ปัจจัยที่มีผลต่อความฉลาดด้านอารมณ์ เด็กอายุ 3- 5 ปี อำเภอโนนศิลา จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • เสาวลักษณ์ จักรบุตร สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโนนศิลา จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีผลต่อความฉลาดด้านอารมณ์, ความฉลาดด้านอารมณ์, เด็กปฐมวัย, พัฒนาการเด็ก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาพตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ในเด็กอายุ 3-5 ปี ในอำเภอโนนศิลา จังหวัดขอนแก่น ระยะเวลาศึกษา เดือน มิถุนายน - กันยายน 2567 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้ดูแลเด็กและเด็กอายุ 3-5 ปี รวมทั้งหมด 90 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi – Stage Random Sampling) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบประเมินตรวจพัฒนาการเด็ก (Denver II) และแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ สำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ สถานภาพของผู้ดูแล (p-value= 0.017)  รายได้ (p-value= 0.05) โดยเด็กที่มีผู้ดูแลที่มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท มีโอกาสเด็กมีความฉลาดด้านอารมณ์ต่ำ 6.51 เท่าของผู้ดูแลที่มีรายได้สูงกว่า 10,000 บาท (OR =6.51 , 95% CI of OR : 0.79 ถึง 53.0) และภาวะโภชนาการ (p-value= 0.01)  ดังนั้น การสนับสนุนจากครอบครัวที่มีสถานภาพทางเศรษฐานะที่ดีสามารถส่งเสริมการพัฒนาทักษะด้านอารมณ์ของเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรส่งเสริมภาวะโภชนาการและความสัมพันธ์ภายในครอบครัวในการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย

References

ดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์, อมรา ธนศุภรัตนา. ผลของโปรแกรมฝึกทักษะการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยไทย (Thai Triple-P) ต่อพัฒนาการและความฉลาดทางอารมณ์ในเด็กกลุ่มเสี่ยงต่อพัฒนาการล่าช้า. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2023;31(3):215–226.

ณิชวรรณ จงรักษ์ธนกิจ, มธุรดา สุวรรณโพธิ์, จันทร์อาภา สุขทัพภ์, ประเสริฐ จุฑา, รัชดาวรรณ์ แดงสุข. ระดับสติปัญญานักเรียนไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1: การสำรวจระดับชาติ พ.ศ. 2564. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2023;31(1):1–11.

Erikson EH. Childhood and Society, 2nd Ed. Childhood and Society, 2nd Ed. W. W. Norton: Oxford, England; 1964.

Bandura A. Social Learning Theory. Social Learning Theory. Prentice-Hall: Oxford, England; 1977.

Bronfenbrenner U. The Ecology of Human Development. Harvard University Press; 1979.; doi: 10.2307/j.ctv26071r6.

Goleman D. Emotional Intelligence. Emotional Intelligence. Bantam Books, Inc: New York, NY, England; 1995.

Rachman Y, Sumarwan U, Latifah M, et al. Factors Influencing The Social-Emotional Development of Children And Adolescents: A Study Systematic Literature Review. Journal of Family Sciences 2023;1–17; doi: 10.29244/jfs.vi.49789.

สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย : Developmental Surveillance and Promotion Manual (DSPM). สำานักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก: นนทบุรี; 2564.

Daniel WW, Cross CL. Biostatistics: A Foundation for Analysis in the Health Sciences. Wiley; 2018.

Ngamjarus C, Chongsuvivatwong V, McNeil E. n4Studies: Sample Size Calculation for an Epidemiological Study on a Smart Device. Siriraj Medical Journal 2016;68: 160–170.

สุธรรม นันทมงคลชัย, พิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์, โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์, et al. สถานการณ์ครอบครัวและการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยของครอบครัวไทย. 2024. Available from: https://phfh.ph.mahidol.ac.th/article/1.pdf.

John W Best, Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall Publishers; 1977.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ เด็กอายุ 3-5 ปี (ฉบับย่อ) สำหรับครู/ผู้ดูแล. 2567.

วงศา เล้าหศิริวงศ์. การประเมินคุณภาพบทความวิจัยด้านสาธารณสุขและการพัฒนาโครงร่างวิจัย. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น: ขอนแก่น; 2560.

Tavakol M, Dennick R. Making sense of Cronbach’s alpha. Int J Med Educ 2011;2: 53–55; doi: 10.5116/ijme.4dfb.8dfd.

Bandura A. Social Learning Theory. Social Learning Theory. Prentice-Hall: Oxford, England; 1977.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-11