การพัฒนารูปแบบการป้องกันพลัดตกล้มในผู้สูงอายุ โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ตำบลโคคลาน อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, การป้องกันการพลัดตกหกล้ม, รูปแบบการมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันพลัดตกล้มในผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ตำบลโคคลาน อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม 40 คน และผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนา 29 คน ดำเนินการระหว่างเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2567 เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสำรวจความเสี่ยงของบ้าน แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง
เพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้ม แบบประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม (Thai FRAT) และแบบคัดกรองความเสี่ยง (Time Up and Go Test: TUGT) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณนา และข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มจากการคัดกรอง TUGT ร้อยละ 72.5 โดยมีปัญหาการมองเห็นบกพร่อง ร้อยละ 72.5 การทรงตัวบกพร่อง ร้อยละ 80.0 การใช้ยาที่ส่งผลต่อการพลัดตกหกล้ม ร้อยละ 82.5 และที่อยู่อาศัยต้องขึ้น-ลงบันได ร้อยละ 77.5 นอกจากนี้ ผลการประเมิน Thai FRAT พบว่าผู้สูงอายุ ร้อยละ 75.0 มีความเสี่ยงต่อการหกล้ม หลังจากทดลองใช้รูปแบบการป้องกันพลัดตกล้ม พบว่าผู้สูงอายุมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P< 0.001) และคะแนนเฉลี่ยการคัดกรองความเสี่ยง TUGT ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (P< 0.001) ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการพัฒนารูปแบบ ได้แก่ การมีเป้าหมายร่วมกันของทีม การปฏิบัติตามบทบาทที่ได้รับการประสานงานและสื่อสารกับชุมชน การเสริมสร้างองค์ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้ดูแลผู้สูงอายุ และการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชน
References
World Health Organization. Global report on diabetes. France: World Health Organization; 2016.
ศิริลักษณ์ จิตต์ระเบียน, อัจฉรา ภักดีพินิจ, เมตตา คำพิบูลย์, ลินดา จำปาแก้ว. แนวทางการดำเนินงานศูนย์การปรึกษาพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. นนทบุรี: สยามศิลปะการพิมพ์; 2556.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2564 การป้องกันการบาดเจ็บ. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2024 ม.ค. 19]; เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/dip/journal_detail.php?publish=12444.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. การพยากรณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560-2564. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2024 ม.ค. 19]; เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/dip/news.php?news=23567&deptcode=.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center (HDC) ระดับจังหวัด. [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2024 ม.ค. 19]; เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคคลาน. สรุปรายงานผลปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ 2566. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว; 2566.
Kanfer FH, Gaelick L. Self-management methods. In: Kanfer FH, Goldstein AP, editors. Helping people change. New York: Pergamon; 1988. p. 283-238.
อัจฉรา สาระพันธ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก. 2560;18(ฉบับพิเศษ):215-22.
Rubenstein LZ, Josephson KR. Falls and their prevention in elderly people: what does the evidence show? Med Clin North Am. 2006;90(5):807-24. doi:10.1016/j.mcna.2006.05.013.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. รายงานการศึกษาเพื่อทำข้อเสนอการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2560.
นารีรัตน์ จิตรมนตรี, นิตยา ภาสุนันท์, จันทนา รณฤทธิวิชัย. การศึกษาสภาพแวดล้อมในบ้านที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหกล้มของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลศาสตร์. 2541;16(3):34-45.
สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล, คณะ. การวิเคราะห์ผู้สูงอายุ: หลักสำคัญของเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2541. p. 85-6.
ละออม สร้อยแสง, จริยาวัตร คมพยัคฆ์, กนกพร นทีธนสมบัติ. การศึกษาแนวทางการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุชุมชนมิตรภาพพัฒนา. วารสารพยาบาลทหารบก. 2557;15:123-9.
ประทุ่ม กงมหา, กรรณิการ์ หาญสูงเนิน. รูปแบบการเสริมสร้างภาวะพฤฒพลังในผู้สูงอายุ ใช้การมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. ฉบับพิเศษการประชุมพยาบาลครั้งที่ 25. 2560.
คมสรรค์ ชื่นรัมย์, บุญสิทธิ์ ไชยชนะ, กรรณิกา เรืองเดช ชาวสวนศรีเจริญ. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินของโรงพยาบาลสุคิริน ด้วยเทคนิคการวางแผนแบบมีส่วนร่วม (AIC). วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2559;3(3):179-93.
สุรีย์ สิมพลี, พรรณี บัญชรหัตถกิจ. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับการออกกำลังกายโดยท่าบริหารมณีเวชประยุกต์เพื่อป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสุขศึกษา. 2562;42(2):149-59.
รุ่งนภา อาระหัง. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่ชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม. ปริญญานิพนธ์การศึกษาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน). คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2560.
ปณดา รามไพบูลย์, ระวิวรรณ์ เจริญทรัพย์, รัชนี สรรเสริญ, พิษณุรักษ์ กันทวี. การศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพในการใช้สมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. เชียงรายเวชสาร. 2561;10(1):81-92.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว