ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสำราญ
คำสำคัญ:
เบาหวาน, ไตเสื่อม, การจัดการตนเองบทคัดย่อ
การวิจัยแบบทดลองแบบสุ่มจับคู่มีกลุ่มเปรียบเทียบ (Match Randomized Controlled study)เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อม ต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ทางคลินิก กลุ่มตัวอย่าง ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะไตเสื่อมระดับ 3-4 จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเอง 20 คน กลุ่มเปรียบเทียบได้รับการพยาบาลตามปกติ 20 คน ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2565 ใช้เครื่องมือดังนี้ 1)โปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองร่วมกับรูปแบบการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้วยเทคนิค 5 เอ ดังนี้ การประเมิน (assess) การแนะนำให้คำปรึกษา (advise) การยอมรับ (agree) การช่วยเหลือสนับสนุน (assist) และการเตรียมการ(arrange) มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 2) แบบประเมินพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อม 3) เครื่องมือตรวจผลลัพธ์ทางคลินิก วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ย ใช้ t test, Pair t-test และ 95% CI ผลการวิจัย หลังทดลอง กลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเอง ระดับสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ( = 68.3, SD = 4.84 และ = 42.8, SD = 6.20) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ผลลัพธ์ทางคลินิกดีกว่า กลุ่มเปรียบเทียบ อัตราการกรองของไต ซีรัมครีเอตินีน และ ความดันซีสโตลิค แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง ระดับฮีโมโกลบินเอวันซี และระดับความดันไดแอสโตลิก แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value > 0.05) โปรแกรมสนับสนุนส่งเสริมการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมสามารถส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีไตเสื่อมระดับ 3-4 และชะลอไตเสื่อมในระยะเรื้อรังระยะสุดท้ายต่อไป
References
Hill NR, Fatoba ST, Oke JA, Callaghan CA, Lasserson DS, et al. Global Prevalence of Chronic Kidney Disease- A Systematic Review and Meta-Analysis. PLOS ONE. 2016; 11(7): 1-18.
Ingsathit A, Thakkinstain A, Chaiprasert A, Sangthawan P, Kiattisunthom K, et al. Prevalence and risk factors of chronic kidney disease in the Thai adult population: Thai SEEK study. Nephrol Dial Transplant. 2010; 25(5): 1567-75.
ภทรพรรณ อุณาภาค, ขวัญชัย รัตนมณี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลตนเองเพื่อป้องกันทางไต ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังของโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทร สงคราม. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัย บูรพา. 2558; 10(2): 44-54.
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. ข้อแนะนำเวชปฏิบัติการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ.2557.กรุงเทพ; โรงพิมพ์เดือนตุลา.2557.
สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข. [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2565]. เข้าถึง ได้ จาก https://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/statistic%2061.pdf
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย,กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรค เบาหวาน. กรุงเทพมหานคร: ศรีเมืองการพิมพ์; 2555.
เกษม ดำนอก, สมจิตร แดนสีแก้ว. สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย.การจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในไต.วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2560; 35(1): 91-9.
Kanfer FH, Gaelick-Buys L. Self-management methods In F.H.Kanfer, & A. Goldstein(Eds.). Helping people change: A textbook of methods. New York: Pergamon 1991; 305-60.
Glasgow R.E, Emont S, Miller D.C. Assessing delivery of the five ‘As’ for patient-centered counseling. Health Promotion International 2000; 21(3): 245-55.
ศิริลักษณ์ ถุงทอง. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมจากเบาหวาน ต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. [วิทยานิพนธพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์; 2557.
ศศิธร ดวนพล, ธีรศักดิ์ พาจันทน์, พิทยา ศรีเมือง. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านข่าใหญ่ อำเภอจตุรพักพิมานจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2563; 14(9): 142-57.
ณิชชาภัทร ยอดแคล้ว, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2562; 26(2): 24-35.
อัจฉรา เจริญพิริยะ, อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว, งามจิตร คงทน. ความชุกโรคไตวายเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ในโรงพยาบาลมหาราช จังหวัดนครศรี ธรรมราช. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2560; 31(1): 73-82.
วีนัส สาระจรัส, แอนนา สุมะโน. ผลของกระบวนการสนับสนุนการจัดการตนเองต่อการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะไตเรื้อรังโรงพยาบาลแหลมฉบังชลบุรี. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ.2561; 1(3): 13-26.
อ้อ พรมดี, วีณา เที่ยงธรรม, ปาหนัน พิชยภิญโญ. ผลของโปรแกรมการป้องกันภาวะไตวายเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2559; 30(3): 102-17.
เพ็ญบุญญา สัตยสมบูรณ์, สุวรรณ สร้อยสงค์, ภัณฑิรชา เฟื่องทอง, คุณญา แก้วทันคำ. ผลของโปรแกรมต่อการจัดการตนเองต่อระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสาร บัณฑิตศึกษาปริทัศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาเขตแพร่2563; 6(1): 164-79.
สายฝน สารินทร์, สุทธีพร มูลศาสตร์, วรวรรณ ชัยลิมปมนตรี. ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรัง. วารสาร พยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2562; 29(2): 86-101.
อุไรวรรณ พานทอง. การจัดการโรคไตเรื้อรังโดยใช้รูปแบบการดูแลโรคเรื้อรังในสถานบริการปฐมภูมิจังหวัดนครศรีธรรมราช. มหาราชนครศรี ธรรมราช เวชศาล. 2561; 1(2): 48-58.
กฤตกร หมั่นสระเกษ, ทัศนีย์ รวิวรกุล, สุนีย์ ละกำปั่น. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2ที่ใช้อินซูลิน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา 2562; 25(2), 87-103.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว