVA

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรม มีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ ความเชื่อด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.01)

References

Morreale de Escobar G, Obregon MJ, Escobar del Rey F. Role of thyroid hormone during early brain development. Eur J Endocrinol 2004; 151 (suppl): U 26-37.

Bleichrodt N, Born MP. A meta-analysis of research on iodine and its relationship to cognitive development. In: The Damaged Brain of Iodine Deficiency. Stanbury JB editor. New York: Cognizant Communication Corporation. 1994. 195-200.

World Health Organization/ INTERNATIONAL Council for the Control of the Iodine Deficiency Disorders / United Nations Children Fund (WHO/ ICCIDD/ UNICEF). Assessment of the Iodine Deficiency Disorders and monitoring their elimination. 3rd edition. Geneva: WHO; 2007.

ประนอม บุพศิริ. ไอโอดีนกับสตรีตั้งครรภ์. Srinagarind Med journal 2556; 28(4): 92-97.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข. การควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน: เส้นทางสู่ความยั่งยืน. กรุงเทพฯ: บริษัทสามเจริญพานิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด; 2559.

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. สถิติผลการคัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ในทารกแรกเกิดของประเทศไทย.[ออนไลน์] 2562 [อ้างเมื่อ26 มกราคม 2563] จาก neoscreen.go. th/web/index.php?option=com_content&view=article&id=182&Itemid=147.

ข้อมูลสถิติงานอนามัยแม่และเด็กสำนักงานสารธารณสุข จังหวัดขอนแก่น, สรุปผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก ปีงบประมาณ 2562:[มปท :มปป.].

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือโรงเรียนพ่อแม่เพื่อลูกรัก: สุขภาพดี สมองดี อารมณ์ดี มีความสุข. โรงพิมพ์นิวธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย) จำกัด; 2559.

การพยาบาลชุมชน. ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อทางสุขภาพ (health belief model). [ออนไลน์] 2559 [อ้างเมื่อ 31 ธันวาคม 2562]. จาก http://myblogcomnurse.blogspot.com/2016/02/health-belive-model.html.

T. Z. Diddana, G. N. Kelkay, A. N. Dola, & A. A. Sadore, Effect of nutrition education based on health belief model on nutritional knowledge and dietary practice of pregnant women in Dessie Town, Northeast Ethiopia: A cluster randomized control trial. Journal of nutrition and metabolism, 2018.

M. Naghashpour, G. Shakerinejad, M. R. Lourizadeh, S. Hajinajaf, and F. Jarvandi, “Nutrition Education base on health belief model improves dietary calcium intake among female student of junior high school,” Journal of Health Population Nutrition, vol. 32, no. 3, pp. 420-429, 2014.

R. Bernard, Fundamentals of biostatistics (5thed.) Duxbury: Thomson learning, 307, 2000.

รานนท์ หาญมนตรี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพยาบาลสุขภาพและการศึกษา 2562; 2(2): 16-25.

ปราโมทย์ มาตย์สุริย์. การป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ในอำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น 2554; 19(2): 1-14.

นวลรัตน์ โมทะนา, ทัศพร ชูศักดิ์, เบญจวรรณ นันทชัย และ สัณหวัช ไชยวงศ์. ผลการให้สุข ศึกษาตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ ตำบลแม่ข้าวต้ม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารนเรศวรพะเยา 2555; 7(2):178-184.

ทิวาทิพย์ แสนเมือง. ผลการให้สุขศึกษาตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ ตำบลแม่ข้าวต้ม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย; 2555.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31