การพยาบาลผู้บาดเจ็บกระดูกสันหลังระดับคอส่วนล่าง: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • สุพาพร ตันดี -

คำสำคัญ:

การพยาบาล, กระดูกสันหลังบาดเจ็บ, กระดูกสันหลังระดับคอส่วนล่าง

บทคัดย่อ

การบาดเจ็บกระดูกสันหลังและไขสันหลัง ส่งผลให้การทำงานของร่างกายด้านการเคลื่อนไหว การรับความรู้สึก และการควบคุมระบบอัตโนมัติในร่างกายบกพร่องไป ซึ่งเป็นผลจากประสาทไขสันหลังได้รับความเสียหายจากการบาดเจ็บก่อให้เกิดผลกระทบทางกายภาพ จิตสังคม และอาชีพสำหรับผู้บาดเจ็บและผู้ดูแล การบาดเจ็บไขสันหลัง จึงเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของผู้บาดเจ็บ จากการรักษาเป็นเวลานาน ทำให้ค่าใช้จ่ายสูง ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยและครอบครัว ทำให้เกิดปัญหาทางสังคมและสรีรวิทยา โดยปกติมากกว่าร้อยละ 50 ของผู้ป่วยอาจไม่ฟื้นการทำงานปกติและชีวิตประจำวัน  การบาดเจ็บไขสันหลังจึงเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่ร้ายแรงทั่วโลก วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการดูแลรักษาและกระบวนการพยาบาลในผู้บาดเจ็บกระดูกสันหลังระดับคอส่วนล่าง โดยเลือกกรณีศึกษาจำนวน 2 รายที่เข้ารับการรักษาที่ Spine unit โรงพยาบาลขอนแก่น ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ถึง กันยายน 2564 เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนตามกระบวนการพยาบาลดังนี้ 1) ประเมินปัญหา และความต้องการการพยาบาล 2) นำข้อมูลที่ได้มาวินิจฉัยทางการพยาบาล 3) วางแผนให้การพยาบาล 4) ปฏิบัติการพยาบาล 5) ประเมินผลการพยาบาล 6) เปรียบเทียบกรณีศึกษา 7) สรุปและข้อเสนอแนะ ผลการศึกษา พบว่า การนำ 11 แบบแผนของกอร์ดอนมาประเมินค้นหาปัญหาและความต้องการ ทำให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนครอบคลุมและเป็นองค์รวม การใช้แนวคิดทฤษฎีความพร่องในการดูแลตนเองของโอเร็ม และแนวคิดทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจของกิ๊บสัน (Gibson) มาเป็นแนวทางในการวางแผนการพยาบาล ทำให้สามารถวางแผนการพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อเสนอแนะ การเสริมสร้างพลังอำนาจควรให้ความสำคัญทั้งปัจจัยภายในบุคคล และปัจจัยระหว่างบุคคล

References

Hamid R, Averbeck MA, Chiang H, Garcia A, Al Mousa RT, Oh SJ, et al. Epidemiology and pathophysiology of neurogenic bladder after spinal cord injury. World Journal of Urology 2018; 36: 1517-1527.

Hu HZ, Granger N, and Jeffery ND. Pathophysiology, clinical importance, and management of neurogenic lower urinary tract dysfunction caused by suprasacral spinal cord injury. Journal of Veterinary Internal Medicine. 2016; 30(5): 1575-1588.

Elliott CS, Dallas Kai B, Zlatev D, Comiter CV, James C. and Shem K. Volitional voiding of the bladder after spinal cord injury: Validation of bilateral lower extremity motor Function as a key predictor. The Journal of Urology. 2018; 200: 154-160.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 5 สถิติสุขภาพ. [อินเทอร์เน็ต]. 19 ตุลาคม 2565. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2565]; เข้าถึงได้จาก: http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/05.aspx.

Gordon M. Nursing diagnosis: Process and application. New York: McGraw-Hill Book Co; 1982.

Orem DE. Nursing: Concepts of practice 4th ed. Philadelphia: Mosby-YearBook; 1991.

Gibson CH. A concept analysis of empowerment. Journal of Advanced nursing. 1991; 16(3), 354-361.

นันทวิช สุคนธเวช. เอกสารประกอบ การสอน: Approach to Neck & Back pain และโรคทางกระดูกสันหลังที่พบบ่อย. [อินเตอร์เน็ต]. เชียงใหม่: ภาควิชาออร์โทปิดิกส์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2557 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2563]. เข้าถึงจาก: ม 2563]. เข้าถึงจาก: https://w1.med.cmu.ac.th/ortho/images/News59/Aj_Nantawit/Neck%20and%20back%20pain.pdf

Strayer AL, Hickey JV. Spine and spinal cord injuries. In: Hickey JV, editor. The clinical practice of neurological and neurosurgical nursing. 7th ed. Philadelphia: Walters Kluwer Health; 2014. p.382-429.

ไสว นรสาร. บาดเจ็บกระดูกสันหลังและไขสันหลัง (Spine and spinal cord injuries). ใน: ไสว นรสาร, พีรญา ไสไหม, บรรณาธิการ. การพยาบาลผู้บาดเจ็บ (Trauma Nursing). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์; 2559. หน้า 177-216.

Kanwar R. Deleasobera BE, Hudson K, Frohna W. Emergency department evaluation and treatment of cervical spine injuries. Emerg Med clin N Am 2015; 33:241-282.

ธำรง เลิศอุดมผลวณิ. การบาดเจ็บ ทางกระดูกสันหลัง (Principle of spine trauma). ใน: พงศธร ฉันทพลากร, ชนิกา อังสุนันท์สุข, นรเทพ กุลโชติ, ปพน สง่าสูงส่ง, เทพรัตน์ กาญจนเทพศักดิ์, บรรณาธิการ. Texbook of Orthopaedics Trauma: ตำราการบาดเจ็บทางออร์โธ ปิดิกส์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท ทรัสต์ อัส จำกัด; 2562. หน้า 149 - 167.

Ryan OS, Milton JK. Autonomic Dysreflexia in Spinal Cord Injury. [Internet]. 2022 Jan 18. [Cited 2022 June 15]; Available from: https://emedicine.medscape.com/article/322809-overview?reg=1.

กิ่งแก้ว ปาจรีย์. ภาวะระบบประสาทออโตโนมิกผิดปกติ. ใน: กิ่งแก้ว ปาจรีย์ บรรณาธิการ. ไขสันหลังบาดเจ็บ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น พี เพรส; 2558. หน้า 266 – 285.

Matt V. 12 Spinal Cord Injury Nursing Care Plan. [Internet]. 2022 March 18. [cited 15 June 2022]; Available from: https://nurseslabs.com/12-spinal-cord-injury-nursing-care-plans/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-09