การพัฒนารูปแบบการบริหารงานแบบธรรมาภิบาลของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • สิริพร วงศ์ตรี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบการบริหาร, การบริหารงานแบบธรรมาภิบาลของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารงานแบบธรรมาภิบาล และพัฒนารูปแบบการบริหารงานแบบธรรมาภิบาลของผู้อำนวยการการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้อำนวยการการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดอุบลราชธานี ทั้งหมด 317 คน กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงครอบคลมผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกกลุ่ม จำนวน 70 คน คือ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, เจ้าหน้าที่สาธารณสุขผู้ปฏิบัติงาน, ผู้นำชุมชน, นายกองค์การบริหารส่วนตำบล, และผู้รับบริการ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม , แบบสังเกต และแบบ บันทึกการสนทนา ระหว่างเดือนมกราคม 2560 ถึงธันวาคม 2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารงานแบบธรรมาภิบาลของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดอุบลราชธานี โดยารวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบหลายขั้นตอน และพัฒนารูปแบบการบริหารแบบธรรมาภิบาลโดยการรวบรวม สรุป จัดหมวดหมู่ และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า ตัวแปรที่ดีที่ร่วมกันพยากรณ์การบริหารงานแบบธรรมาภิบาลของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดอุบลราชธานี มี 4 ตัวแปร คือ ความสัมพันธ์ในหน่วยงาน การประเมินและการตรวจสอบทัศนคติต่อการบริหารงานแบบธรรมาภิบาล และอายุราชการ ซึ่งตัวแปรพยากรณ์ทั้ง 4 ตัว สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการบริหารงานแบบธรรมาภิบาลของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดอุบลราชธานีได้ร้อยละ 52.9 ด้านการพัฒนารูปแบบการบริหารงานแบบธรรมาภิบาลของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ (1) การสร้างการบริหารแบบครอบครัว (2) การสร้างการมี ส่วนร่วมและโปร่งใส (3) การเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเพื่อนร่วมงาน (4) การปลูกฝัง การมีจริยธรรมและศีลธรรม และ (5) การสร้างค่านิยมใหม่ที่ถูกต้อง จากผลการวิจัยปัจจัยที่ทำนาย การบริหารงานแบบธรรมาภิบาลของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดอุบลราชธานี คือ ความสัมพันธ์ในหน่วยงาน การประเมินและการตรวจสอบ ทัศนคติต่อการบริหารงานแบบธรรมาภิบาล และ อายุราช การซึ่งควรนำปัจจัยดังกล่าวไปใช้ในการพัฒนารูปแบบการบริหารแบบธรรมาภิบาล และนารูปแบบที่พัฒนาไปใช้ในการสร้างความมีธรรมาภิบาลในผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดอุบลราชธานี ต่อไป

References

ฉลองนพ อัมพรัตน์. การปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลในเขตอำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐปศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2550.

ธีระ รุญเจริญ. ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษา ยุคปฏิรูปการศึกษา ฉบับปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ :ข้าวฟ่าง; 2550.

ธงชัย ปันทอง. สภาพปัญหาการประเมินภายในเพื่อการประกันคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดอุตรดิตถ์ [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต].อุตรดิตถ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์; 2551.

นภดล ขยันการนาวี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานของหัวหน้าสถานีอนามัยจังหวัดอุทัยธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารสาธารณสุข)]. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2551.

นุชนภา วชิรมน. รูปแบบการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนวัดบางปะกอกเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร [การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร; 2557.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ลกรุ๊ป; 2552.

นงลักษณ์ พะไกยะ. การดารงอยู่อย่างพึงพอใจของบุคลากรสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ. [ออนไลน์]. (2550). [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2557]. เข้าถึงได้จาก http://www.hrdothai.com/show_doc.php?r_id=40.

บันลือศักดิ์ วงศ์พิทักษ์. การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ [วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. ศรีสะเกษ : มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ; 2559.

มณฑิรา มีรส และ สุเนตร สุวรรณละออง. รูปแบบการประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานองค์การบริหารส่วนจังหวัด: กรณีศึกษา จังหวัดปราจีนบุรี [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.

เยาวภา เต็งคิว. ปัจจัยทางการบริหารและกระบวนการบริหารที่ผลต่อสมรรถนะหลักของหัวหน้าสถานีอนามัยจังหวัดขอนแก่น [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.

เรวัตร์ บรรพต. ความสัมพันธ์ของขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพของพนักงานเทศบาลในเขตเทศบาล อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี[วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐปศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.

ลิขิต ประจักกัตตา. รูปแบบพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักธรรมาภิบาลของสมาชิกองค์กา ร บริหารส่วนตำบล จังหวัดมหาสารคาม [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; 2559.

วัชราภรณ์ ฉัตรเงิน. การดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลต่อพนักงานประปานครหลวง [การศึกษาอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2555.

วิจิตรา แป้นจันทร์ และคณะ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดกาแพงเพชร [ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กำแพงเพชร : มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร; 2554.

วงศา เล้าหศิริวงศ์. พฤติกรรมองคก์รและการพัฒนาองค์การสุขภาพ. พิษณุโลก : ทีไอพีคอมพิวเตอร์ฟอร์ม; 2548.

สุนันทา เงินแจ่ม. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2 [ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต]. กำแพงเพชร:มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร; 2553.

สมศักดิ์ รอบคอบ. ประสิทธิภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 1 [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม; 2548.

อารยา บุตรพรม. การพัฒนาแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 24 [ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2559.

อารีรัตน์ มณีรัตน์. แรงจูงใจกับการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของหัวหน้าสถานีอนามัยในจังหวัดเชียงราย [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทยัธรรมาธิราช; 2547.

Kemmis, S & Mc Taggart, R. The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria : Deakin University; 1988.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-29