ผลลัพธ์ของการผ่าตัดผ่านกล้องในผู้ป่วยกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นทะลุ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • กิตติพร กลิ่นขจร โรงพยาบาลกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

แผลในกระเพาะอาหาร, กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นทะลุ, ผ่าตัดผ่านกล้อง

บทคัดย่อ

          ปัจจุบันการผ่าตัดผ่านกล้องเป็นที่ยอมรับและได้ผลดีกว่าผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง เนื่องจากปวดแผลผ่าตัดน้อยกว่า ลดวันนอนโรงพยาบาล ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็ว การศึกษาแบบย้อนหลัง เชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการผ่าตัดเย็บซ่อมรูรั่วผ่านกล้อง เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นทะลุที่ได้รับการผ่าตัดผ่านกล้อง โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ เดือนมกราคม 2564 ถึงธันวาคม 2566 จำนวน 20 ราย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบบันทึกผลลัพธ์ของการผ่าตัด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน และพิสัยควอไทล์ ผลการศึกษาพบว่า ระยะเวลาผ่าตัดเฉลี่ย 81.00 ± 21.92 นาที ผ่าตัดแบบ 3 ports ร้อยละ 90 การปนเปื้อนในช่องท้องอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 55 มัธยฐานปริมาณเลือดที่เสียไปขณะผ่าตัดเท่ากับ 10 ml. (Q1-Q3 : 5.5-10) ไม่พบการผ่าตัดซ้ำ พบผู้ป่วยเกิดปอดอักเสบหลังผ่าตัดและปฏิเสธการรักษา 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 5 ใช้เครื่องช่วยหายใจหลังผ่าตัด และพักรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต 2 รายคิดเป็นร้อยละ 10 ซึ่ง 1 รายเป็นรายเดียวกันกับผู้ป่วยที่เกิดปอดอักเสบและปฏิเสธการรักษา ค่ามัธยฐานระยะเวลาที่รับรักษาในโรงพยาบาล 6 วัน (Q1-Q3 : 5.5-7) สถานะเมื่อจำหน่ายเป็นปกติร้อยละ 95 ผลการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้นหลังผ่าตัด 8 สัปดาห์ พบแผลเรื้อรังหายช้าร้อยละ 40 และติดเชื้อ H. Pylori ร้อยละ 55 การเย็บซ่อมรูรั่วในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้นทะลุ ผ่านกล้องเป็นวิธีที่ปลอดภัย สามารถดำเนินการได้ในโรงพยาบาลที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและมีเครื่องมือพร้อม

References

Ramakrishnan K, Salinas RC. Peptic ulcer disease. AmFam Physician 2007; 76:1005-12.

Zelickson MS, Bronder CM, Johnson BL, et al. Helicobacter pylori is not the predominant etiology for peptic ulcers requiring operation. Am Surg 2011; 77:105.

Walsh JH, Peterson WL. The treatment of Helicobacter pylori infection in the management of peptic ulcer disease. N Engl J Med 1995; 333:984-91.

Childs S, Roberts A, Meineche-Schmidt V, de Wit N, Rubin G. The management of Helicobacter pylori infection in primary care: a systematic review of the literature. Fam Pract 2000; 17 Suppl 2:6-11.

McQuaid KR, Isenberg JI. Medical therapy of peptic ulcer disease. Surg Clin North Am 1992; 72:285-316.

Chung KT, Shelat VG. Perforated peptic ulcer an update. World J Gastro-intest Surg 2017:9:1.

Bertleff MJ, Lange JF. Laparoscopic correction of perforated peptic ulcer: first choice? A review of literature. Surg Endosc 2010; 24:1231-9.

Lau JY, Sung J, Hill C, et al. Systematic review of the epidemiology of complicated peptic ulcer disease: incidence, recurrence, risk factors and mortality. Digestion 2011; 84:102-13.

Bas G, Eryilmaz R, Okan I, et al. Risk Factors of Morbidity and Mortality in Patients with Perforated Peptic Ulcer. Acta Chir Belg 2008; 108:42.

Kim HC, Yang DM, Kim SW, et al. Gastrointestinal tract perforation: evaluation of MDCT according to perforation site and elapsed time. Eur Radiol 2014;24.

Ramakrishnan K, Salinas RC. Peptic ulcer disease. AmFam Physician 2007; 76:1005-12.

Siu WT, Leong HT, Law BK, Chau CH, Li AC, FungKH. Laparoscopic repair for perforated peptic ulcer: a randomized controlled trial. Ann Surg 2002; 235:313-9.

Søreide K, Thorsen K, Harrison EM, et al. Perforated peptic ulcer. Lancet 2015; 386:12.

Ng EK, Lam YH, Sung JJ, Yung MY, To KF, Chan AC. Eradication of Helicobacter pylori prevents re-currence of ulcer after simple closure of duodenal ulcer perforation: randomized controlled trial. Ann Surg 2000; 231:153-8.

Bucher P, Oulhaci W, Morel P, Ris F, Huber O. Results of conservative treatment for perforated gastroduodenal ulcers in patients not eligible for surgical repair. Swiss Med Wkly 2007; 137:337-40.

Dent TL. Training, credentialing, and evaluation in laparoscopic surgery. Surg Clin North Am 1992; 72:1003-11.

Soper NJ, Brunt LM, Kerbl K. Laparoscopic general surgery. N Engl J Med 1994; 330:409-19.

Mouret P, François Y, Vignal J, et al. Laparoscopic treatment of perforated peptic ulcer. Br J Surg 1990; 77:1006.

Lee FY, Leung KL, Lai BS, et al. Predicting mortality and morbidity of patients operated on for perforated peptic ulcers. Arch Surg 2001; 136:90-4.

Kitridis, D., Tsikopoulos, K., Givissis, P & Chalidis, B. Mortality and complication rates in nonagenarians and octogenarians undergoing total hip and knee arthroplasty: a systematic review and meta-analysis. Eur Geriatr Med. 2023; 13(3):725-733. doi: 10.1007/s41999-022-00610-y

มลฤดี มาลา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในระบบหัวใจและหลอดเลือดระหว่างให้ยาระงับความรู้สึกในผู้ป่วยสูงอายุ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2558; 2(3); 92-102.

Huang Y, Wang QL, Cheng DD, et al. Adhesion and Invasion of Gastric Mucosa Epithelial Cells by Helicobacter pylori. Front Cell Infect Microbiol 2016;6:159

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-21