ปัจจัยที่มีผลต่อการรู้ดิจิทัลของบุคลากรโรงพยาบาลพระยืน จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • สุภาวดี เกาวนันทน์ โรงพยาบาลพระยืน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
  • จุฑาทิพย์ หารพะยอม โรงพยาบาลพระยืน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

การรู้ดิจิทัล, ปัจจัยการบริหารองค์กร, องค์กรดิจิทัล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการรู้ดิจิทัลของบุคลากรโรงพยาบาลพระยืน จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 122 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างเดือนกันยายน - ธันวาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่าง เป็นเพศหญิง ร้อยละ 85.25 มีอายุเฉลี่ย 37.85 ปี(S.D.=9.7) การศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 74.59 ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ ร้อยละ 33.61 และเป็นบุคลากรสายสนับสนุน ร้อยละ 33.61 เคยได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ร้อยละ 58.20 การรู้ดิจิทัลของบุคลากรโรงพยาบาลพระยืน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (=2.22, S.D.=0.65) จำแนกรายด้านพบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง ประกอบด้วย พุทธิพิสัย (=2.59, S.D.=0.69) การวิเคราะห์ (=2.51, S.D.=0.75) การประเมิน (=2.16, S.D.=0.99) การทํางานเป็นทีม (=2.35, S.D.=0.88) การมีจริยธรรม (=2.43, S.D.=0.87) การรู้กฎหมาย (=2.61, S.D.=0.80) การป้องกันตนเอง (=2.62, S.D.=0.75) มีเพียงด้านการนําเสนอ อยู่ในระดับต่ำ (=1.61, S.D.=1.11) ผลการวิเคราะห์ตัวแปรที่สามารถร่วมกันทำนายการรู้ดิจิทัลของบุคลากรโรงพยาบาลพระยืน พบว่า ความสามารถบุคลากร รูปแบบการบริหาร และระบบการปฏิบัติงาน สามารถร่วมกันทำนายได้ ร้อยละ 69 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value <0.001, 0.001 ,0.001, 0.003)

References

World Health 0rganization. Global strategy on digital health 2020-2025. [internet]. 2021 [cited 2024 Sep 10]. Available from: https://www.who.int/ docs/default-source/documents/ gs4dhdaa2a9f352b0445 bafbc79ca799dce4d.pdf

กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์สุขภาพดิจิทัลกระทรวงสาธารณสุข (2564–2568). [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก:

https://ict.moph.go.th/upload_file/files/97c2287c8f04e181fec13e431e7a5e.pdf

Davis B, Nies M, Shehab M Shenk D. Developing a pilot e-mobile app for

Dementia caregiver support. Journal of Nursing Informatics. 2012; 18(1): 1-10.

Hisrich R-D, Kearney C. Managing Innovation and Entrepreneurship. Los Angeles: SAGE; 2014.

Bessant J, Tidd J. Managing Innovation and Entrepreneurship. Italy: Trento Srl; 2015.

Hayes J. The Theory and Practice of Change Management. London: Palgrave

Macmillan; 2014.

แววตา เตชาทวีวรรณ, อัจศรา ประเสริฐสิน. การประเมินการรู้ดิจิทัลของนักศึกษาระดับ ปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสารสนเทศศาสตร์. 2559; 34(4): 1-28.

โรงพยาบาลพระยืน. ผลการดำเนินงานด้านสาธารณสุขที่สำคัญ. ขอนแก่น: คลังนานาธรรม; 2566.

Best J. Research is Education. 3rd ed. Englewood cliffs: N.J. Prentice-Hall; 1977.

กัลยา วานิชย์บัญชา. หลักสถิติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2561.

กันฐิกา ทองสุข. ประสิทธิภาพการทำงานที่เกิดจากความรู้ความเข้าใจในการเป็นองค์การ ดิจิทัล. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 2562; 2(2): 39-49.

คมสัน พันธุ์ชัยเพชร, มาลี กาบมาลา. พฤติกรรมสารสนเทศในการปฏิบัติงานของบุคลากรสาย

สนับสนุนมหาวิทยาลัยขอนแก่น.วารสารสารสนเทศศาสตร์. 2557; 32(2): 24.

โสมวลี ชยามฤต. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับยุคดิจิทัลขององค์การภาครัฐ

และเอกชน. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2564; 4(1): 38-50.

ดวงสมร สุทธิวงศ์กูล. การพัฒนาทักษะดิจิทัลของบุคลากรภาครัฐไทยสู่การเป็นรัฐบาล

ดิจิทัล. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย. 2562; 13(1): 197-216.

Dewi R-S, Hasanah U, Zuhri M. Analysis Study of Factors Affecting

Students' Digital Literacy Competency. Ilkogretim Online -Elementary Education Online. [serial online]. 2021; 20(3): 424-431.

อมรรัตน์ สิทธิศักดิ์. สมรรถนะการรู้ดิจิทัลที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานของบุคลากร

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารสารสนเทศศาสตร์.2563; 38(4): 61-81.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-26