สถานการณ์และผลกระทบของการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่เทศบาลตำบลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
สถานการณ์, ผลกระทบ, อุบัติเหตุทางถนน, มหาสารคามบทคัดย่อ
ปัญหาอุบัติเหตุทางถนนเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สิน การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และผลกระทบของการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ในพื้นที่เทศบาลตำบลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยการศึกษาจากเอกสารการบันทึกข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุและสัมภาษณ์ผู้ที่ประสบเหตุหรือสมาชิกครอบครัวถึงผลกระทบที่ได้รับจากการเกิดอุบัติเหตุใน ปี พ.ศ. 2562-2563 จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลการ เกิดอุบัติเหตุด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ส่วนข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ นำมาวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า สถานการณ์การเกิดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่เทศบาลตำบลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ปี พ.ศ. 2562-2563 จำนวน 115 ครั้ง มีผู้ประสบเหตุ จำนวน 124 คน มีผู้บาดเจ็บ 115 คน ร้อยละ 92.74 มีผู้เสียชีวิต 9 คน ร้อยละ 7.26 ประเภทของรถที่ประสบอุบัติเหตุ ส่วนใหญ่เป็นรถจักรยานยนต์ ร้อยละ 85.54 มักเกิดในช่วงเช้า เวลา 06.01-12.00 น. คิดเป็น ร้อยละ 44.35 ซึ่งส่วนใหญ่ขับรถจักรยานยนต์ล้มเอง ร้อยละ 68.70 สถานที่เกิดเหตุส่วนใหญ่เป็นถนนสายรอง ร้อยละ 79.13 สำหรับปัจจัยการเกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่มาจากคน ร้อยละ 54.61 ไม่สวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 54.93 รองลงมาคือปัจจัยจากถนนร้อยละ 42.31 ซึ่งส่งผลกระทบด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและเศรษฐกิจ ของผู้ประสบเหตุ ครอบครัวและชุมชน ดังนั้น จึงควรรณรงค์การสวมหมวกนิรภัย อบรมการขับขี่อย่างปลอดภัย พัฒนารูปแบบการจัดการจุดเสี่ยงเพื่อลดอุบัติเหตุทางถนน และพัฒนาระบบการดูแลผู้ได้รับผลกระทบ
References
World Health Organization. Global status report on road safety 2018. [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2564]. เข้าถึงได้จาก : https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/277370/WHO-NMH-NVI-18.20-eng. pdf?ua=1
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร สำนักแผนความปลอดภัย. รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2562. [อินเทอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก : https://www.otp.go.th/uploads/tiny_uploads/PDF/2563-06/25630601-RoadAccidentAna2562_Final.pdf
วิวัฒน์ ศีตมโนชญ์. เป้าหมายทศวรรษความปลอดภัยครั้งที่สองฝันที่เป็นจริง?. วารสารการแพทย์ ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย. 2564; 1(2): 198-208.
สำนักข่าวอิศรา. รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของกระทรวงคมนาคม 2562. [อินเทอร์เน็ต]. 2563. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก : https://www.isranews.org/article/isranews-scoop/93883-investigative742.html
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดมหาสารคาม. รายงานผลการดำเนินงานอุบัติเหตุทางถนนจังหวัดมหาสารคาม ปี พ.ศ. 2562-2564. [เอกสารอัดสำเนา]. มหาสารคาม: สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดมหาสารคาม; 2564.
โรงพยาบาลนาดูน. รายงานอุบัติเหตุทางถนน โรงพยาบาลนาดูน. [เอกสารอัดสำเนา]. มหาสารคาม: โรงพยาบาลนาดูน; 2564.
Soehodho S. Public transportation development and traffic accident pre vention in Indonesia. IATSS Research. 2017; 40(2): 76-80.
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. คู่มือแนวทางการดำเนินงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่พ.ศ 2561. [อินเทอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2564] เข้าถึงได้จาก : http://www.ssosamrong.com/file/คู่มือแนวทางการดำเนินงานตามระเบียบพชอ.pdf
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอนาดูน. รายงานสถานการณ์การเกิดอุบัติเหตุทางถนนอำเภอนาดูน. [เอกสารอัดสำเนา]. มหาสารคาม: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอนาดูน; 2564.
ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์ และประสพชัย พสุนนท์. กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ. 2559; 29(2): 31-48.
อนุชิต วังทอง, อังคณา วังทอง, ดารารัตน์ บุญไชยสุริยา, นุรไอนี ลาเตะ, นิมารีนี ดอเลาะ. ผลการลดจำนวนอุบัติเหตุทาง ถนน ณ จุดเสี่ยงอันตรายทางท้องถนน อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี. วารสาร วิทยาศาสตร์สุขภาพมหาวิทยาลัยทักษิณ. 2562; 1(1): 33-41.
ธีรยุทธ์ ลีโคตร, สีดา สอนศรี, ยุพา คลังสุวรรณ์. บทบาทของชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุทางถนน กรณีศึกษาบ้านแพง ตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการเมืองการปกครอง. 2558; 5(2): 112-129.
เกรียงศักดิ์ ปินตาธรรม, วศินี ปล้องนิราศ. ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตใน 24ชั่วโมงในผู้ป่วยอุบัติเหตุที่เข้ารับการรักษาโดยได้รับการนอนในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย. 2565; 2(1): 66-76.
ภูวดล พลศรีประดิษฐ์, มะลิ โพธิพิมพ์. การจัดการจุดเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนนชุมชนเขตเมือง: กรณีศึกษาชุมชนโคราชคฤหาสน์ทอง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัด นครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. 2561; 4(1): 66-76.
Gichaga FJ. The impact of road improvements on road safety and related characteristics. IATSS Research. 2017; 40(2): 72-75.
เศรษฐกาญจน์ ทิพโอสถ. การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุจราจรบนท้องถนน กรณีศึกษา ถนน ศุภสารรังสรรค์ เขตเทศบาลนครหาดใหญ่. [อินเทอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2563] เข้าถึงได้จาก : http://www.ba-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2561-5-6_1565863377.pdf.
Wijnen W, Stipdonk H. Social costs of road crashes: An international analysis. Accident Analysis & Prevention, 2016; 94: 97-106.
Wegman F. The future of road safety: A worldwide perspective. IATSS Research. 2017; 40: 66-71.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว