การคงอยู่ของบุคลากรสายสนับสนุน โรงพยาบาลขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • วรรณกร แพงกระโทก โรงพยาบาลขอนแก่น
  • สงกรานต์ กลั่นด้วง โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

การคงอยู่, บุคลากรสายสนับสนุน, บุคลากร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการคงอยู่ของบุคลากรสายสนับสนุน โรงพยาบาลขอนแก่น เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive Study) กลุ่มตัวอย่าง บุคลากรสายสนับสนุนงานบริหาร โรงพยาบาลขอนแก่น จำนวน 83  คน โดยเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2563 - สิงหาคม 2563 เครื่องมือเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficents) ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

       ผลการศึกษา พบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 75.90 อายุเฉลี่ย 39.13 ปี (SD=8.01) ระดับการศึกษาสูงสุดส่วนใหญ่คือระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 86.75 ด้านสถานภาพสมรส โสด คิดเป็นร้อยละ 50.60 ระยะเวลาในการทำงานที่โรงพยาบาลขอนแก่น เฉลี่ย 10.98 ปี (SD=8.07) ด้านประเภทของการจ้างงานของโรงพยาบาลขอนแก่น พบว่าส่วนใหญ่เป็นพนักงานราชการ คิดเป็นร้อยละ 44.58 ค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นของบุคลากรสายสนับสนุนปัจจัยองค์กรต่อการคงอยู่ในงานโดยรวมอยู่ในระดับสูง (gif.latex?\bar{X}=4.02, SD= 0.72) ปัจจัยส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์กับการคงอยู่ในงาน (p>0.05) ปัจจัยด้านองค์กรต่อการคงอยู่ในงาน ของบุคลากรสายสนับสนุน โรงพยาบาลขอนแก่น พบว่า ภาพรวม มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับการคงอยู่ในงานของบุคลากรสายสนับสนุน โรงพยาบาลขอนแก่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value <0.001 ข้อเสนอแนะ ควรนำผลการศึกษามาใช้ในการกำหนดนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล โรงพยาบาลขอนแก่น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของบุคลากรได้อย่างแท้จริง นำไปสู่การลดอัตราการลาออก/โอนย้าย ของบุคลากร และสามารถขับเคลื่อนองค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

Neuhauser, P.C. Building a high-retention culture in healthcare: fifteen ways to get good people to stay. Journal of Nursing Administration. 2002: 32(9).

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข). [มปท: มปพ]; 2561.

กลุ่มงานทรัพยากรบุคคล โรงพยาบาลขอนแก่น. โครงสร้างและกรอบอัตรากำลัง โรงพยาบาลขอนแก่น. ขอนแก่น [มปพ.]; 2563.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายละเอียดตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี งบประมาณ 2563. [มปท: มปพ]; 2562.

Wayne W., D. Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences (6thed.). John Wiley & Sons, Inc., 1995(177-8).

Ngamjarus C., Chongsuvivatwong V. n4Studies: Sample size and power calculations for iOS. The Royal Golden Jubilee Ph.D. Program - The Thailand Research Fund&Prince of Songkla University. 2014.

จุไรวรรณ บินดุเหล็ม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจคงอยู่ในงานของข้าราชการและลูกจ้างองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2562.

ประคอง กรรณสูต. สถิติเพื่ออการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2542.

Hinkle DE, Wiersma W, Jurs SG. Applied Statistics for the Behavioral Sciences 5th ed. Boston: Houghton Mifflin. 2003.

ปฏิคม สุชาติ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการธำรงรักษาพนักงานให้คงอยู่กับองค์กร : กรณีศึกษาบริษัท XYZ จำกัด. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 9. 2561: 1(9).

นิศาชล ภูมิพื้นผล. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของพนักงาน: กรณีศึกษาบริษัท เดลแมกซ์แมชินเนอรี่ จำกัด.การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2559.

วารุณี มิลินทปัญญา. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการคงอยู่ในงานของบุคลากรโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี2561: 12(28); 244-55.

กชกร ณัฐสุข. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจคงอยู่ในองค์กร: กรณีศึกษาบริษัทผลิตกระจกนิรภัยในจังหวัดสงขลา. (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์: สงขลา; 2556.

วรรณี วิริยะกังสานนท์. ปัจจัยที่มีผลต่อการคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2556.

คนึงนิตย์ พงษ์สุวรรณ์.ปัจจัยทำนายการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา. 2562: 25(1): 123-141.

กิตติยา ชัชวาลชาญชนกิจ.ปัจจัยการคงอยู่ในองค์การของพยาบาลวิชาชีพที่ขาดแคลนของโรงพยาบาล. วารสาร มจร. สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ 2560; 6(2) (ฉบับพิเศษ): 81-86.

กรรณิการ์ กุลเกียรติชัย, วรางคณา จันทร์คง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการคงอยู่ของทันตแพทย์ในวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 2. วันที่ 4 – 5 กันยายน 2555.

Uzuegbu, Chimezie & Nnadozie, C. Henry Fayol’s 14 Principles of Management: Implications for Libraries and Information Centres. Journal of Information Science Theory and Practice (2015).3. 58-72.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31