การพัฒนารูปแบบการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลด้วยวงจรบริหารงานคุณภาพ PDCA ในพื้นที่อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีม
คำสำคัญ:
รูปแบบการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ, วงจรการบริหารงานคุณภาพ PDCAบทคัดย่อ
ปัญหาอุบัติเหตุจากรถเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ผู้ประสบภัยบางส่วนไม่ได้รับการช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลหรือค่าความเสียหายตามกฎหมาย วิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลด้วยวงจรบริหารงานคุณภาพเดมมิ่งในพื้นที่อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา โดยศึกษาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ทั้งหมด 7 แห่ง เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจำนวน 49 คน ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 – 31 ตุลาคม 2560 เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบสำรวจข้อมูลด้านบุคลากรและข้อมูลดำเนินงานการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ,ข้อมูลเชิงคุณภาพ,ประมวลผลด้วยการนำมาแจกแจงสรุปเรียบเรียง และเขียนเป็นบทความที่สมบูรณ์
ผลการวิจัย พบว่ารูปแบบการดำเนินงานมี 4 ขั้นตอน ดังนี้ (1) การวางแผนพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ด้วยการศึกษาดูงานการอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 19 คน คิดเป็น ร้อยละ 38.78 การจัดทำคู่มือ/ขั้นตอนระบบเรียกเก็บสินไหมอัตโนมัติ และการประชุมชี้แจง การดำเนินงานในระดับหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอ (2) การใช้คู่มือ/ขั้นตอนระบบเรียกเก็บสินไหมอัตโนมัติในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 4 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 57.14 มีการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจำกัด รวม 43 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 มีรายได้รวม 59,788.46 บาท(ห้าหมื่นเก้าพันเจ็ดร้อยแปดสิบแปดบาทสี่สิบหกสตางค์) (3) การตรวจสอบการดำเนินงาน ปรับปรุงคู่มือและขั้นตอน (4) นำรูปแบบ คู่มือและขั้นตอนไปใช้ดำเนินงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรวมถึงมีข้อเสนอแนะข้อคิดเห็นที่สำคัญและเป็นประโยชน์
References
กลุ่มงานประกันสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา.คู่มือแนวทางการเรียกเก็บชดเชยค่าบริการทางการแพทย์โรงพยาบาลในจังหวัดพะเยา. พะเยา; 2560.
คณะกรรมการประสานงานและพัฒนางานสาธารณสุขระดับอำเภอ อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา.แผนปฏิบัติราชการสาธารณสุข อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา ปีงบประมาณ 2560. นครราชสีมา; 2560.ไม่พบอ้างอิงในเนื้อหา
เบญญาภา ปันจินะ.ประสิทธิผลการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลผู้ประสบภัยจากรถตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยเชื่อมระบบ e claim ของบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจำกัด กับระบบ Hosxp ของโรงพยาบาลดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่; 2559.
ปิยะนุช เงินคล้ายและพงศ์สัณห์ ศรีสมทรัพย์.ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐศาสตร์. เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชา PS 702 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2546.
ฝ่ายสินไหมทดแทน บริษทั กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ.เอกสารประกอบการประชุมเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล/เครือข่ายสื่อสารสองทางทั้งคุณภาพและการบริการ. นครราชสีมา; 2560.
สภาการสาธารณสุขชุมชน.เอกสารประกอบการบรรยายโครงการฟื้นฟูองค์ความรู้วิชาชีพสาธารณสุขชุมชน ปี 2560. ขอนแก่น; 2560.
สุวิทย์ ศุภวิโรจน์เลิศ. การประเมินผลโครงการพัฒนาระบบเรียกเก็บค่าบริการผู้ป่วยใน กรณีศึกษาโรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น; 2560.
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(ศปภ.). พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมกฎกระทรวงประกาศกระทรวง. [ออนไลน์].(ม.ป.ท.) [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 9 มกราคม 2560]. เข้าถึงได้จาก http://www.oic.or.th/sites/default/files/law/2560/1.phrb.khumkhrngphuuprasbphaycchaakrth_ph.s.2535_aelathiiaekaikhephimetim.pdf
อาคม รัตนจรัสโรจน์.การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพทีมเคลื่อนที่เร็วระดับตำบลต้านโรคไข้เลือดออกในพื้นที่อำเภอบัวลาย จังหวัดนครราชสีมา โดยใช้วงจรบริหารงานคุณภาพ ( PDCA). นครราชสีมา; 2555.
Basu. R, Implementing. Quality – A Practical Guide to Tools and Techniques. London: Thomson Learning; 2004.
Cohen, John M. and Uphoff, Norman T. Rural Development Participation : Concepts and Measures for Project Design, Implementation and Evaluation. New York: the Rural Development Committee Center for international studies. Cornell University; 1977.
Makoto. M and Jun. N.The effects of the PDCA cycle and OJT on workplace learning. The International Journal of Human Resource Management, 2012; 24
Sokovic. M, Pavletic. D and Kern PipanK. Faculty of Mechanical Engineering. Vukovarskaia : University of Ljubljana, University of Rijeka; 2010.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว