การพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียก (STEMI) ที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยบอลลูน : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • รัชดาภรณ์ กาญจนเสถียร โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

การพยาบาล โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียก, การขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยบอลลูน

บทคัดย่อ

โรคหลอดเลือดหัวใจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในอันดับต้นๆ ของคนไทย โดยมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ชนิดเอสทียก (STEMI) เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจ สาเหตุการเสียชีวิตส่วนหนึ่งมาจากการมาโรงพยาบาลล่าช้า หากผู้ป่วยไม่ได้รับการคัดกรอง วินิจฉัยและเปิดหลอดเลือดได้ทันท่วงที อาจเสียชีวิตได้ พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือให้ผู้ป่วยผ่านภาวะวิกฤตและเกิด ความปลอดภัย ในการศึกษาครั้งนี้เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลผู้ป่วย การดำเนินของโรค ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล การวางแผนปฏิบัติการพยาบาลและผลลัพธ์การพยาบาลในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียก (STEMI) ที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยบอลลูน กรณีศึกษา 2 ราย ประเมินภาวะสุขภาพโดยใช้กรอบแนวคิดของกอร์ดอน กำหนดปัญหาข้อวินิจฉัยการพยาบาลและศึกษาการพยาบาล โดยผู้ป่วยทั้ง 2 ราย ได้รับการดูแลตามกระบวนการพยาบาล ทั้งในระยะวิกฤต ระยะต่อเนื่อง และระยะจำหน่าย พบข้อวินิจฉัยการพยาบาลทั้งหมด 15 ข้อ รายที่ 1 มีข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ซับซ้อนและรุนแรงน้อยกว่ารายที่ 2 มีอาการดีขึ้นและแพทย์อนุญาตให้กลับบ้าน รายที่ 2 มีข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ซับซ้อน รุนแรงเนื่องจาก เป็นผู้สูงอายุ มีโรคร่วมและเข้าถึงบริการล่าช้า ส่งผลให้เสียชีวิตในที่สุด ซึ่งข้อเสนอแนะในการพัฒนาควรรณรงค์การเข้าถึงบริการอย่างรวดเร็วในกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะกลุ่ม NCD รวมถึงการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในการคัดกรอง การแปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การดูแลผู้ป่วยที่ใส่เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจและเครื่องกระตุ้นหัวใจแบบชั่วคราว

References

World Health Organization. Cardiovascular-diseases (CVDs) [serial online] 2020. [cited 2023 May 5]. Available from: https:// www.who.int/newsroom/fact-sheets/ detail/cardiovascular-diseases-(cvds).

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข ปี 2565. กระทรวงสาธารณสุข; 2565.

นิตยา พันธุเวทย์, และ หทัยชนก ไชยวรรณ. ประเด็นสารรณรงค์วันหัวใจโลก ปี พ.ศ. 2558. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 17 พ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: www.thaincd.com/document/hot%20news/วันหัวใจโลก%202558.pdf. 2558.

มรรยาท ขาวโต และสุรเชษฐ์ กุคำใส. พัฒนาแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิด ST Segment ยกขึ้นในระยะวิกฤตงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุพรรณบุรี 2564; 4(2): 93-110. [เข้าถึงเมื่อ 17 พ.ย. 2566].

เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/SNC/article/view/255563

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรทราชูปถัมภ์. แนวเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เนคสเตปดีไซด์ ; 2563.

พัฒนาพร สุปินะ และนัดดา นาวุฒิ. คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนผ่านทางหลอดเลือดแดงที่ข้อมือ. 2558. [เข้าถึงเมื่อ 17 พ.ย. 2566].

เข้าถึงได้จาก: https://www2.si.mahidol.ac.th/division/nursing/sins/attachments/article/217/_____________%20______.pdf

สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ และ ชวนพิศ ทำนอง. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะเจ็บป่วยวิกฤต. พิมพ์ครั้งที่ 9 ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2559.

ศศิธร ช่างสุวรรณ และคณะ. การพัฒนาระบบการพยาบาลระยะฉุกเฉินในผู้ป่วย STEMI งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2560; 8(3): 372-84.

เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, ดวงกมล วัตราดุล, กนกพร แจ่มสมบูรณ์. การแปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจและการพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจ. กรุงเทพฯ: สุขุมวิทย์การพิมพ์; 2558.

สุเพียร โภคทิพย์. การพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI ที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวดค้ำยันแบบฉุกเฉิน. สรรพสิทธิเวชสาร 2555; 33(1): 43-58.

ทิพย์สุดา พรหมดนตรี, จินตนา ดำเกลี้ยง. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในวัยผู้ใหญ่ข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่เหมาะสม สำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2019 [สืบค้นเมื่อ 15 ต.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://www. niems.go.th/pdfviewer/index.html

จอม สุวรรณโณ, เบญจมาศ ช่วยชู และเจนเนตร พลเพชร. ความสัมพันธ์ของระดับความเสี่ยงกับการเกิดอุบัติการณ์ชนิดที่รุนแรงของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดคลื่น ST ไม่ยกสูง:การประเมินทางคลินิกโดยใช้คะแนน GRACE. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2561; 29(1): 16-28.

Diabetes impact on Thailand. The Diabetes Epidemic and Its Impact on Thailand. 2017. [cited 2023 Nov 17] Available from: http://www.changgingdiabetes Thailand.com/diabetes-impact

Hengrasmee K. Coronary Heart Disease. 2017. [cited 2023 Nov 17] Available from: http://www.hiso.or.th/his/picture report Health/report

Abegunde DO, et al. Can Non-Physician Health-care Workers Assess and Manage Cardiovasculau Risk in Primary Care. Bull World Health Organ 2007; 432 – 440.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30