การพัฒนาแนวทางการใช้ข้อมูลบริการออนไลน์รูปแบบ แอพพลิเคชันไลน์สำหรับผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลภูเวียง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ดารัณ ธนะภูมิชัย โรงพยาบาลภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
  • ณรงค์ชัย เศิกศิริ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
  • วิศณุ นันทัยเกื้อกูล โรงพยาบาลภูเวียง จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

แนวทาง, แอพพลิเคชันไลน์, ผู้ป่วยเบาหวาน, ข้อมูลบริการออนไลน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา แนวทางการใช้ข้อมูลบริการออนไลน์รูปแบบแอพพลิเคชันไลน์สำหรับผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาล ภูเวียง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน * McNemar chi square test และPaired t-test, 95% CI , p-value และ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลลัพธ์การพัฒนาแนวทางการใช้ข้อมูลบริการออนไลน์รูปแบบแอพพลิเคชันไลน์สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน พบว่า ระดับความรอบรู้ ด้านสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานหรือญาติก่อนการเข้าร่วม อยู่ระดับสูงร้อยละ 56.67 ระดับปานกลาง ร้อยละ 40.00 ระดับต่ำ ร้อยละ 3.33 หลังเข้าร่วมวิจัย พบว่า ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 93.33 เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพก่อนและหลังการเข้าร่วมวิจัยพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) ความพึงพอใจและ การเข้าใช้ข้อมูลบริการออนไลน์รูปแบบแอพพลิเคชันไลน์ ผู้ป่วยเบาหวานหรือญาติ พบว่า ภาพรวมความพึงพอใจระดับดีมากร้อยละ 66.6 สหวิชาชีพ ภาพรวมความพึงพอใจระดับดีมากร้อยละ 85 เพื่อให้แนวทางการพัฒนาขึ้นนี้มีประสิทธิภาพ บุคลากรด้านการแพทย์จำเป็นต้องพัฒนาปรับปรุงการให้ความรู้ผู้ป่วยโรคเบาหวานผ่านระบบแอพแอปพลิเคชันไลน์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้รับข้อมูล ที่ถูกต้องและส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเพิ่มขึ้นการดูแลตนเองผู้ป่วยเบาหวานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป

References

Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. โรคเบาหวานในวัยรุ่น [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 25 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก:https://www.hfocus.org/

content/2019/11/18031.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติ สำหรับโรคเบาหวาน2557. กระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ: กรุงเทพฯ:ศรีเมืองการพิมพ์จำกัด; 2557.

Chamberlain. JJ, Rhinehart. AS, ShaeferJr. CF, Neuman A. Diagnosis and Management of Diabetes: Synopsis of the 2016 American Diabetes Association Standards of Medical Care in Diabetes. Annals of Internal Medicine. 2016;164(8):542-52.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. การรักษาเบาหวานชนิดที่ 2 [อินเทอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 19 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://dmthai.org/new/index.php/sara-khwam-ru/understand-diabetes

/understand-diabetes-4/type-2-diabetes-treatment.

หมอชาวบ้าน. ความสำคัญของข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วย [อินเทอร์เน็ต]. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.doctor.or.th/article/

detail/10964.

World Health Organization. Health Literacy and Health Promotion. Definitions, Concepts and Examples In the Eastern Mediterranean Region. Individual Empowerment Conference Working Document. The 7th Global Conference on Health Promotion, "Promoting Health and Development: Closing the Implementation Gap"; 26-30 October 2009. ; Nairobi, Kenya. 2009.

National Telecom Public Company Limited. Digital Transformation ของบริการสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 20 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.healthlink.go.th/articles/digital-healthcare/.

Kemmis S, McTaggart R, University D. The Action Research Planner: Deakin University; 1982.

สุจิตราภรณ์ ทับครอง, พ็ญรุ่ง นวลแจ่ม, นิตยา วิโรจนะ, พาจนา ดวงจันทร์. ผลของการใช้สื่อสุขภาพรูปแบบแอปพลิเคชันไลน์ ต่อความรู้และความเข้าใจโรคเบาหวานของบุคลากรในสถานศึกษา. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. 2561;19(36):78-87.

กรรณิการ์ ยิ่งยืน, นงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์. นวัตกรรมเพื่อการจัดการตนเองผ่านระบบบริการสุขภาพทางไกลสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2559;31(6):365-71.

Strom JL, Egede LE. The impact of social support on outcomes in adult patients with type 2 diabetes: a systematic review. Curr Diab Rep. 2012;12(6):769-81.

Roblin DW. The potential of cellular technology to mediate social networks for support of chronic disease self-management. J Health Commun. 2011;16 Suppl 1:59-76.

Zhou W, Chen M, Yuan J, Sun Y. Welltang – A smart phone-based diabetes management application – Improves blood glucose control in Chinese people with diabetes. Diabetes Research and Clinical Practice. 2016;116:105-10.

Boulos MN, Brewer AC, Karimkhani C, Buller DB, Dellavalle RP. Mobile medical and health apps: state of the art, concerns, regulatory control and certification. Online J Public Health Inform. 2014;5(3):229.

Thongprasit J, Chintakovid T. Elderly user’s usage behavior of LINE application on a smartphone. วารสาร วิชาการ พระจอมเกล้า พระนครเหนือ. 2020;30(1):118-29.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30