การประเมินกระบวนการจัดระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ แบบบูรณาการโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง: กรณีศึกษาผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี
คำสำคัญ:
ระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ, ระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิแบบบูรณาการ, ประชาชนเป็นศูนย์กลาง, โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง, คลินิกหมอครอบครัวบทคัดย่อ
การวิจัยแบบผสานวิธีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินกระบวนการจัดระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ การรับรู้และความพึงพอใจของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงต่อบริการสุขภาพปฐมภูมิแบบบูรณาการ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2563 จากบุคลากรคลินิกหมอครอบครัว (Primary Care Cluster; PCC) จำนวน 60 คน และผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases; NCD) ได้แก่ผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูง จำนวน 200 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิและสุ่มแบบอย่างง่าย ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติ Independent t-test กำหนดระดับนัยสำคัญ ที่ 0.05 สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า PCC ในโครงการวิจัย มีคุณภาพในกระบวนการจัดบริการและระบบสนับสนุนขององค์กรในการจัดบริการโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง อยู่ในระดับดีและมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่า PCC นอกโครงการวิจัยทุกด้าน และผู้ป่วย NCD ในโครงการวิจัย มีการรับรู้เกี่ยวกับหมอครอบครัวสูงกว่า โดยทราบเรื่องหมอครอบครัว ทราบชื่อแพทย์ประจำครอบครัว และทราบชื่อเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหมอครอบครัว (ร้อยละ 92.00, 97.00 และ 98.00 ตามลำดับ) เมื่อเปรียบเทียบกับนอกโครงการ (ร้อยละ 52.00, 38.00 และ 43.00 ตามลำดับ) และมีผลลัพธ์การดูแลโรคเรื้อรังดีกว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้านเป้าหมายการรักษา การปฏิบัติตน ผลการรักษา และความพึงพอใจ (p-value < 0.05) ข้อมูลเชิงคุณภาพสะท้อนถึงความสำคัญของการสื่อสาร การมีส่วนร่วมของผู้ป่วย และการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาระบบบริการ ดังนั้น ควรพัฒนาระบบสนับสนุนการบริหารจัดการตนเอง ของผู้ป่วย NCD และเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนการดูแลรายบุคคลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลสุขภาพปฐมภูมิ
References
WHO. WHO Global Strategy on people-centred and Integrated health services. Geneva, Switzerland. [Internet]. 2015 [cited 2023 May 19]; Available from: who-global-strategy-on-pcihs-main-document_final.pdf
WHO. Primary health care: A framework for future strategic directions. Geneva: World Health Organization; 2003.
Bodenheimer T, Lorig K, Holman H, Grumbach K. Patient self-management of chronic disease in primary care. Journal of the American Medical Association. 2002; 288(19):2469-75.
สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์, ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล, วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย, สันติ ลาภเบญจกุล, ดวงดาว ศรียากูล. รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยดำเนินการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ แบบบูรณาการและยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. 2563.
WHO. Integrated people-centred health services: An overview of the evidence. Geneva, Switzerland. [Internet]. 2020 [cited 2023 May 19]; Available from: https://www.who.int/servicedeliverysafety/areas/people-centred-care/en/
Wagner EH, Austin BT, Davis C, Hindmarsh M, Schaefer J, Bonomi A. Improving chronic illness care: Translating evidence into action. Health Affairs. 2001; 20(6): 64-78.
Daniel WW. Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences. 6th ed. New York: John Wiley & Sons, Inc.; 1995. p. 177-178.
พิทยา ศรีเมือง, ฐิติกานต์ เอกทัตร์, จรียา ยมศรีเคน, วรรณศรี แววงาม. การประเมินรูปแบบการจัดบริการปฐมภูมิสำหรับผู้ป่วย โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2564; 15(2): 136-154.
Bonomi AE, Wagner EH, Glasgow RE, VonKorff M. Assessment of chronic illness care (ACIC): A practical tool to measure quality improvement. Health Services Research. 2002; 37(3):791-820.
วงศา เล้าหศิริวงศ์. การประเมินคุณภาพบทความวิจัยด้านสาธารณสุขและการพัฒนาโครงร่างวิจัย. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2560.
Tavakol M, Dennick R. Making sense of cronbach's alpha. International Journal of Medical Education. 2011; 2(1):53-55.
Loewenson R, Simpson S. Strengthening integrated care through population-focused primary care services: International experiences outside the United States. Annual Review of Public Health.2017; 38(1): 413-429.
Starfield B, Shi L, Macinko J. Contribution of primary care to health systems and health. The Milbank Quarterly. 2005; 83(3):457-502.
Bodenheimer T, Ghorob A, Willard-Grace R, Grumbach K. The 10 building blocks of high-performing primary care. Annals of Family Medicine. 2014; 12(2):166-171.
Bodenheimer T, Wagner EH, Grumbach K. Improving primary care for patients with chronic illness: The chronic care model, part 2. Journal of the American Medical Association. 2002; 288(15):1909-1914.
Shi L, Starfield B, Xu J, Politzer R, Regan J. Primary care quality: community health center and health maintenance organization. Southern Medical Journal. 2003; 96(8):787-795.
Kringos DS, Boerma WG, Hutchinson A, Vanderzee J, Groenewegen PP. The breadth of primary care: a systematic literature review of its core dimensions. BMC Health Services Research. 2010; 10(65):1-13.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว