การคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับยายับยั้งการหดรัดตัวของมดลูกเพื่อชะลอการคลอดก่อนกำหนด: การวิเคราะห์ปัจจัย และระยะปลอดเหตุการณ์
คำสำคัญ:
การคลอดก่อนกำหนด, ยายับยั้งการหดรัดตัวของมดลูกเพื่อชะลอการคลอดก่อนกำหนด, ระยะปลอดเหตุการณ์บทคัดย่อ
การคลอดก่อนกำหนดมีความเชื่อมโยงกับหลายปัจจัย การใช้ยายับยั้งการหดรัดตัวของมดลูกเพื่อชะลอการคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงยังเป็นประเด็นที่ต้องศึกษาเพิ่มเติม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการคลอดก่อนกำหนด และระยะปลอดเหตุการณ์การคลอดก่อนกำหนด ศึกษาในหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับยายับยั้งการหดรัดตัวของมดลูก และมาคลอดที่โรงพยาบาลแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ ระหว่างปี 2563 - 2565 จำนวน 321 ราย การวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการคลอดก่อนกำหนด มีปัจจัยนำเข้า 8 ตัวแปร ขณะที่การวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับระยะปลอดเหตุการณ์การคลอดก่อนกำหนด มีปัจจัยนำเข้า 4 ตัวแปร ผลการศึกษา พบว่า อัตราการคลอดก่อนกำหนดในกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับยายับยั้งการหดรัดตัว ของมดลูก ร้อยละ 19.0 (95% CI: 15.1, 23.7) ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการคลอดก่อนกำหนดในกลุ่มตัวอย่าง มีเพียงปัจจัยเดียว คือ การได้รับยายับยั้งการหดรัตตัวของมดลูก โดยการได้รับยาเพิ่มขึ้นทุก 1 วัน สามารถลดอัตราการคลอดก่อนกำหนดได้ราวร้อยละ 17 (Odds ratio = 0.83; 95% CI: 0.75, 0.92) และความเสี่ยงของการเกิดเหตุการณ์การคลอดก่อนกำหนด ณ เวลาที่ได้รับยายับยั้งการหดรัดตัวของมดลูก คือ ขนาดการเปิดของปากมดลูกก่อนคลอด (Hazard ratio = 39.63; 95% CI: 15.71, 99.98) และการมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ (Hazard ratio = 3.42; 95% CI: 1.41, 8.31) การได้รับยายับยั้งการหดรัดตัวของมดลูกมีประสิทธิผลในการลดหรือชะลอการคลอดก่อนกำหนดได้จริง แต่ยังไม่สมบูรณ์แบบ สิ่งบ่งชี้ คือ ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ การพัฒนาแนวทางการฝากครรภ์คุณภาพที่เหมาะสม ทั้งด้านการติดตาม การบริการ และนวัตกรรมใหม่ เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องคำนึงถึง
References
วราภรณ์ แสงทวีสิน, ศุภวัชร บุญกษิดิ์เดช, วิบูลย์ กาญจนพัฒนกุล และสุนทร ฮ้อเผ่าพันธุ์. การแพทย์ไทย 2554 - 2557. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงสาธารณสุข; 2558.
Rexhausen J, Wilson S, Jones M, Heath J. The Economic Impact of Preterm Birth. USA: Economics Center; 2014.
Henderson J, Carson C, Redshaw M. Impact of preterm birth on maternal well-being and women’s perceptions of their baby : a population-based survey. BMJ OPEN 2016; doi:10.1136/bmjopen- 2016-012676: 1-8.
สายฝน ชวาลไพบูลย์ และสุจินต์ กนกพงษ์ศักดิ์. ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและภาวะน้ำเดินในครรภ์ก่อนกำหนด. เวชบันทึกศิริราช 2554; 4: 25-39.
Muhumed II, Kebira JY, Mabalhin MO. Preterm Birth and Associated Factors Among Mothers Who Gave Birth in Fafen Zone Public Hospitals Somali State Eastern Ethiopia. R & Reports in Neo 2021; 11: 23-33.
Devi TC, Singh HS. Prevalence and associated risk factors of preterm birth in India : A review. J of P Health & Dev 2021; 19: 209-26.
El-Beltagy NS, Rocca MM, TahaEl-Weshali HM, Hamid Ali MSA. Risk Factors for Preterm Labor among Women Attending El Shatby Maternity University Hospital, Alexandria, Egypt. Arch Nurse Practice Care 2016; 2: 45-49
Defilipo EC, Chagas PS, Drumond CM, Ribeiro LC. Factors associated with premature birth : a case-control study. Rev Paul Pediatr 2021; 1-10.
Fetene G, Tesfaye T, Negesse Y, Dulla D. Factors associated with preterm birth among mothers who gave birth at public Hospitals in Sidama regional state Southeast Ethiopia : Unmatched case-control study. PLOS ONE 2022; 17: 1-13.
Laelago T, Yohannes T, & Tsige G. Determinants of preterm birth among mothers who gave birth in East Africa : systematic review and meta-analysis. Italian Journal of Pediatrics 2020; 46: 1-14.
Brito de Medeiros BK, Cornetta MC, Crispim JO, Cobucci RN. Risk Factors Associated with Preterm Birth in Brazilian Maternal and Child Health Hospital. Obs & Gyno Cases - Reviews 2018; 5: 1-5.
Dahman HAB. Risk factors associated with preterm birth : a retrospective study in Mukalla Maternity and Childhood Hospital, Hadhramout Coast/Yemen. Sudanese Journal of Paediatrics 2020; 20: 99-110.
Diaz-Rodriguez A, Feliz-Matos L, Matuk CBR. Risk factors associated with preterm birth in the Dominican Republic : a case-control study. BJM Open 2020; 1-7.
Wagura P, Wasunna A, Laving A, Wamalwa D, Ng’ang’a P. Prevalence and factors associated with preterm birth at Kenyatta national hospital. BMC Pregnancy and Childbirth 2018; 18: 1-8.
Intaraphet S, Kongpechr S, Mahawerawat S, Potchana R. Risk Factors and Outcomes of Preterm Birth among Northeast Thai Teenage Mothers in Thailand. Journal of South Asian Federation of Obstetrics and Gynaecology 2021; 13: 110-116.
Di Renzo GC, Tosto V, Tsibizova V, Fonseca E. Prevention of Preterm Birth with Progesterone. Journal of Clinical Medicine 2021; 10: 1-11.
Romero R, Yeo L, Chaemsaithong P, Chaiworapongsa T, & Hassan S. Progesterone to prevent spontaneous preterm birth. Semin Fetal Neonatal Med 2013; 19: 1-28.
Norwitz ER, & Caughey AB. Progesterone Supplementation and the Prevention of Preterm Birth. Review in Obs et Gyne 2011; 4: 60-72.
ถนอม มะโนทัย. การใช้ progesterone รักษาผู้ป่วยที่มีอาการจะแท้ง. จุฬาลงกรณเวชสาร 2516; 18: 131-136.
Norman JE. Progesterone and preterm birth. International Journal Gynecology obstetrics 2020; 150: 24-30.
วิไลพรรณ สวัสดิ์พาณิชย์. การพยาบาลมารดาหลังคลอด (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศรีศิลปะการพิมพ์จำกัด; 2554.
บัณฑิต ถิ่นคำรพ. แนวปฏิบัติสำหรับการวิเคราะห์ระยะปลอดเหตุการณ์. ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น. พิมพ์ครั้งที่ 1. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2544
Bujang MA, Sa’At N, Sidik AB, Joo LC. Sample size guidelines for logistic regression from observational studies with large population. National Library of Medicine 2018; 25: 122-130.
Xu R, Shaw PA, & Methrotra DV. Hazard Ratio Estimation in Small Samples. Statistics in Biopharmaceutical Research 2018; 10: 139-149.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว