ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • สถาพร หมั่นกิจ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา โดยประยุกต์แบบจำลอง PRECEDE-PROCEED ในการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มปัจจัยนำ กลุ่มปัจจัยเอื้อ และกลุ่มปัจจัยเสริม และประยุกต์แบบประเมินวิธีการดำเนินชีวิตและลักษณะนิสัยทางสุขภาพของ Pender ในการศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนวัยแรงงาน อายุ 18 ปีขึ้นไปที่ทำงานเป็นพนักงานหรือคนงานในโรงงานอุตสาหกรรมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 400 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จากประชากรทั้งหมด 19,567 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งได้ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน และหาความเที่ยงของเนื้อหาโดยนำแบบสอบถามไปทดสอบในประชาชนที่มีความคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่าง 30 คน แล้ววิเคราะห์หาความเที่ยงตามวิธีของครอนบาค พบว่า สัมประสิทธิ์ของความเที่ยงในปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ การรับรู้ภาวะสุขภาพ การเข้าถึงสถานบริการสุขภาพ การรับรู้นโยบายสุขภาพ การได้รับข่าวสารเกี่ยวกับสุขภาพ การได้รับการสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมสุขภาพเป็น 0.6396,0.8439,0.8347, 0.8457 0.9115,0.7684 และ 0.8730 ตามลำดับ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแจกแบบสอบถามแล้วให้กลุ่มตัวอย่างตอบเองแล้วไปรับคืน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ คำนวยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอน

ผลการวิจัย พบว่า พนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพถูกต้องปานกลาง และเมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ จากปัจจัยที่ศึกษา 3 กลุ่มปัจจัย คือ กลุ่มปัจจัยนำ ได้แก่ปัจจัย ลักษณะประชากร (อายุ เพศ สถานะภาพสมรส การศึกษา) ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ การรับรู้ภาวะสุขภาพ กลุ่มปัจจัยเอื้อ ได้แก่ปัจจัย การเข้าถึงสถานบริการสุขภาพการรับรู้นโยบายส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มปัจจัยเสริม ได้แก่ปัจจัย การได้รับข่าวสารเกี่ยวกับสุขภาพการได้รับการสนับสนุนทางสังคม พบว่า ปัจจัยที่สามารถทำนายหรืออธิบายการผันแปรพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 มีจำนวน 2 ปัจจัย คือ การได้รับการสนับสนุนทางสังคม และการรับรู้ภาวะสุขภาพ โดยสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพได้ร้อยละ 56

References

กรมอนามัย . กรมสรุปสถานการณ์แนวโน้มปัญหาอาชีวอนามัยในประเทศไทย พ.ศ. 2555 : นนทบุรี : กองอาชีวอนามัย; 2555.

คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 11. แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555 – 2559. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2555.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. แผนพัฒนาสาธารณสุข ประจา ปี 2559. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครราชสีมา : อุบลยงสวัสด์ิการพิมพ;์ 2559.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข . การประเมินนโยบาย และยุทธศาสตร์ การบรรลุเป้าหมายสุขภาพดีถ้วนหน้า ปี 2555. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี : อุษาการพิมพ์; 2555.

สำนักงานประกันสังคมจังหวัดนครราชสีมา. การสำรวจภาระทำงานของประชาชนวัยแรงงานในจังหวัดนครราชสีมา ประจำปี 2555 -2556. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครราชสีมา : มิตรภาพ; 2555.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา รายงานสาธารณสุข ประจำปี 2559 .พิมพ์ครั้งที่ 1. นครราชสีมา : อุบลยงสวัสด์ิการพิมพ;์ 2559.

อุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา . สำนักงานทำเนียบโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดนครราชสีมา ปี 2555 สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมา; 2555.

Pender. Health promotion in nursing practice. 2ed. Newyork Connection: Applenton & Lange; 1987

Yamane, Taro Statistics: An Introductory Analysis. Third editio. Newyork : Harper and Row Publication; 1973.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-29