การพัฒนารูปแบบการสอนใช้ยาฉีดอินซูลินของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลภูเวียง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • Naruenat Somasri โรงพยาบาลภูเวียง จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

การสอนใช้ยาฉีดอินซูลิน, โรคเบาหวาน, การรักษาโรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสถานการณ์ปัญหาการใช้ยาฉีดอินซูลินของผู้ป่วยโรคเบาหวาน 2. พัฒนารูปแบบการสอนใช้ยาฉีดอินซูลิน 3. ประเมินผลการพัฒนารูปแบบการสอนใช้ยาฉีดอินซูลิน ประชากรเป้าหมายประกอบด้วย 1. ผู้ป่วยที่ได้รับยาฉีดอินซูลิน รายใหม่ จำนวน 64 คน 2. ผู้ป่วยรายเก่าที่ฉีดอินซูลินไม่ถูกต้องจำนวน 8 คน 3. บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องจำนวน 10 คน ดำเนินการศึกษาระหว่างธันวาคม 2565 – มิถุนายน 2566 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์บุคลากรทางการแพทย์ แนวคำถามสนทนากลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน แบบประเมินเทคนิคการใช้ยาฉีดอินซูลินและแบบประเมินความพึงพอใจต่อการสอนใช้ยาฉีดอินซูลิน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยสถิติ Paired t-test และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาพบว่าปัญหาการฉีดอินซูลินเกิดจากผู้ป่วยรายใหม่ไม่ค่อยยอมรับการฉีดอินซูลิน เอกสารประกอบการสอนยังให้ข้อมูลไม่ละเอียด  ไม่มีระบบติดตามการฉีดอินซูลินในรายที่สอนไปแล้ว การเตรียมอินซูลินในผู้ป่วย  ไม่ตรงตามขนาดที่แพทย์สั่ง และผู้ป่วยมีการเก็บอินซูลินยังไม่เหมาะสม การพัฒนารูปแบบการสอนใหม่ ชื่อว่า PITT DM model โดยจะให้ข้อมูลความสำคัญของอินซูลินแล้วจึงสอนขั้นตอนการฉีดด้วยเอกสารที่มีรูปภาพประกอบและให้ผู้ป่วยได้ฝึกฉีดจริง หลังจากติดตามการใช้รูปแบบในช่วง 2 เดือน พบว่าผู้ป่วยได้คะแนนเทคนิคการฉีดอินซูลินเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 9.02±1.23  เป็น 13.11±1.16 คะแนน จากคะแนนเต็ม 16 คะแนน (P< 0.001) ระดับน้ำตาลในเลือด FBS เฉลี่ยลดลงจาก 206.48±33.66 mg/dl เป็น 136.02±21.66 mg/dl (P< 0.001) ระดับ HbA1C เฉลี่ยลดลงจาก 10.40±1.04 mg% เป็น 7.89±1.00 mg% (P< 0.001) ในผู้ป่วยบางรายที่ยังฉีดอินซูลินเกินขนาด หลังจากพัฒนานวัตกรรมช่วยล็อคขนาดอินซูลินพบว่าผู้ป่วยสามารถฉีดอินซูลินในขนาดถูกต้องมากขึ้น สรุปได้ว่ารูปแบบการสอนใช้ยาฉีดอินซูลินทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้อินซูลินได้ถูกต้องและเกิดผลลัพธ์ที่ดีในการรักษา

References

International Diabetes Federation. IDF Diabetes Atlas, 10th ed. [Internet]. 2021. [cited 2022 Nov 1]. Available from: https://www.diabetesatlas.org

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2560. พิมพ์ครั้งที่ 3. ปทุมธานี: ร่มเย็นมีเดียจำกัด; 2560.

American Diabetes Association. Standards of medical care in diabetes 2022. [Internet]. 2022. [cited 2022 Nov 20]. Available from: https://www.biogenetech.co.th/wp-content/uploads/2021/12/ADA-Guideline-2022.pdf

รจิตา พรินทรากุล, อาจินต์ สงทับ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาฉีดอินซูลินในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลลอง อำเภอลอง จังหวัดแพร่. วารสารเภสัชกรรมไทย 2563; 13(2): 346-55.

คณะอนุกรรมการสอบความรู้เพื่อขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สภาเภสัชกรรม. คู่มือทักษะตามเกณฑ์ความรู้ความสามารถ ทางวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม (สมรรถนะร่วม). พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: สภาเภสัชกรรม; 2562.

Dinda M.N. Ratri, Khusnul Fitri Hamidah, Arina D. Puspitasari, Muhammad Farid. Video-based health education to support insulin therapy in diabetes mellitus patients. Journal of public health research. 2020; 9(2), 223-6.

สุปริญญา พรมมาลุน, ดวงรัตน์ วัฒนกิจ ไกรเลิศ, วิชชุดา เจริญกิจการ, ธวัชชัย พีรพัฒน์ดิษฐ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความร่วมมือในการใช้ยาฉีดอินซูลินในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2560; 35(1): 61-71.

นัทชกร ชินคำหาญ, วัชรพงศ์ จันทรมณี, นฤนาท โสมาศรี, รัตนาภรณ์ กองเกิด. รายงานการวิจัยการพัฒนาระบบติดตามการใช้ยาฉีดอินซูลินของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลภูเวียง. ขอนแก่น: โรงพยาบาลภูเวียง จังหวัดขอนแก่น; 2565.

Likert, R, A technique for the measurement of Attitudes. Archives of Psychological. 1932; 22(14): 49-55.

Cronbach, L.J. Essentials of Psychological and Education. 5th ed. New York: Harper Collins Publishers; 1990.

สรรเสริญ มะลิทอง และคณะ. ผลของการให้คำปรึกษาโดยเภสัชกรเรื่องวิธีการใช้ยาฉีดอินซูลินในงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2558; 11(1): 58-78.

พิไลพรรณ จันทประสาร, นุศราพร เกษสมบูรณ์, บุศณี มุจรินทร์. ผลลัพธ์ของการจัดการโรคต่อ HbA1c ในผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่ได้รับการรักษาด้วยยาฉีดอินซูลิน โรงพยาบาลลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2558; 11(1): 44-57.

สิรวิชญ์ พันธนา. ประสิทธิผลของโปรแกรมการสอนฉีดยาอินซูลินในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ได้รับการรักษาด้วยยาฉีดอินซูลิน ในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลบึงกาฬ. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2564; 11(2): 332-44.

วรินธร พุ่มแย้ม, ยุวยงค์ จันทรวิจิตร,เอื้อมพร หลินเจริญ. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการฉีดอินซูลินในผู้สูงอายุโรคเบาหวาน. วารสารการพยาบาล และสุขภาพ 2560; 11(1): 49-60.

ปิยพร สิทธิมาตย์, อัจฉรา คำมะทิตย์,กิตติพร เนาว์สุวรรณ. นวัตกรรมแผ่นกระดาษช่วยฉีดอินซูลิน. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน 2564; 3(2): 54-63.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-04