การรักษาด้วยการฟอกเลือดแบบต่อเนื่องในผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีภาวะไตวายเฉียบพลัน: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • วีระยุทธ หุมอาจ กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

ไวรัสโคโรนา 2019, ไตวายเฉียบพลัน, การบำบัดทดแทนไตแบบต่อเนื่อง

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในรายที่มีอาการรุนแรงมักพบภาวะแทรกซ้อน ทำให้เกิดการทำงานของอวัยวะหลายอย่างล้มเหลว ปอดอักเสบรุนแรง รวมถึงภาวะไตวายเฉียบพลัน (acute kidney injury: AKI) ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในผู้ป่วยโควิด 19 ที่นอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล การบำบัดทดแทนไตแบบต่อเนื่อง (continuous renal replacement therapy: CRRT) เป็นวิธีการรักษาบำบัดทดแทนไตในผู้ป่วยที่มีภาวะ AKI เพื่อลดการคั่งของของเสียในเลือดอันจะส่งผลให้เกิดภาวะล้มเหลวของอวัยวะในระบบอื่นๆของร่างกายตามมา การศึกษานี้เป็นรายงานการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีภาวะไตวายเฉียบพลัน สองรายที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลขอนแก่นระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม 2564 โดยรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย เป็นข้อมูลผู้ป่วยตั้งแต่แรกเข้ารับการรักษาจนถึงจำหน่าย ประกอบด้วยข้อมูลทางคลินิก รายแรกเป็นเพศชาย อายุ 59 ปี ภูมิลำเนา อ.เมือง จ.ขอนแก่น มีโรคประจำตัวเป็นความดันโลหิตสูง รายที่สองเป็นเพศหญิง อายุ 61 ปี ภูมิลำเนา อ.กระนวน จ.ขอนแก่น มีโรคประจำตัวเป็นความดันโลหิตสูง เบาหวานและโรคไตเรื้อรังระดับที่ 4 ทั้งสองรายได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสโควิด 19, ยาลดการอักเสบและยาปฏิชีวนะ ได้ยาเพิ่มความดันโลหิต ผู้ป่วยทั้งสองรายมีสัญญาณชีพไม่คงที่ ดังนั้นการทำ CRRT จึงเป็นวิธีมาตรฐานที่ใช้กับผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันในกรณีนี้ พบว่าผู้ป่วยทั้งสองรายตอบสนองต่อการรักษาด้วย CRRT โดยมีค่าการทำงานของไตฟื้นตัวดีขึ้น รายแรกมีค่า creatinine (Cr) ก่อนฟอก 7.43 mg% eGFR 7.26 ml/min/1.73m2 เมื่อสิ้นสุดการรักษามีค่า Cr 3.19 mg% eGFR 20.18 ml/min/1.73m2 ,รายที่ 2 มีค่า Cr ก่อนฟอก 4.16 mg% eGFR 10.88 ml/min/1.73m2 สิ้นสุดการรักษาค่า Cr 1.75 mg% eGFR 30.99 ml/min/1.73m2 ตามลำดับ ทำให้ควบคุมภาวะน้ำเกินและลดภาวะเลือดเป็นกรดได้ดี ดังนั้น การบำบัดทดแทนไตแบบต่อเนื่อง จึงเป็นการรักษาที่แนะนำในผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มี AKI ความดันเลือดไม่คงที่และมีภาวะแทรกซ้อนของระบบทางเดินหายใจร่วมด้วย อย่างไรก็ดีผู้ป่วยเสียชีวิตทั้งสองราย รายงานนี้เป็นการรายงานเบื้องต้นควรมีการรวบรวมจำนวนผู้ป่วยให้มากขึ้นต่อไป

References

องค์การอนามัยโลก. Novel Coronavirus (2019-nCoV) situation reports 2021 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 30 พฤษภาคม 2564]; แหล่งข้อมูลจาก http://www.who.int/thailand/emergencies/novel-coronavirus-2019/situation-reports

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ COVID-19 ในประเทศ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 31 พฤษภาคม 2564]; เข้าถึงได้จาก http://www.covid19.ddc.moph.go.thtransfusion.pdf

องค์การอนามัยโลก. Coronavirus (2019-nCoV) questions and answers [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 31 พฤษภาคม 2564]; แหล่งข้อมูลจาก http://www.who.int/thailand/emergencies/novel-coronavirus-2019/q-a-on-covid-19

ลออ ชมพักตร์. Covid-19 and kidney injury: pathophysiology [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2564]; แหล่งข้อมูลจาก http://www.med.nu.ac.th/dpMed/fileKnowledge/276 2021-04-19.pdf

Nasr SH, Alexander MP, Cornell LD, Herrera LH, Fidler ME, Said SM, Zhang P, Larsen CP and Sethi S. Kidney biopsy findings in patients with Covid-19, kidney injury, and proteinuria. AJKD 2021, 77(3): 465-468.

Katagiri D et al. Continuous Renal Replacement Therapy for a patient with sever COVID-19. Blood Purif. DOI:10.1159/000508062

Kolhe NV, Fluck RJ, Selby NM, Taal MW. Acute kidney injury associated with COVID-19: A retrospective cohort study. Plos Medicine 2020, https://doi.org/10.1371/journal.pmed.1003406

คณะอนุกรรมการกำหนดแนวทางการรักษาด้วยการฟอกเลือดและการกรองพลาสมา. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย.คู่มือการรักษาด้วยการฟอกเลือดและการรองพลาสมาสำหรับผู้ป่วยโรคไต พ.ศ.2561

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30