ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดปอดอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลห้วยยอด จังหวัดตรัง
คำสำคัญ:
ปอดติดเชื้อ, เบาหวาน, ไวรัสโคโรนา 2019บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดปอดอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลห้วยยอด จังหวัดตรัง เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลังจากเหตุไปหาผล ( Retrospective cohort study ) ผู้ป่วยที่เข้ารับบริการที่โรงพยาบาลห้วยยอด ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2564 ถึง เดือนกันยายน 2565 เป็นระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน จำนวน 406 ราย โดยรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน อาการ โรคร่วม สัญญาณชีพ การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การฉีดวัคซีน วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการมีภาวะปอดติดเชื้อ โดยใช้สถิติเชิงอนุมานได้แก่ ใช้การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกตัวแปรเดียว (Simple logistic regression analysis) และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกหลายตัวแปร (Multiple logistic regression analysis) ในช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งสิ้น 406 คน มีภาวะปอดอักเสบ 90 คน คิดเป็น 22.17 % จากการวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Multivariable logistic regression พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการมีปอดติดเชื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ เพศชายมีความเสี่ยงทำให้มีภาวะปอดอักเสบในผู้ป่วยโรคเบาหวานเป็น 3.21 เท่าของเพศหญิง (Adj. Odds Ratio 2.79;95 CI 1.26-6.16, p-value =0.014 ) ค่าเฉลี่ย BMI ที่เพิ่มขึ้นทุก 1 หน่วยมีความเสี่ยง 1.08 เท่า (Adj. Odds Ratio 1.08;95 CI 1.01-1.14, p-value= 0.009 ) อาการเจ็บคอมีความเสี่ยง 0.22 เท่า ( Adj. Odds Ratio 0.22;95 CI 0.09-0.54, p-value= 0.001 ) ถ่ายเหลวมีความเสี่ยง 4.04 เท่า ( Adj. Odds Ratio 4.04;95 CI 1.20-13.64, p-value= 0.024) การรับกลิ่นลดลงมีความเสี่ยง 8.37 เท่า ( Adj. Odds Ratio 8.37;95 CI 1.28-54.56, p-value= 0.026) ลิ้นไม่ได้รสมีความเสี่ยง 5.36 เท่า ( Adj. Odds Ratio 5.36;95 CI 1.10-26.05, p-value= 0.036) ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว ที่ลดลงทุก 1 หน่วยมีความเสี่ยง 0.97 เท่า ( Adj. Odds Ratio 0.97;95 CI 0.95-0.99; p-value= 0.032) ดังนั้นผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว ควรพิจารณาให้ยารักษาตั้งแต่ในระยะแรก และอาจต้องติดตามการรักษาอย่างใกล้ชิด
References
วีระยุทธ หุมอาจ. โรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019:กรณีศึกษา.วารสารสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดขอนแก่น. 2564;3(1):149-163.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). 2563. [Internet]. [Cited 2022 October 12]. Available from: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_km/handout001_12032020.pdf.
Department of Disease Control. Access to diabetes care 2564. [Internet]. [Cited 2021 November12]Available from:https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=21692&deptcode=brc
Zhao Yi, Liu Yu, Yi F, Zhang J, Xu Z. Type 2 diabetes mellitus impaired nasal immunity and increased the risk of hyposmia in COVID-19 mild pneumonia patients. Elsevier. 2021; 93:1-8
Huang P, Anthonius M, Pranata R. Diabetes mellitus is associated with increased mortality and severity of disease in COVID-19. Diabetes Metab Syndr. 2020;14(4):395-403.
Ma R, Holt R. COVID-19 and diabetes Diabet. Diabetic Medicine. 2020;37(5): 723–725.
Roman M, Outeirio V, Moya C, Santisteban P, Gonzlez M , Vigo E, et al. Activation of the GLP-1 receptor by liraglutide increases ACE2 expression, reversing right ventricle hypertrophy, and improving the production of SP-A and SP-B in the lungs of type 1 diabetes rats. Endocrinology.2015;156(10):3559-69.
Wu C, Chen X, Cai Y. Risk Factors Associated With Acute Respiratory Distress Syndrome and Death in Patients With Coronavirus Disease 2019 Pneumonia in Wuhan, China. JAMA Intern Med. 2020;180(7):934-943
Cottini P, Lombardi C, Berti A. Obesity is a Major Risk Factor for Hospitalization in Community-Managed COVID-19 Pneumonia. Mayo Clinic Proceedings. 2021;96(4):921-931
Apicella M , Campopiano M, Mantuano M ,Mazoni L,Coppelli A , Prato S. COVID-19 in people with diabetes understanding the reasons for worse outcomes. Lancet Diabetes Endocrinol. 2020;782-792.
Guan W, Ni Z, Hu Y, Liang W Ph.D., Ou Cq, Ph.D., He JX. Characteristics of Coronavirus Disease 2019 in China 2020. N Engl J Med. 2020;382:1708-1720.
Hsieh FY. Sample size tables for logistic regression. Stat Med. 1989;8(7):795–802.
Leon J, Portmann A, Bryce A, Ruiz M, Accinelli C, Soliz R. Diabetes increases the risk of COVID-19 in an altitude dependent manner: An analysis of 1,280,806 Mexican patients. PLoS One. 2021;16(8):e0255144.
Jaillon S, Berthenet K, Garland C. Sexual dimorphism in innate immunity. Clinical Reviews in Allergy & Immunology. 2019;56(3):308-321.
Patel U, Malik P, & Usman M.S. Age-adjusted risk factors associated with mortality and mechanical ventilation utilization amongst COVID-19 hospitalizations systematic review and meta-analysis. SN Comprehensive Clinical Medicine. 2020;2(10):1740-1749.
Ciceri F, Castagna A, Rovere-Querini P. Early predictors of clinical outcomes of COVID-19 outbreak in Milan, Italy. Clinical Immunology. 2020;217:1-11.
กาญจนา เทียบกลาง, ธันยพร จันทร, เฉลิมชัย เลิศอนันต์สิทธิ์. การศึกษาเพื่อหาความรุนแรงและปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของการติดเชื้อโควิด-19 ในผู้ป่วยมะเร็ง. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2565;37(3):600-607.
Badawi A, Ryoo S.G. Prevalence of comorbidities in the Middle East respiratory syndrome coronavirus (MERS-CoV): a systematic review and meta-analysis. International journal of Infectious Diseases. 2016;49:129-133.
Bai Y, Yao L, Wei T, Tian F, Jin DY, Chen L. Presumed Asymptomatic Carrier Transmission of COVID-19. JAMA. 2020;323(14):1406-7.
Lai CC, Liu YH, Wang CY, Wang YH, Hsueh SC,Yen, MY. Asymptomatic carrier state, acute respiratory disease, and pneumonia due to severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 (SARS-CoV2): Facts and myths. J Microbiol Immunol Infect. 2020;53(3):404-12.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว