การพัฒนารูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มสำหรับผู้ป่วยสูงอายุ ในโรงพยาบาล

ผู้แต่ง

  • นิภาพร มีชิน
  • รุจิรา ดงเรืองราช
  • สุรีรัตน์ ดาวเรือง

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุในโรงพยาบาล, รูปแบบ, การป้องกันพลัดตกหกล้ม

บทคัดย่อ

กการวิจัยปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสถานการณ์การพลัดตกหกล้ม พัฒนารูปแบบการป้องกันการพลัดตกหกล้มสำหรับผู้ป่วยสูงอายุในโรงพยาบาล และประเมินผลของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 13 ราย และผู้ป่วยสูงอายุ จำนวน 90 ราย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วย แบบบันทึกข้อมูลพยาบาล แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบประเมินความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำไปใช้ ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่า CVI เท่ากับ 1 ได้ค่าความสอดคล้องของเครื่องมือจากการสังเกต ร้อยละ 95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า สถานการณ์การพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยสูงอายุในโรงพยาบาลมีแนวโน้มสูงขึ้น รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย การประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม กิจกรรมการพยาบาลเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้ม และกิจกรรมการนิเทศทางการพยาบาล และประเมินผลการนำใช้ พบว่าค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของพยาบาลเกี่ยวกับแนวโน้มความเป็นไปได้ในการนำใช้ อยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x} = 4.69, S.D.=0.48) ค่าคะแนนความพึงพอใจโดยรวมต่อรูปแบบที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x} = 4.48, S.D.=0.34 ) ผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลตามรูปแบบไม่พบพลัดตกหกล้ม 90 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่ดี ควรนำไปใช้โดยผนวกเข้ากับการทำงานประจำในหอผู้ป่วยที่มีบริบทคล้ายคลึงกัน

 

References

กองป้องกันการบาดเจ็บกรมควบคุมโรค. รายงานประจำปี 2564 การป้องกันการบาดเจ็บ; 2564

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. การพยากรณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป) ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560- 2564. ค้นเมื่อ 29 มกราคม 2565. จาก http://www.thaincd.com/document/file/violen

World Health Organization. WHO global report on falls prevention in older age. https :// www. who.int/ageing/publications/Falls_prevention7March.pdf. Accessed April 28,2019.

โรงพยาบาลน้ำพอง. รายงานสถิติประจำปี 2564. สถิติงานการพยาบาลผู้ป่วยใน โรงพยาบาลน้ำพอง; 2564.

ลาวัลย์ เชยชม, ชญานันท์ ทิพย์ละมัย, ศรัณยา ทัดทอง. ผลของการใช้แนวทางปฏิบัติในการป้องกันการเกิดพลัดตกหกล้มในหอผู้ป่วยสามัญหญิง 1 โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี. วารสารกรมการแพทย์. 2562; 44(5): 54-61.

สิริลักษณ์ กุลลวะนิธีวัฒน์, พัชรินทร์ สรไชยเมธา, ศรีสุดา เจียะรัตน์, รดิวันต์ กิตติชัยเศรษฐ์, เมทณี ระดาบุตร, สารนิติ บุญประสพ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเฉพาะรายเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มสำหรับผู้ป่วยบกพร่องทางการเคลื่อนไหวที่เข้ารับการฟื้นฟูสภาพในโรงพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก. 2563; 21(2): 422-433.

เยาวเรศ ก้านมะลิ. การพัฒนารูปแบบบริการพยาบาลเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยที่รักษาในโรงพยาบาล. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร. 2564; 4(2): 76-88.

เนตดา วงศ์ทองมานะ. บทบาทพยาบาล: การป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้ป่วยจิตเวช. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2558; 9(2): 49-61.

ภาวดี วิมลพันธุ์. บทบาทพยาบาลในการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน.

วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2557; 8(1): 8-15.

Soukup, SM. The Center for Advanced Nursing Practice evidence-based practice model. Nursing Outlook 2000; 49(6): 272-79.

Morse JM. The modified Morse Fall Scall. Int J Nurse Pract. 2006; 12: 174- 5.

ศศิกานต์ หนูเอก, สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, สุรัสวดี เที่ยงวิบูลย์วงศ์. ปัจจัยที่มีผลต่อการพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยในโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร. 2563; 13(3): 45-58.

สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฑราชสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและประเมินภาวะหกล้มในผู้สูงอายุ: การป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ. นนทบุรี: 2562.

วรรณภา พฤกษะวัน, อรชร กันจีน๊ะ, ประไพศรี ปัญญาอิ่นแก้ว, เสาวณีย์ ฤดี, เยาวภา พรเวียง. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกเพื่อป้องกันพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยมะเร็งที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล. วารสารวิชาการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุพรรณบุรี. 2565; 5(1): 113-129.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-08