ผลการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ยุวดี ผงสา โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

การพัฒนา, รูปแบบการดูแล, แนวปฏิบัติการพยาบาล, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น ดำเนินการวิจัย 3 ระยะ  1) เตรียมการพัฒนา 2) ดำเนินการพัฒนา 3) ประเมินผล ตั้งแต่เดือน พ.ค.–ก.ย. 2563 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงคือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันตามคุณสมบัติที่กำหนดจำนวน 40 คน พยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยจำนวน 24 คน เครื่องมือวิจัย 1) แนวปฏิบัติการพยาบาล 2) แบบบันทึกผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงบรรยายได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่พัฒนาขึ้นโดยใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล 1) ด้านผู้ป่วย พบว่า (1) ปอดอักเสบจากการสำลักลดลงจากร้อยละ 11.11 เป็น 2.50  (2) ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะลดลงจากร้อยละ 2.77 เป็น 2.50 (3) กลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลภายใน 28 วันลดลงจากร้อยละ 5.55 เป็น 0 (4) ญาติหรือผู้ดูแลได้รับข้อมูลเตรียมความพร้อมจำหน่าย (5) วันนอนเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน 2.31 วัน (SD = 1.60) เป็น 2.30 วัน (SD = 1.07)  (6) ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น (7)Modified Rankin scale ค่าเฉลี่ยลดลง (8) ค่ารักษาเฉลี่ยลดลงจาก 8,154.72 เป็น 6,478.43 บาท 2) ด้านผู้ให้บริการพยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=4.32,SD=0.78) สรุปการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่มีมาตรฐานเกิดความปลอดภัยอย่างไรก็ตามยังพบภาวะแทรกซ้อนซึ่งควรมีการพัฒนารูปแบบการดูแลจัดการภาวะแทรกซ้อนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดกับผู้ป่วย

References

นิพนธ์ พวงวรินทร์. โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์; 2544.

World Stroke Organization [WSO]. About World Stroke Day[Online]. 2019 [cited 07 May 2020];Available from:

https://ncdalliance.org/news-events/ news/world strokeday2019

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุขและมหาวิทยาลัยมหิดล. แผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย พ.ศ. 2554-2563. [ออนไลน์] [สืบค้นเมื่อ 20 เม.ย. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://wops.moph.go.th/ops/oic/data/20110316100703_1_.pdf.

กรมควบคุมโรค สำนักโรคไม่ติดต่อ. จำนวนและอัตราผู้ป่วยในปี 2559-2561. [ออนไลน์]. 2562. [สืบค้นเมื่อ 10 พ.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www. thaincd.com/2016/mission/documentsdetail.php?id=13684&tid=32&gid=1-020.

ศูนย์ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์งานเวชระเบียนและสถิติ. สรุปสถิติผู้ป่วย ปี 2560-2562:โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น; 2562.

นิภาพร บุตรสิงห์. การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน. วารสารสภาการพยาบาล 2562; 34(3):15-29.

อรนันท์ หาญยุทธ. กระบวนการพยาบาลและการนำไปใช้. วารสารพยาบาลทหารบก. 2557; 15(3): 137-143.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข). [ออนไลน์]. 2559. [สืบค้นเมื่อ 12 พ.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก:https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2017/20171117-MinistryofPublic Health.pdf.

ฟาริดา อิบราฮิม. ปฏิบัติการพยาบาลตามกรอบทฤษฎีการพยาบาล. กรุงเทพฯ: บริษัทสามเจริญพาณิชย์; 2546.

ภัทรอำไพ พิพัฒนานนท์. กระบวนการพยาบาล [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 29 เม.ย. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https:// sites.google.com/site/wingsswagger/4-krabwnkar-thangkar-phyabal-1.

Kemmis, S & Mctaggart, R. The Action Research Planner. 3rd edition. Victoria: Deakin University; 1988.

สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสําหรับพยาบาลทั่วไป. 2558.

ทีมสุขภาพโรคหลอดเลือดสมอง. คู่มือระบบบริการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเครือข่ายจังหวัดขอนแก่น PNC: Provincial Healthcare Network Certification. 2562.

อรุณรัตน์ อินทสุวรรณ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน โรงพยาบาลระนอง. วารสารวิชาการแพทย์ 2559; 30(4): 335–343.

อมรรัตน์ กุลทิพรรธน์, วัชราภรณ์ โต๊ะทอง, จีระกานต์ สุขเมือง. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจรเครือข่ายโรงพยาบาลเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการแพทย์ 2560; 31(4): 619-630.

วรรณวรา ไหลวารินทร์, กัญญา เลี่ยนเครือ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา. วารสารกองการพยาบาล 2559; 43(3): 92-11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31