การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงใหญ่ ในช่องท้องโป่งพองที่ได้รับการผ่าตัดด้วยวิธีการสอดใส่หลอดเลือดเทียมชนิดขดลวดหุ้มกราฟต์ผ่านทางสายสวน

ผู้แต่ง

  • อัจฉราวรรณ นาเมืองจันทร์ โรงพยาบาลขอนแก่น
  • วาสนา รวยสูงเนิน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ศศิอมราช์ ส่งเสริมธเนศ โรงพยาบาลขอนแก่น
  • นงลักษณ์ ชัยเสนา โรงพยาบาลขอนแก่น
  • สุภาพรณ์ ตัณฑ์สุระ โรงพยาบาลขอนแก่น
  • ณัฐปภัสร์ โคตรหลักคำ โรงพยาบาลขอนแก่น
  • วินิจตรา อัตชู โรงพยาบาลขอนแก่น
  • ชัยวัฒน์ ไชยกาศ โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการพยาบาล, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพอง, ผ่าตัดสอดใส่หลอดเลือดเทียมชนิดขดลวดหุ้มกราฟต์ผ่านทางสายสวน

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์แนวปฏิบัติการพยาบาล (CNPG) ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพอง(AAA) ที่ได้รับการผ่าตัดด้วยวิธีการสอดใส่หลอดเลือดเทียมชนิดขดลวดหุ้มกราฟต์ผ่านทางสายสวน (EVAR) ดำเนินการ 2 ระยะ ได้แก่ 1) พัฒนา CNPG โดยใช้ Soukup model 2) ศึกษาผลการใช้ CNPG กลุ่มตัวอย่าง 1) พยาบาลวิชาชีพ 35 คน และ 2) ผู้ป่วย AAA ผ่าตัด EVAR 25 คน ศึกษาที่โรงพยาบาลขอนแก่น ช่วง 15 ก.ย. 2566 ถึง 31 พ.ค. 2567 เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) CNPG 2) แบบประเมินผลลัพธ์การพยาบาล 3) แบบประเมินความมีวินัยการปฏิบัติตาม CNPG 4) แบบสอบถามความพึงพอใจพยาบาล และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัย 1) CNPG ประกอบด้วย การเตรียมความพร้อมของหอผู้ป่วยหนักในการรับผู้ป่วย การพยาบาลระยะวิกฤตหลังผ่าตัด การพยาบาลเพื่อวางแผนจำหน่ายจากหอผู้ป่วยระยะวิกฤต การพยาบาลเพื่อฟื้นฟูสภาพในระยะวิกฤตหลังผ่าตัด 2) นวัตกรรมรับส่งข้อมูลผู้ป่วย และ EWS AAA KKH และ 3) ผลการใช้ CNPG พบว่า พยาบาลพึงพอใจต่อCNPG ระดับมากที่สุด (M=90.40, SD=11.60) ผู้ป่วยพึงพอใจต่อบริการพยาบาลระดับมากที่สุด (M=4.60, SD=0.70) พยาบาลมีวินัยในการปฏิบัติตาม CNPG ร้อยละ 98.32 กลุ่มใช้ CNPG พบอุบัติการณ์การเตรียมรับผู้ป่วยไม่พร้อม ภาวะแทรกซ้อนการดักจับและรายงานแพทย์ล่าช้า คะแนนความปวดมากกว่า 4 ใน 24 ชม.หลังผ่าตัด และการกลับเข้ารักษาซ้ำใน ICU ภายใน 72 ชม. น้อยกว่ากลุ่มไม่ใช้ CNPG และถอดท่อช่วยหายใจสำเร็จ ใน 48 ชม.แรกหลังผ่าตัดสำเร็จสูงกว่ากลุ่มไม่ใช้ CNPG ควรนำแนวปฏิบัติฯ นี้ไปใช้ต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี

References

Cronenwett J.L., Johnston K.W. Rutherford's Vascular Surgery. 8th ed. Philadelphia: Elsevier Saunders; 2014.

ศุภโชค มาศปกรณ์. การศึกษาเปรียบเทียบผลการรักษาโรคหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพอง ระหว่างวิธีสวนหลอดเลือดกับวิธีผ่าตัดเปิดช่องท้องของโรงพยาบาลเชียงคนประชานุเคราะห์ในช่วงริเริ่ม.เชียงคนเวชสาร. 2563;12(2):16-31.

กิตติญาภรณ์ พันวิไล, อรนุช อุทัยกุล, ธมลวรรณ ยอดกลกิจ และวุฒิชัย แสงประกาย. การพัฒนา และผลการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงใหญ่ ในช่องท้องโป่งพองที่ได้รับการผ่าตัดด้วยวิธีการสอดใส่หลอดเลือดเทียม ชนิดขดลวดหุ้มกราฟต์ผ่านทางสายสวน (EVAR).วชิรสารการพยาบาล.2563, 22(2),58-70.

Kohlman-Trigoboff D, Rich K, Foley A, Fitzgerald K, Arizmendi D, Robinson C, Brown R, Treat-Jacobson D; Society for Vascular Nursing Practice and Research Committee. Society for Vascular Nursing endovascular repair of abdominal aortic aneurysm updated nursing clinical practice guideline. J Vasc Nurs. 2020 Jun;38(2):36-65.

กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลขอนแก่น. สถิติและตัวชี้วัดประจำปีกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลขอนแก่นปีงบประมาณ 2563 – 2565. โรงพยาบาลขอนแก่น; 2566.

De Paulis S, Arlotta G, Calabrese M, Corsi F, Taccheri T, Antoniucci ME, Martinelli L, Bevilacqua F, Tinelli G, Cavaliere F. Postoperative Intensive Care Management of Aortic Repair. J Pers Med. 2022 Aug 22;12(8):1351.

วรรลดา วงศ์วัฒนฤกษ์ และคณะ. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องโป่งพอง ที่มารับการผ่าตัดด้วยวิธีสอดใส่หลอดเลือดเทียมชนิดขดลวดหุ้มกราฟต์ผ่านทางหลอดเลือด. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2564. 38(1), 25-34.

Chaikof EL, Dalman RL, Eskandari MK, Jackson BM, Lee WA, Mansour MA, Mastracci TM, Mell M, Murad MH, Nguyen LL, Oderich GS, Patel MS, Schermerhorn ML, Starnes BW. The Society for Vascular Surgery practice guidelines on the care of patients with an abdominal aortic aneurysm. J Vasc Surg. 2018 Jan;67(1):2-77.e2.

Kohlman-Trigoboff D, Rich K, Foley A, Fitzgerald K, Arizmendi D, Robinson C, Brown R, Treat-Jacobson D; Society for Vascular Nursing Practice and Research Committee. Society for Vascular Nursing endovascular repair of abdominal aortic aneurysm updated nursing clinical practice guideline. J Vasc Nurs. 2020 Jun;38(2):36-65.

Soukup SM. The Center for Advanced Nursing Practice evidence-based practice model: promoting the scholarship of practice. Nurs Clin North Am. 2000 Jun;35(2):301-9.

Jounna Briggs Institute. JBI levels of evidence. [Internet] 2022 |cited 2022 Jan 18]. Available from: https://shorturl.asia/styXT

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: บริษัทสุวีริยาสาส์น จำกัด; 2557.

Kemmis S, McTaggart R. Participatory action research;Communicative action and the public sphere. In N.K. Denzin & Y. S. Lincoln (Eds.), The Sage handbook of qualitative research; 2005;559-603.16.

Charoenyuth, S., Sriussadaporn, S., Sriussadaporn, S., & Wasinwong, W. (2021). Factors related to the quality of patient handover between operating room nurses and post anesthesia care unit nurses. Nursing Science Journal of Thailand. 2021;39(2):55-66.

บังอร ศรีสงคราม และคณะ. ผลการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับรุนแรงที่ได้รับการผ่าตัดแบบเร่งด่วน. วารสารสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดขอนแก่น. 2567; 6(1), e267350.

สุกันยา เนาวบุตร. ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะในงานผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชอุตรดิตถ์. 2561; ฉบับพิเศษ(สิงหาคม-ตุลาคม), 97-101.

พินิตนันท์ หนูชัยปลอด, วงจันทร์ เพชรพิเชฐเชียร และหทัยรัตน์ แสงจันทร์. การพัฒนาแบบประเมินผลแนวปฏิบัติในการจัดการความปวดจากแผลอุบัติเหตุ ณ งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน. พยาบาลสาร. 2557;41:88-98.

เสาวลักษณ์ ภูนวกุล, นพรัตน์ เรืองศรี, อรพรรณ มันตะรักษ์ และจารุภา คงรส. การพัฒนาแนว ปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับผู้ป่วยบาดเจ็บทางสมองที่ได้รับการ ผ่าตัดสมอง โรงพยาบาลพิจิตร. วารสารกรมการแพทย์. 2560; 42(6): 102-107.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30