ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับผลลัพธ์ของการรักษาด้วยการผ่าตัดผ่านกล้องในผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันที่มีภาวะแทรกซ้อน : การทบทวนข้อมูลเชิงประจักษ์ย้อนหลัง

ผู้แต่ง

  • สุมัทนา สาระตุ้ย -รพ.กาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

การผ่าตัดแบบส่องกล้อง, โรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันที่มีภาวะแทรกซ้อน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับผลลัพธ์ของการรักษาด้วยการผ่าตัดผ่านกล้องในผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันที่มีภาวะแทรกซ้อน ด้วยวิธีการศึกษาทบทวนข้อมูลเชิงประจักษ์ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ เวชระเบียนของผู้ป่วยตามเกณฑ์คัดเข้าและเกณฑ์คัดออก จำนวน 88 คน ระหว่างเดือนมกราคม –ธันวาคม 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ปัจจัยคัดสรรและข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย และส่วนที่ 2 ผลลัพธ์ของการผ่าตัดแบบส่องกล้อง เครื่องมือผ่านการพิจารณาความตรงโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และหาค่าความเที่ยงด้วยการทดลองใช้บันทึกและการทดสอบซ้ำ ได้ค่าเท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ สรุปผลดังนี้ ผลลัพธ์ของการผ่าตัดแบบส่องกล้อง ใช้วิธีผ่าตัดส่องกล้องแบบ 1-port ร้อยละ 68.18 ไม่มีการเปลี่ยนวิธีการผ่าตัดเป็นแบบเปิดหน้าท้องร้อยละ 82.95 และไม่ใส่ท่อระบายร้อยละ 55.68 ติดเชื้อที่แผลผ่าตัด ร้อยละ 1.14 ภาวะลำไส้หยุดการเคลื่อนไหวหลังผ่าตัดที่ day 0 หลังผ่าตัดร้อยละ 42.04 ไม่พบการติดเชื้อที่ปอดหลังผ่าตัด ระยะเวลาผ่าตัดเฉลี่ย 41.70 นาที สูญเสียเลือดขณะผ่าตัดเฉลี่ย 13.09 มิลลิลิตร จำนวนวันนอนรักษาในโรงพยาบาลเฉลี่ย 4.36 วัน และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเฉลี่ย 28,682.22 บาท รวมทั้งการเปลี่ยนวิธีการผ่าตัดฯ กับจำนวนวันนอนรักษาในโรงพยาบาลมีค่าความสัมพันธ์ในระดับสูง รองลงไปคือ ความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนวิธีการผ่าตัดฯ กับภาวะลำไส้หยุดการเคลื่อนไหวหลังผ่าตัด มีค่าความสัมพันธ์ในระดับสูง

References

บรรณานุกรม

Romanelli JR, Earle DB. Single port laparoscopic surgery: an overview. Surg Endosc 2009; 23: 1,419–1,427.

Chamberlain RS, Sakpal SV. A comprehensive review of single-incision laparoscopic surgery (SILS) and natural orifice transluminal endoscopic surgery (NOTES) techniques for cholecystectomy. J Gastrointest Surg 2009; 13: 1,733–1,740.

Whelan RL, Fleshman JW, Dennis L. The SAGES manual of perioperative care in minimally invasive surgery (Whelan, the Sages Manual); 2004.

Vidal O, Valentini M, Ginestà C et al. Laparoscopic single-site surgery appendectomy. Surg Endosc 2010; 24: 686–691.

Chouillard E, Dache A, Torcivia A et al. Single-incision laparoscopic appendectomy for acute appendicitis: a preliminary experience. Surg Endosc 2010; 24: 1,861–1,865.

Park JH, Hyun KH, Park CH et al. Laparoscopic vs transumbilical single-port laparoscopic appendectomy; results of prosp J Korean Surg Soc. 2010;78:213–218.

Esposito C. One-trocar appendectomy in pediatric surgery. Surg Endosc. 1998;12:177–178. doi: 10.1007/s004649900624.

Jones SB, Monk TG. Anesthesia and patient monitoring. In: Jones DB, Wu JS, Soper NJ, editors. Laparoscopic Surgery: Principles and Procedures. St. Louis: Quality Medical;1997:28-36.

Remzi FH, Kirat HT, Kaouk JH, Geisler DP. Single-port laparoscopy in colorectal surgery. Colorectal Dis 2008; 10: 823–826.

Busch M., Gutzwiller F.S., Aellig S., Kuettel R., Metzger U., Zingg U. In-hospital delay increases the risk of perforation in adults with appendicitis. World J Surg. 2011 Jul;35(7):1626-33. doi: 10.1007/s00268-011-1101-z.

Guoqing Y., Han A, Wang W. Comparison of Laparoscopic Appendectomy with open appendectomy in Treating Children with Appendicitis. Pak J Med Sci

. 2016 Mar-Apr;32(2):299–304. doi: 10.12669/pjms.322.9082.

Venara A, Neunlist M, Slim K, Barbieux J, Colas PA, Hamy A, Meurette G. Postoperative ileus: Pathophysiology, incidence, and prevention. J Visc Surg. 2016 Dec;153(6):439-446.

Park S., Park M-S., Lee K-Y. Relationship between the Hospital Visit-to-Operation Time Interval and the Risk of Appendiceal Perforation and Clinical Outcomes. Journal of Minimally Invasive Surgery. 2018; 21(1): 31-37 Published online March 15, 2018

https://doi.org/10.7602/jmis.2018.21.1.31.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27