การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของการเตรียมลำไส้สำหรับส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ระหว่าง Whole dose และ Split dose regimen ของผู้ป่วยในโรงพยาบาลบ้านไผ่
คำสำคัญ:
การส่องกล้องลำไส้ใหญ่, การเตรียมลำไส้สำหรับส่องกล้อง, การส่องกล้องถึงลำไส้ใหญ่ส่วนต้น, อัตราการพบติ่งเนื้อลำไส้, มะเร็งลำไส้ใหญ่บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของการเตรียมลำไส้สำหรับส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ระหว่าง Whole dose และ Split dose regimen ในผู้ป่วยที่มีผลตรวจ FIT test เป็นบวกในโรงพยาบาลบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ที่ได้รับการส่องกล้องคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ระหว่าง เดือนตุลาคม ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ.2563 เป็นจำนวน 179 ราย โดยเป็นกลุ่มที่กินยาทั้งหมดปริมาณ 2 ลิตรรวดเดียวในเช้าของวันที่ส่องกล้อง (Whole dose) จำนวน 96 ราย และกลุ่มที่แบ่งกินยา 1 ลิตรในเย็นวันก่อนส่องกล้อง และอีก 1 ลิตรเช้าวันที่จะส่องกล้อง (Split dose) จำนวน 83 ราย โดยการวัดผลจะใช้เกณฑ์ตาม Boston bowel preparation scale (BBPS) ซึ่งการศึกษาเป็นเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง (Retrospective Study) โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ได้แก่ Percentages Frequency Means และ Standard deviations (SD) เก็บข้อมูลจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาล โดยผลวิจัยพบว่า ผลการเตรียมลำไส้มีคะแนน BBPS เฉลี่ยในกลุ่ม Whole dose เท่ากับ 7.97±1.22 คะแนน และกลุ่ม Split dose เท่ากับ 8.06±1.45 คะแนน ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติ (P=0.647) พบติ่งเนื้อผนังลำไส้ในกลุ่ม Whole dose 25.7% กลุ่ม Split dose 27.1% (P=0.648) พบกระเปาะลำไส้ในกลุ่ม Whole dose 11.7% กลุ่ม Split dose 9.4% (P=0.648) ระยะเวลาในการใส่กล้องไปถึงลำไส้ใหญ่ส่วนต้นในกลุ่ม Whole dose 6 นาที(4, 8) กลุ่ม Split dose 5นาที(4, 8) (P=0.534) ค่าใช้จ่ายในกลุ่ม Whole dose 5,421 บาท(5,617, 7,347) กลุ่ม Split dose 5,679 บาท(5,547, 6,423) (P=0.447) จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการกินยาเตรียมลำไส้ทั้งสองวิธีให้ผลในการทำความสะอาดลำไส้ไม่แตกต่างกัน การที่จะเลือกใช้วิธีใดนั้นขึ้นกับความเหมาะสมในแต่ละโรงพยาบาล
References
Davis GR, Santa Ana CA, Morawski SG, Fordtran JS. Development of a lavage solution associated with minimal water and electrolyte absorption or secretion. Gastroenterology 1980;78:991-5.
ASGE Technology Status Evaluation Report: Colonoscopy preparation. Gastrointest Endosc 2009;69:1201-9.
Hawes RH, Lowry A, Deziel D. A consensus document on bowel preparation before colonoscopy: prepared by a task force from The American Society of Colon and Rectal Surgeons (ASCRS), The American Society for Gastrointestinal Endoscopy (ASGE), and The Society of American Gastrointestinal and Endoscopic Surgeons (SAGES). Gastrointest Endosc 2006;63:894-909.
Rex DK, Imperiale TF, Latinovich DR, et al. Impact of bowel preparation on efficiency and cost of colonoscopy. Am J Gastroenterol 2002;97: 1696-700.
Rex DK, Petrini JL, Baron TH, et al. Quality indicators for colonoscopy. Am J Gastroenterol 2006;101:873-85.
Kim WH, Cho YJ, Park JY, et al. Factors affecting insertion time and patient discomfort during colonoscopy. Gastrointest Endosc 2000;52: 600-5.
Froehlich F, Wietlisbach V, Gonvers JJ, et al. Impact of colonic cleansingon quality and diagnostic yield of colonoscopy: the European Panel of Appropriateness of Gastrointestinal Endoscopy European multicenter study. Gastrointest Endosc 2005;61:378-84.
Harewood GC, Sharma VK, de Garmo P. Impact of colonoscopy preparation quality on detection of suspected colonic neoplasia. Gastrointest Endosc 2003;58:76-9.
Ben-Horin S, Bar-Meir S, Avidan B. The impact of colon cleanliness assessment on endoscopists’ recommendations for follow-up colonoscopy. Am J Gastroenterol 2007;102:2680-5.
Kilgore TW, Abdinoor AA, Szary NM, et al. Bowel preparation with split-dose polyethylene glycol before colonoscopy: a meta-analysis of randomized controlled trials. Gastrointest Endosc 2011;73:1240-5.
Rutherford, et al. Update on Bowel Preparation for colonoscopy. Current treatment Options in Gastroenterology, 16(1), 165-181
Ness RM , Manam R , Hoen H et al. Predictors of inadequate bowel preparation for colonoscopy . Am J Gastroenterol 2001 ; 96 : 1797 – 802 .
Tan JJ , Tjandra JJ . Which is the optimal bowel preparation for colonoscopy — a meta-analysis . Colorectal Dis 2006 ; 8 : 247 – 58 .
Chiu H - M , Lin J - T , Wang H - P et al. Th e impact of colon preparation timing on colonoscopic detection of colorectal neoplasms — A prospective endoscopist- blinded randomized trial . Am J Gastroenterol 2006 ; 101 : 2719 – 25 .
Aoun E , Abdul-Baki H , Azar C et al. A randomized single-blind trial of split-dose PEG-electrolyte solution without dietary restriction compared with whole dose PEG-electrolyte solution with dietary restriction for colonoscopy preparation . Gastrintest Endosc 2005 ; 62 : 213 – 8 .
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว