ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ในเขตบริการสุขภาพที่ 7
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิตการทำงาน, พยาบาลวิชาชีพ, การเสริมสร้างสุขภาวะในองค์กรบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลระดับ ตติยภูมิ ในเขตบริการสุขภาพที่ 7 จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลขอนแก่นและโรงพยาบาลร้อยเอ็ด จำนวน 270 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ จากพยาบาลวิชาชีพทั้งหมด 2,002 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ค่าความตรง เชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.94 ความเที่ยงของแบบสอบถามการเสริมสร้างสุขภาวะในองค์กร และแบบสอบถามคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาร์ค ได้ค่าเท่ากับ 0.98 และ 0.97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า 1) คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ในเขตบริการสุขภาพที่ 7 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x ̅=3.49, S.D.=.72) 2) ปัจจัยด้าน การเสริมสร้างสุขภาวะในองค์กร ที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ในเขตบริการสุขภาพที่ 7 ได้แก่ มิติการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (r=.768) มิติสภาพแวดล้อมและบรรยากาศการเสริมสร้างสุขภาวะ (r=.739) มิติสุขภาพกายและสุขภาพใจ (r=.713) และมิติผลลัพธ์องค์กร (r=.705) มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 ส่วนมิติกระบวนการดำเนินงานเสริมสร้างสุขภาวะในองค์กร มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง (r=.699) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ตัวแปรที่สามารถร่วมกันพยากรณ์คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ในเขตบริการสุขภาพที่ 7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ การเสริมสร้างสุขภาวะในองค์กร ในด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ด้านผลลัพธ์องค์กร และด้านสุขภาพกายและสุขภาพใจ โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์ ได้ร้อยละ 67.9
References
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนกลยุทธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (Strategic Planning) สำหรับองค์กรด้านสุขภาพ. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข: 2566
Swamy DR, Nanjundeswaraswamy D, Srinivasaiah R. Quality of Work Life: Scale Development and Validation. International Journal of Caring Sciences. 2015; 8(2): 281-300.
Nanjundes TS. Nurses quality of work life: Scale development and validation. Journal of Economic and Administrative Sciences. 2022; 38(2): 371-394.
ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต, เฉลิมพล แจ่มจันทร์, กาญจนา ตั้งชลทิพย์, จรัมพร โห้ลำยอง. คุณภาพชีวิตการทำงาน และความสุข. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธรรมดาเพรส; 2555
ปิยะ คลังแสง. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสมดุลชีวิตกับการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชนเขตบริการสุขภาพที่ 9 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2561.
ศุภลักษณ์ ทองขาว, โกวิทย์ กังสนันท์. คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลราชวิถี. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล. 2563; 36(1): 225-237.
สุนิภา ชินวุฒิ, กฤษณา อุไรศรีพงศ์, จุฑามาศ วงจันทร์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาล: ทำการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2564; 30(3): 90-103.
จิดาภา ดวงทิพย์, ภาสกร เตวิชพงศ์. ปัจจัยพยากรณ์ความผาสุกทางจิตใจของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติทางจิตวิทยาประจำปี 2562: TNCP 2019 “จิตวิทยากับพลวัตสังคมโลก”. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2562.
ขวัญเมือง แก้วดำเกิง, คณะ. การพัฒนาดัชนีองค์กรสุขภาวะ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2554; 5(2): 8-19.
ดวงเนตร ธรรมกุล. การสร้างสุขภาวะในองค์กร. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2555; 6(1): 1-10.
ประไพ ศรีแก้ว. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพแผนก อายุรกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการแพทย์เขต11. 2557; 8(1): 101-111.
Farhadi A, Bagherzadeh R, Moradi A, Nemati R, Sadeghmoghadam L. The relationship between professional self-concept and work-related quality of life of nurses working in the wards of patients with COVID-19. BMC Nursing. 2021; 20(75): 2-8.
Thorndike RM. Correlation procedures for research. New York: Gardner Press; 1978.
Polit D, Hungler B. Nursing Research: Principle and Method. Philadelphia: Lippincott Company; 2013.
ปราโมทย์ ถ่างกระโทก, วินัย ไตรนาทถวัลย์, เอกกมล ไชยโม, ภราดร ยิ่งยวด. อิทธิพลของสมดุลชีวิตกับการทำงานและความพึงพอใจในงานต่อคุณภาพชีวิตของพยาบาลวิชาชีพไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2564; 30(2): 344-352.
กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. บทบาทหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สื่อตะวัน; 2561
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว