การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการเงินการคลังของโรงพยาบาล จังหวัดลําปาง
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการการเงินการคลัง, โรงพยาบาลในจังหวัดลำปาง, คุณภาพการบริหารการเงินการคลังบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานตามเป้าหมายตัวชี้วัด 3 ด้าน 1) คุณภาพการบริหารการเงินการคลัง 2) ภาวะวิกฤติทางการเงินการคลัง และ 3) ต้นทุนบริการ รวมถึงการรับรู้นโยบายและการดำเนินงานการจัดการเงินการคลังโรงพยาบาลตามรูปแบบกิจกรรมการพัฒนาโดยใช้กระบวนการ PDCA เก็บข้อมูลในปีงบประมาณ 2560-2562 กลุ่มประชากรได้แก่ คณะกรรมการด้านการเงินการคลัง จำนวน 262 คน รวมรวมจากแบบบันทึกข้อมูลติดตามรายได้และค่าใช้จ่ายจากแผน Planfin แบบประเมินภาวะวิกฤติทางการเงินการคลัง แบบบันทึกข้อมูลต้นทุนบริการ จากเว็บไซต์กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า 1) สถานการณ์ทางการเงินการคลัง ในปีงบประมาณ 2560-2562 ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่ 1 คุณภาพการบริหารการเงินการคลัง ด้านรายได้จริงเทียบแผนประมาณรายได้ ผ่านตามตัวชี้วัดร้อยละ 8.33 , 50 และ 83.33 ตามลำดับ รายจ่ายจริงเทียบแผนประมาณรายจ่าย ผ่านตามตัวชี้วัด ร้อยละ 50, 75 และ 83.33 ตามลำดับ ตัวชี้วัดที่ 2 ภาวะวิกฤติทางการเงินการคลัง และ ต้นทุนบริการผ่านทุกตัวชี้วัด ร้อยละ 100 2) ด้านการรับรู้นโยบายการบริหารจัดการการเงินการคลังโรงพยาบาลของคณะกรรมการด้านการเงินการคลัง จังหวัดลำปาง ตามรูปแบบในกิจกรรมการพัฒนาโดยการใช้กระบวนการบริหารคุณภาพ PDCA ในทุกกิจกรรมมีการรับรู้ในระดับปานกลาง ร้อยละ 51.72 3) การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเงินการคลังของโรงพยาบาล ในจังหวัดลำปาง โดยใช้เครื่องมือการพัฒนาบุคลากร ตามโมเดล 70:20:10 ดังนี้ 1) การเรียนรู้แบบ ร้อยละ 70 เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ร้อยละ 20 เรียนรู้จากผู้อื่น และร้อยละ 10 การอบรมอย่างเป็นทางการ
References
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. รายงานการสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติประจำปีงบประมาณ 2562. กรุงเทพฯ: สานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2563.
ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์. ประสิทธิภาพและต้นทุนของสถานพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. 2558 สืบค้นจาก https://kb.hsri.or. th/dspace/handle/11228/2243?locale-attribute=th เข้าถึงเมื่อ 6 มิถุนายน 2563.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง. รายงานประจำปี 2562. ลำปาง: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง; 2563.
เพ็ญพรรณ บางอร. แนวทางการบริหารจัดการระบบบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนสบเมยวิทยาคม อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. (วิทยานิพนธ์).มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่; 2562.
ปาหนัน กนกวงศ์นุวัฒน์. รูปแบบการบริหารโรงพยาบาล ที่ประสบภาวะวิกฤตทางการเงิน โรงพยาบาลพระปกเกล้าจังหวัดจันทบุรี. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า ; 2556. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php /ppkjournal /article/view/68468/55744 เข้าถึงเมื่อ 6 มิถุนายน 2563.
รัตนาภรณ์ บุญนุช. การพัฒนาและฝึกอบรมที่มีผลต่อประสิทธิภาพของพนักงาน: กรณีศึกษา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 1(ภาคกลาง). (วิทยานิพนธ์). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2555.
วิรินทร์ญา ทวีอนันต์ธนกุล. ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการเงินการคลังท้องถิ่นเทศบาลในจังหวัดนครสวรรค์. (วิทยานิพนธ์).พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย; 2557.
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์.101 HR Tools for Success. กรุงเทพมหานคร: เอช อาร์ เซ็นเตอร; 2556.
เพลินพรรณ โชติพงษ์. การเปรียบเทียบการหมุนเวียนงานกับความพึงพอในในงานของ พนักงาน จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. (วิทยานิพนธ์).กรุงเทพมหานคร: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ; 2550.
กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ พ.ศ. 2560. คู่มือเทคนิคการสร้างบรรยกาศและการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร; 2560 สืบค้นจาก http://www. rlpd.go.th/rlpdnew/images/rlpd_8/kumae/Executive_involvement.pdf เข้าถึงเมื่อ 6 มิถุนายน 2563.
ณัฐรดา เจริญสุข, สุรินทร์ ชุมแก้ว และ เกษราภรณ์ สุตตาพงค์. กลยุทธ์การสอนงาน (Coaching) เพื่อสร้างสมรรถนะที่เป็นเลิศในการปฎิบัติงาน. WMS Journal of Management Walailak University ; 2558.
ศุภวรรณ ศรีเกตุ. ความสัมพันธ์ระหว่างระบบพี่เลี้ยงกับการปรับตัวในการทำงานของพนักงาน (กรุงเทพมหานคร). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ; 2552.
พฤฑฒิพล พฤฑฒิกุล , ภารดี อนันต์นาว. รูปแบบการสื่อสารของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำจังหวัดขนาดใหญ่พิเศษที่ประสบความสำเร็จสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา ; 2557 สืบค้นจาก http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/bitstream/handle/1234567890/3382/eduman8n2p138150.pdf?sequence=1&isAllowed=y เข้าถึงเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2563.
ปราวีณา กุญแจทอง. การสำรวจการใช้เครื่องมือการพัฒนาบุคลากร. (การค้นคว้าอิสระ). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2557.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว