ผลของการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกลุ่มผู้ให้บริการในคลินิกฝากครรภ์ ต่อปัญหาภาวะเลือดจางในหญิงตั้งครรภ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ ๗ ขอนแก่น
คำสำคัญ:
หญิงตั้งครรภ์, โลหิตจาง, ความรู้ในหญิงตั้งครรภ์, พฤติกรรมในหญิงตั้งครรภ์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา เพื่อพัฒนาคุณภาพงาน โดยมีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาความรู้และพฤติกรรมการปฏิบัติตัวของหญิงครรภ์มีภาวะโลหิตจางและเสี่ยงโลหิตจาง 2) พัฒนารูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้เกี่ยวกับโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์ 3) ประเมินผลรูปแบบการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์ วิธีการศึกษาวางแผน ประกอบด้วย การสำรวจความรู้ 18 ข้อ และพฤติกรรม 12 ข้อ ก่อนและหลังได้รับกิจกรรมด้านโภชนาการ สำหรับหญิงตั้งครรภ์โลหิตจางและเสี่ยงโลหิตจางในคลินิกฝากครรภ์ จากนั้นนำผลการศึกษา มาสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก ในแพทย์ทุกราย พยาบาลที่ให้คำปรึกษาด้านโภชนาการ นักโภชนการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ย ความเข้มข้นของเลือด(ฮีมาโตคริต) ก่อนเข้ากิจกรรม 33.5±1.79 mg/dl หลังเข้ากิจกรรม 31.96±2.21 mg/dl ทั้งนี้ฮีมาโตคริตลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คะแนนความรู้เรื่องโลหิตจางก่อนและหลัง เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หลังได้รับเมนูเสริมธาตุเหล็ก และกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ ประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติตัวของหญิงตั้งครรภ์มีที่เป็นปัญหามากที่สุดคือ การหยุดกินยาเมื่อมีผลข้างเคียง สื่อโภชนาการที่สนใจมากที่สุดคือ ข้อความสั้นๆและวีดีโอ ผลการสัมภาษณ์ แบบกลุ่มและเชิงลึกในของเจ้าหน้าที่ในคลินิกฝากครรภ์ พบว่า สื่อในโรงเรียนพ่อแม่มีความเพียงพอแต่ขาดการสื่อสารสองทาง และควรให้มีการประเมินพฤติกรรมการกินยาและอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ข้อเสนอแนะ ปรับแนวทางให้การรักษาและให้คำแนะนำในหญิงตั้งครรภ์ เน้นกิจกรรมหรือสื่อ ที่นำไปสู่การปรับพฤติกรรม
References
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการควบคุมและป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก 2556;2.
World Health Organization, Method of assessing iron status. Iron Deficiency Anemia Assessment, Prevention, and control. A guide for program managers 2001;33-43
CDC Anemia Among Pregnant Women Participating in the Special Supplemental Nutrition Program for Women, Infants, and Children United States 2008–2018. 2022 / 71(25);813–819. [cited 2023 April 10]. Available from
https://www.cdc.gov/mmwr/volumes/71/wr/mm7125a1.htm
Tachasuksri T, Siriarunrat S, Suppasri P, Suppaseemanont W, Boonnate N, Kwannate C, et al. Causal model for quality of life among pregnant women. SCNJ 2017; 4(1): 28-46 (in Thai)
Antenatal clinic and breast feeding clinic. Model for promoting health literacy about take ironsupplement tabletsin pregnant women and lactating women [Internet]. Nakhon Sawan: Health Center 3 NakhonSawan; 2019 [cited 2023 April 20]. Available from: https://he01.tci-thaijo.org/index.php
/nah/article/view/250652 (in Thai)
Waraphok S, Ratinthorn A, Limruangrong P. Factors influencing maternal health literacy in pregnant women. JTNMC 2020; 35(1): 86-98. (in Thai)
วนิดา อุตตรนคร. ประสิทธิผลของรายการอาหารบำรุงเลือดต่อการเพิ่มความเข้มข้นของเลือดในหญิงตั้งครรภ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพปีที่ 13, 2563
สมาพร สุรเตมีย์กุล, เกศินี สราญฤทธิชัย. ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการปฏิบัติตัวและระดับฮีมาโตคริตของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพปีที่ 2564; 44: 41-54
Solhi M, Abbasi K, Azar FEF, Hosseini A. Effect of health literacy education on self-care in pregnant women: A randomized controlled clinical trial. IJCBNM 2019;7(1):1-12.
Mira Triharini Eka, Mishbahatul Mar, Gita Nofita. Determinant factors of anemia in pregnancy based on health belief model: a correlational study. Faculty of Nursing, Universitas Airlangga, Surabaya, Indonesia [Internet].; 2023[cited 2023 April 20]. Available from: https://e-journal.unair.ac.id/JNERS/
article/view/43704
Swiss Society of Gynecology and Obstetrics (SSGO): 2017 FIGO Statement, September 2023
Health Education Division Department of health service support Ministry of Public Health. Health literacy [Internet]. Nonthaburi: Health Education Division; 2011 [cited 2023 April 2]. Available from: http://www.hed.go.th/ linkHed/69. (in Thai)
Samaporn Suratemeekul, Kesinee Saranrittichai. The effects of health literacy development and social support program on behaviors and hematocrit levels among pregnant women with Iron deficiency anemia. 2021; 44(4): 41-54.
Boonyaprapapan T, Sangin S, Siriarunrat S. Effects of the educative supportive program on self-care behavior and hematocrit level among pregnant women with iron deficiency anemia. JFONUBUU 2018; 26(4): 40-50.
(in Thai)
Intarakamhang U. Creation and development of Thailand health literacy [Internet]. Bangkok: The Behavioral Science Research Institute; 2017[cited 2023 Jan 15]. Available from: http://bsris.swu.ac.th/upload/ 268335.pdf. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว