การเปรียบเทียบความเครียดของนักศึกษาระดับปริญญาตรีระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดลกับมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในการเรียนออนไลน์ ช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ผู้แต่ง

  • Mathinee Chehama คณะโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ความเครียด การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ การสนับสนุนในการจัดเรียนการสอนออนไลน์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความเครียดของนักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในการเรียนออนไลน์ช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คำนวณขนาดตัวอย่างด้วยสูตรการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกรณีประชากร 2 กลุ่มอิสระ กลุ่มละ 94 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ ประกอบด้วยทัศนคติต่อรูปแบบการเรียนและการสนับสนุนมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 และแบบวัดความเครียด (SPST-20) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานด้วย Independent sample t-test

                ผลวิจัยพบว่า อัตราการตอบกลับเท่ากับ ร้อยละ 100 โดยทั้ง 2 มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่  เป็นเพศชายอยู่ในช่วงอายุ 20-22 ปี โดยนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลมีความเครียดระดับรุนแรงเฉลี่ยเท่ากับ 3.06±0.88 และมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งมีความเครียดระดับรุนแรงเฉลี่ยเท่ากับ 3.41±0.73 ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value<0.05 ดังนั้นมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งควรให้การสนับสนุนที่เหมาะสมแก่นักศึกษาต่อการเรียนออนไลน์

References

ศรีจันทร์ พรจิราศิลป์. ความเครียดและการแก้ปัญหาความเครียดของนักศึกษา [อินเทอร์เน็ต]. 2554 [เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/47

พนม เกตุมาน. ปัญหาพฤติกรรมวัยรุ่น [อินเทอร์เน็ต]. 2550 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: http:// www.psyclin.co.th/new_page_56.htm

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. ความเครียดของวัยรุ่นยุคใหม่ [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 1 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dmh. go.th/main.asp

พรพิมล เจียมนาคินทร์. พัฒนาการวัยรุ่น.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร. ต้นอ้อ แกรมมี่; 2539

กระทรวงสาธารณสุข. ติดตามสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid-19). [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2564] เข้าถึงได้จาก: https://www.moph.go.th

World Health Organization. Global research on coronavirus disease. [Internet] 2021 [cited October 28, 2064] Available from: https://www.who.int/ emergencies/novel-coronavirus-2019.

ปิยะ ไล้หลีกพ่าย. ปัญหาและโอกาสของการสอนออนไลน์ ในช่วงภาวะวิกฤต COVID-19. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 5 กันยายน 2564] เข้าถึงได้จาก: http://dspace.spu.ac.th

ลักษมี ฉิมวงษ์. ความวิตกกังวลในการเรียนออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่กระจายเชื้อโควิด 19 ของนิสิตสาขาพลศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. 10(1): 9-19.

Ida Lim. Reality for Malaysia’s university students: Online learning challenges, stress, workload; possible solutions for fully digital future until Dec.[Internet] 2020 cited 16 Mar 2020]; Available from: https://eprints.ums.edu.my/id/eprint/ 25529/1/Reality%20for%20Malaysias%20university

สิริพร อินทสนธิ์. โควิด-19 กับการเรียนการสอนออนไลน์กรณีศึกษารายวิชาการเขียนโปรแกรมเว็บ.วารสารวิทยาการจัดการปริทันศน์ ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2563). [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 8 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://so03.tci-thaijo.org/ index.php/msaru/article/download/244722/167805/876989

อรรถพล อนันตวรสกุล. ข้อมูลอ้างอิงจาก BBC Thai: เมื่อการเรียนการสอนต้องดำเนินต่อไป. [อินเทอร์เน็ต] 2564 [เข้าถึงเมื่อ 25 กันยายน 2564] เข้าถึงได้จาก: https://www.bbc.com/thai/thailand- 51975231

บรรจง มไหสวริยะ. มหาวิทยาลัยมหิดลได้กำหนดมาตรการช่วยเหลือนักศึกษาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. [อินเทอร์น็ต] 2564 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2564] เข้าถึงได้จาก: https:// graduate.mahidol.ac.th/thai/?p=news& id=Tuition-Fee-COVID19-Newly-Emerging

สุพจน์ โกวิทยา. ทุน-ลดค่าเทอม-หอพัก. [อินเทอร์เน็ต] 2564 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https:// www.khaosod.co.th/newspaper/newspaper-inside-pages/news_6404985

สมเดช คู่ทวีกุล. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาตอนปลายสังกัดกรมสามัญศึกษา สหวิทยาเขตพระราชวังเดิม [อินเทอร์เน็ต] 2546 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2564]; 2546: 47. เข้าถึงได้จาก: http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/ 123456789/936

ณัฐพงษ์ ทีราช, ศราวุฒิ นาคำมูล, เบญญาภา ประกอบแสง และ กันยารัตน์ ชิราวุฒิ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 6 ในเขตอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. [อินเทอร์เน็ต] 2561 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2564] เข้าถึงได้จาก http://ejournals.swu.ac.th/ index.php/jre/article/view/3165

Moawad RA. Online learning during the COVID-19 pandemic and academic stress in university students. Revista Românească pentru Educaţie Multidimensională. 2020;12(1 Sup) 100-7.

เชษฐา งามจรัส. วารสารวิจัย มข: การรับรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมของนักศึกษาต่อการใช้บทเรียนออนไลน์ในรายวิชาชีวสถิติ. วารสารวิจัย มข. 2552; 14(10)

กฤษณา สิกขมาน. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการสื่อสารภาษา อังกฤษธุรกิจ โดยการใช้การสอนแบบ E-Learning. กรุงเทพฯ: รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยศรีปทุม

กนกวรรณ วังมณี, และศิภรณ์ สองแสน. โควิด-19 กับการเรียนการสอนออนไลน์ กรณีศึกษารายวิชาการเขียนโปรแกรมเว็บ. วารสารวิทยาการจัดการปริทันศน์ ฉบับที่ 2. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 8 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://so03.tci-thaijo.org/index.php

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-27