ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลพระยืน จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • รัตนาพร สุวานิช -
  • ลดา เลยหยุด
  • ปัทมา ล้อพงค์พานิชย์
  • เจษฎา สุราวรรณ์

คำสำคัญ:

โรคเบาหวานชนิดที่ 2, ความชุก, ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์ แบบไม่จับคู่ (Unmatched case-control) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ปีงบประมาณ 2564 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลพระยืน จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มควบคุมเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 348 คน กลุ่มเปรียบเทียบเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีอัตราการกรองของไตต่ำกว่า 60 มล./นาที/1.73 ตารางเมตร ติดต่อกันเกิน     3 เดือน จำนวน 176 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากการทบทวนเวชระเบียนในปีงบประมาณ 2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติการทดสอบไคสแควร์ และสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ความชุกโรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไตเท่ากับ ร้อยละ 7.46 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปีงบประมาณ 2560 – 2563  ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุมากกว่า 60 ปี (ORadj 5.2; 95% CI = 2.83 - 9.55; p-value < 0.01) สถานภาพสมรส (ORadj 0.33; 95% CI = 0.17 - 0.64; p-value .001) Systolic blood pressure  สูงกว่า 140 มม.ปรอท (ORadj 1.6 ; 95% CI = 1.02 - 2.5; p-value 0.042) การตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ (ORadj 4.33; 95% CI = 2.75 - 6.81 ; p-value < 0.01) ระยะเวลาป่วยเป็นโรคเบาหวานนานกว่า 5 ปี (ORadj 2.45 ; 95% CI = 1.32 - 4.56; p-value 0.005) และการรับประทานยารักษาโรคเบาหวาน (ORadj 0.41 ; 95% CI = 0.24 - 0.71 ; p-value 0.001) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าความชุกของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ดังนั้น การตรวจคัดกรองผู้ป่วยและให้คำแนะนำในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวให้มีการดูแลที่เหมาะสมจะช่วยชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตลงได้

References

World Health Organization. New WHA Resolution to bring much needed boost to diabetes prevention and control efforts. [Online]. 2021. [cited 2022 Oct 24]. Available from: https://www.who.int/news/item/27-05-2021-new-wha-resolution-to-bring-much-needed-boost-to-diabetes-prevention-and-control-efforts

ภัทระ แสนไชยสุริยา, บังอร เทพเทียน, ปาริชาติ จันทร์จรัส, ภูษิต ประคองสาย, กุมารี พัชนี, ปิยฉัตร ตระกูลวงษ์. โครงการทบทวนสถานการณ์และผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในประเทศไทย พ.ศ. 2560-2562. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กองโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข; 2562.

คณะทำงานศึกษาสาเหตุการตายของประชากรไทย สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการศึกษาสาเหตุการตายของประชากรไทย พ.ศ. 2560-62. นนทบุรี: เดอะ กราฟิโก ซิสเต็มส์ จำกัด; 2564.

สมเกียรติ โพธิสัตย์, อุดม ไกรฤทธิชัย, ชาญเวช ศรัทธาพุทธ, อัมพร จงเสรีจิตต์. ชุดโครงการการวิจัยภาวะแทรกซ้อนทางคลินิกในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. นนทบุรี: สถาบันและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2554.

ชลทิศ อุไรฤกษ์กุล. การคำนวณหา Sample Size ด้วย Epi Info. [Online]. 2020. [cited 2022 Oct 24]. Available from: http://doh.hpc.go.th/bs/topicDisplay.php?id=416

ณิชชาภัทร ยอดแคล้ว, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. ความชุกและปัจจัยที่มีความ สัมพันธ์กับการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาที่ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง จังหวัดขอนแก่น. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2562;26(2): 24-35.

Glassock RJ, Winearls C. Ageing and the glomerular filtration rate: truths and consequences. Trans Am Clin Clim Assoc. 2009;(120):419-28.

จิรวัฒน์ สีตื้อ. ความชุกของโรคไตวายเรื้อรังและปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการทำงานของไตลดลงของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมืองร่องซ้อ จังหวัดแพร่. วารสารโรงพยาบาลแพร่. 2562;27(2): 1-15.

Nazzal Z, Hamdan Z, Masri D, Abu-Kaf A, Mohammad O. Prevalence and risk factors of chronic kidney disease among Palestinian type 2 diabetic patients: a cross-sectional study. BMC Nephrol. 2020;21(484):1-8.

อภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ. แรงสนับสนุนทางสังคม: ปัจจัยสำคัญในการดูแล ผู้ที่เป็นเบาหวาน. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2553;16(2):309-22.

ศิริลักษณ์ ถุงทอง. การชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้. วารสารพยาบาลทหารบก. 2560;18 (พิเศษ):17-24.

ศศิธร ดวนพล, ธีรศักดิ์ พาจันทร์, พิทยา ศรีเมือง. ความชุกและปัจจัยที่มีความ สัมพันธ์กับการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านข่าใหญ่ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2563;14(34):142-57.

คมสัน กิตตินันทพรชัย, ศยามล สุขขา. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง. J Med Heal Sci. 2021;28(2):149-64.

ทวี ศิลารักษ์, ลัฆวี ปิยะบัณฑิตกุล, วิริณธิ์ กิตติพิชัย. ปัจจัยทำนายการเกิดโรคไตเรื้อรัง ในผู้ป่วยโรคเบาหวานในจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2563;40(2):109–21.

บัญชา สถิระพจน์. Diabetic Nephropathy: Diagnosis and Therapeutic Targets. เวชสารแพทย์ทหารบก. 2563;73(3): 199-210.

จุรีพร คงประเสริฐ, สุมนี วัชรสินธุ์, วิวัฒน์ จันเจริญฐานะ, ธิดารัตน์ อภิญญา, editors. แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตใน ผู้เป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด; 2558.

Jitraknatee J, Ruengorn C, Nochaiwong S. Prevalence and Risk Factors of Chronic Kidney Disease among Type 2 Diabetes Patients: A Cross-Sectional Study in Primary Care Practice. Sci Rep. 2020;10(6205):1–10.

สายฝน ม่วงคุ้ม, พรพรรณ ศรีโสภา, วัลภา คุณทรงเกียรติ, ปณิชา พลพินิจ, วิภา วิเสโส, ชุติมา ฉันทมิตรโอภาส, และคณะ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ของหลอดเลือดแดง ขนาดเล็กในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2563;28(2):74–84.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. แนวทางเวชปฏิบัติ สำหรับโรคเบาหวาน 2560. ปทุมธานี: ร่มเย็น มีเดีย; 2560.

Betônico CCR, Titan SMO, Correa-Giannella MLC, Nery M, Queiroz M. Management of diabetes mellitus in individuals with chronic kidney disease: therapeutic perspectives and glycemic control. Clin (Sao Paulo). 2016;71(1): 47-53.

พัลลภ สกุลทองถวิล. ความชุกและปัจจัยสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะไมโครอัลบูมินนูเรียในผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2. วารสารอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น. 2562;5(4):21-9.

วิกาวี รัศมีธรรม, กรัณฑ์รัตน ทิวถนอม. ผลของเมทฟอร์มินขนาดสูง ต่อการทำงานของไตและขนาดที่เหมาะสม ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่อง. Veridian E-Journal Sci Technol Silpakorn Univ. 2561;5(3):139-48.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-09