การพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็งกล่องเสียงที่ได้รับการผ่าตัด ใส่ท่อหลอดลมคอ : กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
มะเร็งกล่องเสียง, การพยาบาลแบบองค์รวม, การวางแผนจำหน่าย, การผ่าตัดเจาะคอบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษาผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียงที่ได้รับการผ่าตัดใส่ท่อหลอดลมคอมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลแบบองค์รวมและการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การตรวจร่างกาย การสังเกต และการทบทวนเวชระเบียน ระหว่างวันที่ 7-13 เมษายน 2567 รวมระยะเวลา 7 วัน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยชายไทยอายุ 52 ปี มาด้วยภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจเฉียบพลันจากก้อนมะเร็งที่คอ ได้รับการผ่าตัด Tracheostomy with DL with biopsy under GA ปัญหาทางการพยาบาลที่สำคัญ ได้แก่ ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการผ่าตัด ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด การสื่อสารบกพร่อง และการปรับตัวต่อภาพลักษณ์ที่เปลี่ยนแปลง การพยาบาลมุ่งเน้นการดูแลตามระยะก่อนผ่าตัด หลังผ่าตัด และการวางแผนจำหน่ายโดยใช้หลัก D-METHOD ร่วมกับนวัตกรรมการสอน ผลลัพธ์พบว่าผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน แผลหายดี ผู้ป่วยและญาติสามารถดูแลท่อหลอดลมคอได้ถูกต้อง มีความพึงพอใจต่อการดูแลร้อยละ 95 การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการพยาบาลแบบองค์รวมและการวางแผนจำหน่ายอย่างเป็นระบบ สามารถช่วยให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีความพร้อมในการดูแลตนเองที่บ้าน ลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน และส่งเสริมคุณภาพชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพผลการศึกษานี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียงที่ได้รับการผ่าตัดใส่ท่อหลอดลมคอในสถานพยาบาลอื่น และเป็นแนวทางในการพัฒนางานวิจัยที่มีขนาดกลุ่มตัวอย่างใหญ่ขึ้นในอนาคต เพื่อยืนยันประสิทธิผลของการดูแลและพัฒนาคุณภาพการพยาบาลต่อไป
References
Lauwerends LJ, Galema HA, Hardillo JA, Sewnaik A, Monserez DA, van Driel PBAA, et al. Current intraoperative imaging techniques to improve surgical resection of laryngeal cancer: A systematic review. Cancers. 2021;13(8):1895.
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 12 มี.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nci.go.th/th/cancer_record/cancer_record.html
Suri A, Arora N, Kachru N, Gupta N. A novel method of pre-extubation epinephrine nebulization via suspension microlaryngoscope to prevent post-extubation stridor. Indian Journal of Anesthesia. 2022;66(11):845-7.
กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลชลบุรี. รายงานสถิติผู้ป่วย ประจำปี 2564-2566. ชลบุรี: โรงพยาบาลชลบุรี; 2566.
พวงทอง ไกรพิบูลย์. มะเร็งกล่องเสียง (Laryngeal cancer). [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 22 ม.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://haamor.com
ปารยะ อาศนะเสน. มะเร็งกล่องเสียง: การวินิจฉัยและการรักษา. ใน: สมจินต์ จินดาวิจักษณ์, บรรณาธิการ. ตำราโสต ศอ นาสิกวิทยา. กรุงเทพฯ: โฮลิสติก พับลิชชิ่ง; 2561.
Lorenzo J, Arquillo IML, Rey J, de Sá JME. Fístula tráqueo-innominada: diagnósticoy tratamiento. Angiología. 2021;73(5):235-41.
Duan R, Ding Y, Tian Y, Yang H, Ding Y. Clinical validation of the nursing outcome "Swallowing status: pharyngeal phase" in patients with laryngeal cancer. Int J Nurs Knowl. 2024;35(1):24-32.
Karaca T. Nursing care of the patients with tracheostomy. J New Results Sci. 2015;4(12):88-93.
Wang S, Chen Y, Zeng X, Lin Y. Effect of individualized nutrition intervention care combined with swallowing training on postoperative nutritional status in patients with laryngeal cancer. Open J Nurs. 2023;13(1):23-35.
Gautheret N, Bommier C, Mabrouki A, Souppart V, Bretaud AS, Ghrenassia E, et al. Feasibility and safety of active physiotherapy in the intensive care unit for intubated patients with malignancy. J Rehabil Med. 2022;54:jrm00736.
Mansour MMH, Abdel-Aziz MF, Saafan ME, Al-Afandi HRM, Darweesh MES. Voice, swallowing, and quality of life after management of laryngeal cancer with different treatment modalities. Egypt J Otolaryngol. 2016;32(2):119-35.
Ionescu R, Bertesteanu S, Popescu RC, Balalau C, Scaunasu RV, Popescu B. Standard or individualized quality of life for larynx cancer patients. J Clin Med. 2018;3(2):62-5.
ศรีสุนทรา เจิมวรพิพัฒน์. การพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็งกล่องเสียงที่ได้รับการผ่าตัด. วารสารพยาบาลศาสตร์. 2566;41(3):78-89
นงลักษณ์ จินตนาดิลก. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียงภายหลังการผ่าตัดเอากล่องเสียงออกทั้งหมด. วารสารพยาบาลศาสตร์. 2560;35(4):68-79.
Ritklar L. Results of discharge planning by using D-METHOD on re-admission and satisfaction in patients with coronary artery disease. TUHJ [Internet]. 2018 Dec. 27 [cited 2024 Oct. 30];3(3):19-27. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TUHJ/article/view/240293
Eko, Dian, Hadi, Suprayetno.E D H, Anik, Nuridayanti., Agus, Priyanto. 3. The effectiveness of education and information on the anxiety level of pre-elective surgery patients at hva hospital, pare, kediri. JBS (Jurnal Bina Sehat), (2023). doi: 10.29082/ijnms/2023/vol7/iss2/516
Nalini, Arun., Veena, Nadarajan., Vimal, Pradeep. 4. Effect of Preoperative Education about Spinal Anaesthesia on Anxiety and Postoperative Outcomes in Parturients undergoing Elective Caesarean Section: An Interventional Study. Journal of Clinical and Diagnostic Research, (2024). doi: 10.7860/jcdr/2024/70471.19562
Krishna, Padsala., Harsha, Patel., Rajesh, Nakum., Nalin, P., Sojitra. (2023). 7. Role of detailed information about anaesthesia during PAC to reduce patient's anxiety during the perioperative period. Current Medicine Research and Practice, doi: 10.4103/cmrp.cmrp_148_23
Foster C, Grimmett C, May CM, Ewings S, Myall M, Hulme C, et al. A web-based intervention (RESTORE) to support self-management of cancer-related fatigue following primary cancer treatment: a multi-centre proof of concept randomised controlled trial. Support Care Cancer. 2016;24(6):2445-53.
Seiler A, Klaas V, Tröster G, Fagundes CP. eHealth and mHealth interventions in the treatment of fatigued cancer survivors: A systematic review and meta-analysis. Psychooncology. 2017;26(9):1239-1253.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว