รูปแบบการนิเทศทางคลินิกในการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุ กระดูกสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัด โรงพยาบาลอุทัยธานี

ผู้แต่ง

  • อัญชลี ตรุณาวงษานนท์ โรงพยาบาลอุทัยธานี
  • จินดา ผุดผ่อง โรงพยาบาลอุทัยธานี
  • สายันต์ โฆษิตาภา โรงพยาบาลอุทัยธานี
  • ปริญดา ศรีธราพิพัฒน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การนิเทศทางคลินิก, การพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุกระดูกสะโพกหัก ที่ได้รับการผ่าตัด

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกและประสิทธิผลของรูปแบบที่พัฒนา โดยทำการศึกษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกและหอผู้ป่วยพิเศษ โรงพยาบาลอุทัยธานี ระหว่างวันที่ 2 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 กลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง มีจำนวน 2 กลุ่ม คือ 1) พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 22 คน และ 2) ผู้ป่วยสูงอายุกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัด จำนวน 36 คน การศึกษาวิจัย มี 3 ระยะ ประกอบด้วย 1) การศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาการนิเทศทางคลินิก 2) พัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิก และ 3) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการนิเทศ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินทัศนคติด้านการนิเทศ แบบประเมินสมรรถนะของผู้นิเทศ แบบประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบ และแบบบันทึกผลลัพธ์คุณภาพการพยาบาล การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบทีชนิดสัมพันธ์กัน (Dependent t-test) ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการนิเทศทางคลินิกที่พัฒนาขึ้นตามแนวคิดของพรอคเตอร์ (Proctor) ประกอบด้วย การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพของผู้นิเทศ คู่มือการใช้รูปแบบ แผนการดำเนินการ และการติดตามการประเมินผลคุณภาพการนิเทศทางคลินิกและการพยาบาล หลังการใช้รูปแบบการนิเทศทางคลินิกพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ระดับคะแนนสมรรถนะผู้รับการนิเทศทางคลินิกอยู่ในระดับมาก (X ̅ = 3.08, S.D.= 0.29), แต่คะแนนทัศนคติต่อรูปแบบการนิเทศไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05 เห็นได้ว่า รูปแบบการนิเทศทางคลินิกที่พัฒนาขึ้นช่วยพัฒนาผลลัพธ์ด้านคุณภาพการปฏิบัติการพยาบาล ลดจำนวนวันนอนโรงพยาบาล ค่าใช้จ่าย อัตราการเสียชีวิต และลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด

References

Cheng SY, Levy A-R, Lefaivre KA, Guy P, Kuramoto L, Sobolev B. Geographic trends in incidence of hip fractures: A comprehensive literature review. Osteoporosis International. 2011; 22(10): 2575-2586.

Daraphongsataporn N, Saloa S, Sriruanthong K, Philawuth N, Waiwattana K., Chonyuen P,

et al. One-year mortality rate after fragility hip fractures and associated Risk in Nan, Thailand. Osteoporosis and Sarcopenia. 2020; 6(2): 65-70.

Sucharitpongpan W, Daraphongsataporn N, Saloa S, Philawuth N, Chonyuen P, Sriruanthong K, et al.

Epidemiology of fragility hip fractures in Nan, Thailand. Osteoporos Sarcopenia. 2019; 5(1): 19-22.

โรงพยาบาลอุทัยธานี. รายงานข้อมูลสถิติผู้ป่วย โรงพยาบาลอุทัยธานี ปี 2564–2566. อุทัยธานี: โรงพยาบาลอุทัยธานี; 2566.

Poh KS, Lingaraj K. Complications and their risk factors following hip fracture surgery. J Orthop Surg (Hong Kong). 2013; 21(2): 154–57.

พรธิดา ชื่นบาน, ธนาวรรณ เเสนปัญญา, ทิพากร กระเสาร์. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัดผ่านช่องทางด่วน โรงพยาบาลแพร่. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2564; 31(3): 70-84.

Proctor B. Training for the supervision alliance attitude, skills, and Intention. In Cutcliffe JR. Butterworth T. and Proctor B. (Eds). Fundamental themes in clinical supervision. London: Routledge; 2001.

รัชนีวรรณ คูตระกูล, พิชญพันธุ์ จันทระ, พัชรี ยิ้มแย้ม, สุรีย์พร กุมภาคา, รัชนี นามจันทรา. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกการพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดชนิดรุนแรง. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2562; 30(2): 193-209.

ลดารัตน์ วณิชยานันต์, พาณี วิรัชชกุล, สุภัทรา สิงหสุรศักดิ์, และนิศมา ภุชคนิตย์. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตชนิดรุนแรงโรงพยาบาลอุทัยธานี. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2565; 12(3): 576-597.

สุพัตรา สงฆรักษ์. ผลของโปรแกรมการนิเทศทางคลินิก สำหรับผู้บริหารการพยาบาล ระดับต้นที่โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนี่ง ในจังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการพยาบาล), บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน. 2560.

แสงมะลิ พลเวียง. พัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลแบบมีส่วนร่วม โรงพยาบาลโซ่พิสัย จังหวัด บึงกาฬ. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ. [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 29 กันยายน 2566]; เข้าถึงจาก

https://bkpho.moph.go.th/ssjweb/bkresearch/require/files/post-oc/20240403154403.pdf.

รังสิยา ไผ่เจริญ. ผลของการนิเทศทางคลินิกตามแนวคิดของพรอคเตอร์ต่อความรู้ความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อการหย่าเครื่องช่วยหายใจและความพึงพอใจในการนิเทศของพยาบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. (การจัดการการพยาบาล), บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต. 2555.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-29