ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการของงานบริหารทรัพยากรบุคคลกับความพึงพอใจของบุคลากรโรงพยาบาลกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจ, งานบริหารทรัพยากรบุคคล, การบริหารจัดการบทคัดย่อ
งานวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้เพื่อศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ที่มีต่อการบริหารจัดการของงานบริหารทรัพยากรบุคคล และความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการของงานบริหารทรัพยากรบุคคลโรงพยาบาลกาฬสินธุ์กับความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการของงานบริหารทรัพยากรบุคคลของบุคลากรโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ประชากร คือ บุคลากรของโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จำนวน 1,869 คน กลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 327 คน เลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แบบสอบถามส่วนบุคคล แบบวัดการบริหารจัดการของงานบริหารทรัพยากรบุคคลโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ และแบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการบริหารจัดการของงานบริหารทรัพยากรบุคคล ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน หาค่าความเที่ยงด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) ได้เท่ากับ 0.75 และ 0.82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Correlation) ผลการวิจัย พบว่า การบริหารจัดการของงานบริหารทรัพยากรบุคคลโรงพยาบาลกาฬสินธุ์โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (= 4.50, S.D. = 0.29) ด้านการใช้ทรัพยากรบุคคล มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด ในระดับมากที่สุด (= 4.50, S.D. = 0.29) ความพึงพอใจในการรับบริการต่องานบริหารทรัพยากรบุคคลโรงพยาบาลกาฬสินธุ์โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (= 4.49, S.D. = 0.34)ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการโดยรวมกับความพึงพอใจอยู่ในระดับสูง (r = 0.89, p < .01) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยที่ได้สามารถนำไปวางแผนยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ใหม่ๆ ที่เป็นนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ ในงานพัฒนาทรัพยากรบุคคลของโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ รวมทั้งส่งเสริมการฝึกอบรมและพัฒนาที่มีความทันสมัย
References
วิภาลักษณ์ ดุจแสงทอง. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรในสำนักการสาธารณสุขเทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 20 ตค.2567] เข้าถึงได้จาก: https://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17545.
Aday LN, Andersen R. Theoretical and Methodological Issues in Sociological Studies of Consumer Satisfaction with Medical Care. Social Science and Medicine; 1978, 12: 28.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. กฎกระทรวงการแบ่งส่วนราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2560. [เข้าถึงเมื่อ 15 สค.2567] เข้าถึงได้จาก:https://dhes.moph.go.th/wpcontent/uploads/2018/12/%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87.pdf
โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. รายงานประจำปี 2566. [เข้าถึงเมื่อ 15 สค.2567] เข้าถึงได้จาก: https://anyflip.com/afjkg/jiqa/
Kotler P. Marketing management: analysis, planning, implementation&control 8th ed. Englewood Cliffs NJ: Prentice-Hall; 1994.
Parasuraman A., Zeithaml VA., BerryLL, Delivering quality service: Balancing customer perception and
expectation. London: The Free Press;1990.
กลุ่มทรัพยากรบุคคล สำนักงานเลขานุการกรม สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.แผนปฏิบัติการเสริมสร้างความผูกพันของบุคลากรสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567.
Burn N.& Grove SK. The practice of nursing research: conduct, critique,and Utilization. 5th ed St. Louis :Elsevier Saunders; 2005.
Krejcie RV, Morgan DW. Determining Sample Size for Research Activities.Educational and Psychological
Measurement. 1970;30(3), 607–610.
Davis BA, Bush HA. Developing effective measurement tools: A case study of the consumer emergency caresatisfaction scale. JNCQ.1995;9(3)26-35.
Hua HC, Canbam D. Measuring Patient Satisfaction as an Outcome of Nursing Care at a Teaching Hospital of Southern Taiwan. JNCQ. 2003;18(2) 143-150.
Donabedian B. Evaluating the quality of medicine care. Milbank Memorial Fund Quarterly. 1966;44,166-206.
Omachono VK. Quality of care and the patient: New criteria for evaluation. Health Car Management Review. 1990;15 (4) , 3-10.
Clark CA, Pokorney ME, Brown ST. Consumer Satisfaction with nursing care in rural community hospital emergency department. J. Nursing Care Quality. 1990; 10(2),49-57.
Bandura A. Principle of Behavior Modification. New York: Holt Rinchart and Winston; 1989.
Olsen SO. Repurchase loyalty: The role of involvement and satisfaction Psychology and Marketing Intelligence & Planning. 2007;24 (4):315-341.
สุชัญญา ตั้งวันเจริญชัย. วัฒนธรรมองค์กรของคุณตอบโจทย์พนักงานรุ่นใหม่แล้วหรือยัง? [อินเทอร์เน็ต] 2020.[เข้าถึงเมื่อ10 พ.ย.2567] เข้าถึงได้จาก:https://blog.happily.ai/th/key-to-retaining-young-talent/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว