ผลการพัฒนารูปแบบขับเคลื่อนนโยบาย EMS (Environment Modernization and Smart service) จังหวัดอำนาจเจริญ
คำสำคัญ:
EMSS, ศักยภาพการดำเนินงาน, มาตรฐานสถานบริการสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบขับเคลื่อนนโยบาย EMS (Environment Modernization and Smart service) จังหวัดอำนาจเจริญ ศึกษาในกลุ่มคณะกรรมการดำเนินงานสถานพยาบาลตามนโยบาย EMS จังหวัดอำนาจเจริญในโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง รวม 129 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบรายงานผลการประเมินสถานบริการฯ ตามเกณฑ์ขั้นพื้นฐาน และแบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานด้วย Paired Sample T-Test ผลการศึกษาพบว่า คณะกรรมการดำเนินงานฯ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 71.3 อายุระหว่าง 40–49 ปี ร้อยละ 41.9 ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ ร้อยละ 51.2 ผลการสังเคราะห์ได้รูปแบบการขับเคลื่อนตามนโยบาย EMSS จังหวัดอำนาจเจริญ ประกอบด้วย 5s ได้แก่ 1) Structure: แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบาย 2) Style: กำหนดบทบาทหน้าที่คณะทำงาน 3) Skill: เสริมสร้างทักษะของบุคลากร 4) Strategy: กำหนดกลยุทธ์การดำเนินงาน 5) System of Monitoring: พัฒนาระบบกำกับติดตาม ภายหลังการใช้รูปแบบฯ ทำให้คณะกรรมการฯ มีศักยภาพในการดำเนินงานเพิ่มสูงขึ้นทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ส่วนผลประเมินสถานบริการตามมาตรฐานมีค่าสูงขึ้นและผ่านเกณฑ์ขั้นพื้นฐาน ดังนั้น จึงควรขับเคลื่อนนโยบาย EMSS โดยมุ่งการพัฒนาระบบกำกับติดตาม เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นเลิศต่อไป
References
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ. นโยบายมุ่งเน้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ. อำนาจเจริญ: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ; 2566.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. นโยบายมุ่งเน้น กระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2566.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการดำเนินงาน GREEN & CLEAN Hospital Challenge (GCHC) โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2566.
ภัทรจารินทร์ คุณารูป. ความคาดหวังการรับรู้และความพึงพอใจของประชาชนต่อคุณภาพบริการโรงพยาบาลชุมชน ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. พิฆเนศวร์สาร 2558; 11(2): 13-23.
ทักษิณ ชาวดร, พาณี สีตกะลิน, สมจิตต์ สุพรรณทัสน์. ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพบริการของโรงพยาบาลชุมชน ที่ผ่านการรับรองคุณภาพบริการจังหวัดอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2562; 27(3): 249-60.
พิทภรณ์ พลโคต. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การมีส่วนร่วมกับการพัฒนาคุณภาพบริการโรงพยาบาลของบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดหนองคาย. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2563; 6(1): 50-9.
เล็ก แช่เฮ้ง, พรฤดี นิธิรัตน์. การศึกษาย้อนหลังกรณีร้องเรียนมีมูลความจริงมาตรา 57 มาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ของหน่วยบริการในเขตบริการสุขภาพที่ 6. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ 2561; 8(2): 1-11.
อุบลรัตน์ ชื่นสมานศรี และ จีระ ประทีป. การพัฒนาคุณภาพการบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพและด้านการป้องกันโรคของโรงพยาบาลชุมชน ในจังหวัดสระบุรี. Journal of Modern Learning Development 2565; 7(7): 30-45.
บุนสาน ทระทึก, กฤษฎา ตันเปาว์, นพดล พันธุ์พานิช และมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น. แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการสถานพยาบาลคลินิกในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology 2564; 6(1): 379-95.
กาญจน์หทัย กองภา, สมิหรา จิตตลดากร. การนำนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขไปปฏิบัติ: กรณีศึกษา SMART HOSPITAL ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 2564; 6(3): 153-64.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ. ผลประเมินการดำเนินงานพัฒนาสถานบริการในจังหวัดอำนาจเจริญ. อำนาจเจริญ: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ; 2566.
กองบริหารการสาธารณสุข. เอกสารชี้แจงและคำอธิบายเกณฑ์การประเมินการพัฒนาสถานบริการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
Best JW. Research in Education 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall; 1997.
ฐาปนิต อมรชินธนา. การศึกษาการพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนนโยบาย โครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต จังหวัดสุรินทร์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2565; 16(1): 186-202.
ธิติภัทร คูหา, จิราพร อิทธิชัยวัฒนา. การพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงสาธารณสุขที่มุ่งสู่เป้าหมาย “เจ้าหน้าที่มีความสุข”. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2564; 30(3): 547-60.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการดำเนินงาน GREEN & CLEAN Hospital Challenge (GCHC) โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2566.
ประเสริฐ เล็กสรรเสริญ. การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพของสมัชชาสุขภาพ จังหวัดนนทบุรี. Veridian E-Journal, Silpakorn University 2560; 10(3): 2205-20.
พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์. การขับเคลื่อนการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิขององค์การบริหารส่วนจังหวัด: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. โครงการวิจัยในการสนับสนุนทุนอุดหนุนจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.); 2566.
ไพรจิตร ศิริมงคล. การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ของอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 2566; 26(2): 1-13.
สุวรรณี แสนสุข, บรรจบ แสนสุข, รัฐพล อินทรวิชัย, ประเสริฐ ประสมรักษ์. การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ จังหวัดยโสธร. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 2565; 4(2): 99-103.
ศรัญรัตน์ ธานี. การพัฒนารูปแบบดำเนินงานโรงพยาบาล GREEN and CLEAN Hospital ของโรงพยาบาลน้ำขุ่น อำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราขธานี 2565; 12(1): 5-14.
บุญสาน ทระทึก, กฤษฎา ตันเปาว์, นพดล พันธุ์พานิช, มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น. แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการสถานพยาบาลคลินิกในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology 2564; 6(1): 379-95.
ประภาส วีระพล, ประเสริฐ ประสมรักษ์, ประวุฒิ พุทธขิน. ผลของการพัฒนาระบบบริหารจัดการเครือข่ายบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ จังหวัดอำนาจเจริญ ปี 2560-2562. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ 2564; 14(1): 84-95.
เลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง. การพัฒนาโรงพยาบาลต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยแบบประคับประคอง กรุงเทพมหานคร. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ 2564; 17(1): 15-29.
ศิริพร เนตรพุกกณะ, วสิน เทียนกิ่งแก้ว. การพัฒนารูปแบบกระบวนการสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลโดยเครือข่ายขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพจังหวัดกระบี่. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยทักษิณ 2563; 2(3): 80-92.
จักรพงษ์ ศรีราช. การพัฒนาระบบการบริการสาธารณสุขออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟน ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ในเขตอำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี. ระบบเผยแพร่ผลงานในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 2563: 1-11.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว