การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการบริหารการเงินโรงพยาบาลเขาสวนกวาง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2564-2566
คำสำคัญ:
การวิเคราะห์, ประสิทธิภาพ, การบริหารการเงิน, โรงพยาบาลบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยย้อนหลัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานะทางการเงิน ประเมินประสิทธิภาพการบริหารการเงิน (Total Performance Score: TPS) ประเมินระดับความเสี่ยงทางการเงิน (Risk Score) และเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารการเงินของโรงพยาบาลเขาสวนกวาง ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2566 โดยใช้ข้อมูลทางการเงินย้อนหลัง 3 ปี จากงบทดลอง และดัชนีชี้วัดทางการเงิน 7 ระดับ ตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข ผลการวิจัยพบว่าเงินบำรุงคงเหลือมีแนวโน้มลดลงจาก 20.55 ล้านบาท ในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ 2564 คงเหลือ 11.88 ล้านบาท และในไตรมาสที่ 4 ของปีงบประมาณ 2566 อัตราส่วนเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด (Cash Ratio) ตามเกณฑ์มาตรฐาน (<0.8) ในหลายไตรมาส โดยเฉพาะในปี 2566 ที่มีค่าเฉลี่ย 0.52 การประเมินประสิทธิภาพการบริหารการเงิน (Total Performance Score: TPS) พบว่ามีการดำเนินงานที่ดีขึ้นในปีงบประมาณ 2565 โดยได้คะแนนสูงสุด 11 จากคะแนนเต็ม 15 คะแนน ในไตรมาสที่ 2 แต่ลดลงอีกครั้งในปี 2566 เนื่องจากการจัดการต้นทุนและรายได้ยังมีความไม่สม่ำเสมอ การบริหารรายได้ พบว่ามีการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องสูงสุดที่ 129.4 ล้านบาท ในไตรมาสสุดท้ายของปีงบประมาณ 2565 อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายรวมในบางไตรมาสสูงกว่ารายได้ ส่งผลให้เกิดปัญหาสภาพคล่อง ข้อเสนอแนะจาการวิจัย ควรมีการปรับปรุงระบบการจัดเก็บรายได้ การเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมค่าใช้จ่าย การพัฒนาเครื่องมือและระบบสารสนเทศเพื่อการติดตาม Risk Score อย่างต่อเนื่อง และการประยุกต์ใช้ข้อมูลจาก TPS เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการการเงินในระยะยาว
References
World Health Organization. The World Health Report 2010 [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2010 [cited 2024 Oct 23]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/9789241564021
กรรณิการ์ เงินทอง. การศึกษาประสิทธิภาพการบริหารจัดการ การเงินการคลังของโรงพยาบาล สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม ปีงบประมาณ 2564 – 2566. วารสารวิจัยสุขภาพโรงพยาบาลและชุมชน. 2567;2(1):1–13.
รัตนา กฤษฎาธาร. การศึกษาประสิทธิภาพการบริหารจัดการการเงินการคลังของโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดลำปาง ปีงบประมาณ 2557 – 2559. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา. 2560;7(1):1–12.
ชญาภา อุปดิษฐ์, อัญชลีพร วุฒิเป๊ก. การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านการเงินการคลัง หน่วยบริการในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย ตามเกณฑ์ประเมินประสิทธิภาพ ด้านการเงินการคลัง (Total Performance Score : TPS) สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิจัยสุขภาพโรงพยาบาลและชุมชน. 2566;1(2):71–82
วิมลมาศ ริ้วสุวรรณ. การวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการดำเนินงานของโรงพยาบาลรัฐบาล ในจังหวัดเชียงราย. วารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 2564;6(1).
พิทักษ์พล บุณยมาลิก, ธิดาจิต มณีวัต. แนวโน้มการบริหารการเงินของโรงพยาบาลในสังกัด สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข: การศึกษาเชิงคุณภาพ. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2564;15(4):477–89.
สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน. คู่มือการควบคุมภายในหน่วยงานภาครัฐ. สำนักพิมพ์รัฐสภา: กรุงเทพฯ; 2554.
สามารถ สุเมธีวรศักดิ์. ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะวิกฤตการเงินของโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11. 2556;7(4):737–48.
นริศรา นีรคุปต์. ประสิทธิภาพการจัดการระดับความเสี่ยงทางการเงินในโรงพยาบาลเพชรบูรณ์. 2563;5(3):57–70.
พนิตตา หงษาคำ. ประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังของโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารโรงพยาบาลนครพนม. 2564;8(3): e253861–e253861.
ศิริธร ยอดสะอึ. การประเมินผลการจัดการภาวะวิกฤตการเงินการคลัง โรงพยาบาลน้ำพอง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 2567;17(1):45–58.
ชฎาภรณ์ ชื่นตา, สำลี เวชกามา, เพ็ญแข สอาดยิ่ง. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการเงินการคลังของโรงพยาบาล จังหวัดยโสธร [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 13 พ.ย. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.pkyasothon.org/research/data/money_research.pdf
Kaplan RS, Norton DP. The Balanced Scorecard Harvard Business School Press. Boston, MA. 1996;
Wild JJ, Shaw KW. Fundamental accounting principles. 24th edition. New York, NY: McGraw-Hill Education; 2019.
Gao MZ, Chou YH, Chang YZ, Pai JY, Li YH, Lai YW, et al. Analyzing Financial Efficiency of Public-Private Partnerships Hospitals in Taiwan. Asia Pac J Public Health. 2023;35(8):471–8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว