กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนงานเพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานเข้าสู่ภาวะ “Remission”: กรณีศึกษา กลยุทธ์การขับเคลื่อน อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • คมกริช ฤทธิ์บุรี

คำสำคัญ:

กลยุทธ์, โรคเบาหวาน, ภาวะสงบ

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์และประเมินผลลัพธ์ในการขับเคลื่อนงานด้านการดูแลสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน ดำเนินการระหว่างเดือนมกราคม ถึง ธันวาคม 2565 ภายใต้ 4 กระบวนการหลัก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 161 คน เครื่องมือประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมสุขภาพ และการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวาน, แนวคำถามในการสัมภาษณ์แบบสนทนากลุ่ม, และกระบวนการ AICE วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงวิเคราะห์ ได้แก่ Chi-Square Test หรือ Fisher Exact Test

ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์พัฒนาขึ้น ภายใต้แนวคิด “PHIMAI Model” ประกอบด้วย 6 กลยุทธ์ 5 มาตรการ 4 โครงการ เมื่อการขับเคลื่อนเสร็จสิ้น พบว่า มีผู้ป่วยเบาหวานเข้าสู่ “ภาวะสงบ” ร้อยละ 10.6 มีผลเลือดอยู่ในเกณฑ์ และ ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ร้อยละ 67.7 ได้รับการปรับลดยาลงร้อยละ 57.1 ด้านพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวานดีขึ้น โดยด้านการบริโภคอาหารที่เหมาะสมอยู่ในระดับดีร้อยละ 62.3 การออกกำลังกายหรือการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในระดับดีร้อยละ 60.4 มีการจัดการความเครียดอย่างเหมาะสมระดับดีร้อยละ 65.5 มีการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง หรือ โดยครอบครัวระดับดีร้อยละ 61.2 และเข้ารับบริการสุขภาพ การรักษาพยาบาล และการใช้ยาอยู่ในระดับดีร้อยละ 74.4

                                สรุปได้ว่า ในระดับนโยบาย กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนงานโรคเบาหวาน ภายใต้แนวคิด “PHIMAI Model” ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานเข้าสู่ “ภาวะสงบ” ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ในระดับปฏิบัติการ การแปลงนโยบายหรือกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งการขับเคลื่อนดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้บริบทของพื้นที่นั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพ ต่อเนื่อง และยั่งยืน

References

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์โรคไม่ติดต่อ พ.ศ. 2565 ระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมโรค กระทรวง สาธารณสุข; 2564.

กลุ่มระบาดวิทยาและตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นคร ราชสีมา. สถานการณ์โรคสำคัญที่เฝ้าระวังทางระบาดวิทยาในพื้นที่เขตสุขภาพ ที่ 9 สัปดาห์ที่ 13 ปี พ.ศ. 2564 (วันที่ 28 มีนาคม - 3 เมษายน 2564). กรุงเทพฯ: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับ ชาติ 5 ปี (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. รายงานจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวาน จังหวัดนครราชสีมา ปี 2560 - 2564. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอพิมาย. สถานการณ์โรคสำคัญที่เฝ้าระวังทางระบาดวิทยาในพื้นที่อำเภอพิมาย ปี 2564. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

นิคม ถนอมเสียง. การคำนวณขนาดกลุ่ม ตัวอย่าง. [อินเตอร์เน็ต]. 2554 [เข้าถึงเมื่อ 12 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://home.kku.ac.th/nikom/516201_sample_size_nk2561.pdf

นรินทร์รัชต์ พิชญคามินทร์. ผลลัพธ์การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวาน จังหวัดนครราชสีมา ภายใต้กลยุทธ์ “PLEASE Model”. วารสารสุขศึกษา. 2565;45(1): 24-39.

ศุภวรรน ยอดโปร่ง, ลัฆวี ปิยะบัณฑิตกุล. การพัฒนาโรงเรียนเบาหวานโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 18 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/ index.php/jnat-ned/article/download/ 139795/103698/

Hormoz Sanaeinasab, Mohsen Saffari, Davoud Yazdanparast, Aliakbar Karimi Zarchi, Faten Al-Zaben, Harold G Koenig, Amir H Pakpour. Effects of a health education program to promote healthy lifestyle and glycemic control in patients with type 2 diabetes: A randomized controlled trial [Internet]. 2021. [Cited 2021 May 18]. Available from: https:// pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33055009/

Athira Kalangadan, Shifa Puthiyamadathil, Snana Koottat, Shejila Chillakunnel Hussain Rawther, Assuma Beevi T M. Sociodemographics, clinical profile and health promotion behaviour of people with type 2 diabetes mellitus [Internet]. 2021. [Cited 2021 May 18]. Available from: https://cegh.net/action/showPdf? pii=S2213-3984%2820%2930049-X

Dean Schillinger, Kevin Grumbach, John Piette, et al. Association of Health Literacy with Diabetes Outcomes. [Internet]. 2002. [Cited 2021 May 18]. Available from: https://jamanetwork.com/ journals/jama/article-abstract/19 5143

Jessica Vandenbosch, Stephan Van den Broucke, and Helle Terkildsen-Maindal. The impact of health literacy on diabetes self-management education. [Internet]. 2018. [Cited 2021 May 18]. Available from: https://journals.sagepub.com/doi/ abs/10.1177/0017896917751554?journalCode=heja

Roy Taylor, Ambady Ramachandran, William S Yancy Jr, Nita G Forouhi. Nutritional basis of type 2 diabetes remission. [Internet]. 2021. [Cited 2021 Aug 11]. Available from: https://doi.org/ 10.1136/bmj.n1449

Lydia Coulter Kwee, Olga Ilkayeva, Michael J. Muehlbauer, Nathan Bihlmeyer, Bruce Wolfe, Jonathan Q. Purnell, F. Xavier Pi-Sunyer, Haiying Chen, Judy Bahnson, Christopher B. Newgard, Svati H. Shah & Blandine Laferrere. Metabolites and diabetes remission after weight loss. [Internet]. 2021. [Cited 2021 May 18]. Available from: https://www.nature.com/ articles/s41387-021-00151-6

Joshua Z Goldenberg, Andrew Day, Grant D Brinkworth, Junko Sato, Satoru Yamada, Tommy Jonsson, Jennifer Beardsley, Jeffrey A Johnson, Lehana Thabane, Bradley C Johnston. Efficacy and safety of low and very low carbohydrate diets for type 2 diabetes remission: systematic review and meta-analysis of published and unpublished randomized trial data. [Internet]. 2021. [Cited 2021 May 18]. Available from: https://www.bmj.com/content/372/bmj.4743

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-08