ความรอบรู้เพศวิถีศึกษา ทักษะชีวิต และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • ธนปนันท์ อัครวีรวัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • ทัศพร ชูศักดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • พรรณี บัญชรหัตถกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
  • สุทิน ชนะบุญ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความรอบรู้เพศวิถีศึกษา, ทักษะชีวิต, พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความรอบรู้เพศวิถีศึกษาของนักเรียน 2) ระดับทักษะชีวิตของนักเรียน และ 3) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 392 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลเดือนกันยายน 2566 ด้วยแบบสอบถาม 4 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลทั่วไป 2) ความรอบรู้เพศวิถีศึกษา 3) ทักษะชีวิต 4) พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น ส่วนที่ 2)=0.95 3)=0.96 4)=0.96 และมีค่าดัชนีความสอดคล้อง ตั้งแต่ 0.80-1.00 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยโลจิสติก ผลการวิจัยพบว่า ระดับความรอบรู้เพศวิถีศึกษาของนักเรียนภาพรวมอยู่ในระดับพอใช้ (x̄ =2.80±0.41) ระดับทักษะชีวิตของนักเรียนภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ =3.53±0.57) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) ได้แก่ การพักอาศัย ความเพียงพอของค่าใช้จ่าย ความรอบรู้เพศวิถีศึกษาด้านการเข้าถึง ด้านการตัดสินใจ ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ด้านการบอกต่อ ทักษะชีวิตด้านการเข้าใจผู้อื่น ด้านการจัดการกับความเครียด โรงเรียนและหน่วยงานด้านการสาธารณสุข ควรเร่งส่งเสริมการเรียนรู้ด้านเพศวิถีศึกษา และการพัฒนาทักษะชีวิต ตั้งแต่เด็กก่อนเข้าสู่วัยรุ่น เพื่อให้วัยรุ่นมีความรอบรู้ด้านเพศวิถีศึกษา และมีทักษะชีวิต ที่จะส่งผลต่อพฤติกรรมทางเพศที่ถูกต้องเหมาะสม และสามารถจัดการรับมือกับปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุนระดับชาติ พ.ศ.2560-2569 พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไข ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: เทพเพ็ญวานิสย์; 2560.

World Health Organization. Adolescent pregnancy. [อินเทอร์เน็ต]. 2022 [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/adolescent- pregnancy.

องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ, ยูเนสโก สำนักงานกรุงเทพมหานคร, สำนักเลขาธิการโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ, กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ, องค์การทุนเพื่อเด็ก แห่งสหประชาชาติ, องค์การเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มพลังของผู้หญิงแห่ง สหประชาชาติ, และคณะ. แนวปฏิบัติสากลทางวิชาการเรื่อง เพศวิถีศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ยูเนสโก; 2561.

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2565. นนทบุรี: สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์; 2566

พิมพวัลย์ บุญมลคง และคณะ. รายงานผลการศึกษาการวิจัยเพื่อทบทวนการสอนเพศวิถีศึกษาในสถานศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: องค์การยูนิเซฟ; 2559

ละมัย มั่งคง, วัชรากร เรียบร้อย, วรุฒ โยธา, และภัทรพงศ์ ชูเศษ. คู่มือการเรียนการสอน เรื่อง เพศศึกษาและทักษะชีวิตในนักเรียนแบบบูรณาการ. กรุงเทพมหานคร: แก้วเจ้าจอม; 2558

ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานดิ์ และสุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์. ทักษะชีวิต. กรุงเทพมหานคร:สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ (สสส.); 2553

สุรศักดิ์ อิ่มเอี่ยม. การเปรียบเทียบทักษะชีวิตของนักศึกษาอาชีวศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออกระหว่างเพศและรูปแบบการเรียนรู้. วารสารวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา. 2562; 17(1):191-203.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. ประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรสำหรัยสตรีไทยวัยรุ่น อายุ 15-21 ปี. นนทบุรี: กองสุขศึกษา; 2557.

Best, J. Research in Education Prentice-Hall Inc. Englewood Cliffs; 1977

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ เข้าถึง เข้าใจ และการนำไปใช้.กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์ ; 2561.

วชิระ เพ็งจันทร์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ. เอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาศักยภาพบุคลากรกรมอนามัย เรื่อง ความรอบรู้สุขภาพ มุ่งสู่ประเทศไทย. นนทบุรี: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนการบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

จรีลักษณ์ รัตนาพันธ์. เพศวิถีศึกษา: ผลกระทบต่อสถาบันทางสังคม. วารสารการเรียนรู้ทางไกลเชิงวัฒนธรรม ;2563: 24-31.

ยุวดี งอมสงัด, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์ และพรนภา หอมสินธุ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในนักเรียนวัยรุ่นหญิง จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา 2562; 14: 37-51.

พีระดา มานพพิรุฬห์ เพชรประภัสสร เปรมบำรุง วรรณวิสา สีนามโหน่ง สุภาวดี พันธุมาศ พิศมัย นาทัน และประเสริฐ ประสมรักษ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม เสี่ยงทางเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 อำเภอ เมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น 2563; 12: 77- 90.

Sarder, A., Islam, S. M. S., Talukder, A., & Ahammed, B. Prevalence of unintended pregnancy and its associated factors: Evidence from six south Asian countries. PLoS One. ;2021

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-22