สถานการณ์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดพิษณุโลกภายหลังนโยบายยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

ผู้แต่ง

  • ศิริลักษณ์ โกวิทยานนท์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก

คำสำคัญ:

สถานการณ์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, นโยบายยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดพิษณุโลกภายหลังนโยบายยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณที่ให้ข้อมูลในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล คือ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจำนวน 145 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ การหาค่าเฉลี่ย (mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างในการเก็บข้อมูล คือ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหรือสาธารณสุขอำเภอหรือผู้รับผิดชอบงานปฐมภูมิของหน่วยบริหารเครือข่ายบริการปฐมภูมิ ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยปริมาณ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและการเปลี่ยนแปลงหลังเกิดนโยบายฯ ค่าเฉลี่ยของระดับความเห็นมากในประเด็นดังนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีการคัดกรองโรคเรื้อรังในชุมชนมากขึ้น, พอใจที่มีการปรับปรุงด้านบรรยากาศหรือกายภาพ, มีการพัฒนาฐานข้อมูลบริการดียิ่งขึ้น,พอใจได้รับจัดสรรอุปกรณ์ทางการแพทย์/ครุภัณฑ์ตรงตามความจำเป็นและมีคุณภาพ,ได้รับจัดสรรงบประมาณเพื่อใช้ในการปรับปรุงสถานที่/ภูมิทัศน์, ใช้แนวคิดเวชศาสตร์ครอบครัวมากขึ้น, มีการจัดบริการด้านการรักษาพยาบาลดีขึ้น,ภาพรวมหลังการยกระดับเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดีขึ้น,เห็นด้วยกับการกำหนดรูปแบบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล,มีการทำงาน เชิงรุกมากขึ้น,มีการบริหารจัดการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเครือข่ายในพื้นที่รับผิดชอบเป็นไปตามที่นโยบายกำหนด,มีคณะกรรมการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและมีการบริการเยี่ยมบ้านมากขึ้นและครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย

จากผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า นโยบายยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นการพัฒนาที่สอดคล้องเป็นไปตามทิศทางการพัฒนาบริการปฐมภูมิ มีการกำหนดจัดรูปแบบเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเครือข่ายอย่างชัดเจนตามหลักภูมิศาสตร์และความเหมาะสมในการบริหารจัดการ ส่วนใหญ่ไม่มีการช่วยเหลือแบ่งปันใช้ทรัพยากรร่วมกันจริง มีคณะกรรมการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข เจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ยังเป็นกลุ่มที่มีบทบาทนำในคณะกรรมการ การปรับปรุงด้านกายภาพมีผลดีอย่างมากเพราะทำให้ประชาชนเห็นความเปลี่ยนแปลง ภาพลักษณ์ดูดี เหมาะสมกับคำว่าโรงพยาบาล ได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์/ครุภัณฑ์ไม่ตรงตามความจำเป็นและครุภัณฑ์มีคุณภาพต่ำ งบประมาณที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลได้รับส่วนใหญ่ไม่เปลี่ยนแปลง จำนวนบุคลากรยังขาดและไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด กระบวนการทำงานมีทั้งเชิงรุกและเชิงรับมากขึ้น มีการสนับสนุนและการเชื่อมบริการจากโรงพยาบาลแม่ข่ายทั้งการจัดบริการ,ทรัพยากร,เวชภัณฑ์,บุคลากร,องค์ความรู้,การพัฒนาคุณภาพ ฯลฯ ปัญหาอุปสรรค คือ การขาดแคลนกำลังคนและการบริหารจัดการหน่วยบริหารเครือข่าย การแก้ไขปัญหาบุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดต้องแก้ไขปัญหาโดยภาพรวมและใช้การจัดการเครือข่ายสุขภาพอำเภอ (district health system) ในการบริหารจัดการเครือข่าย

References

กระทรวงสาธารณสุข. การขับเคลื่อนระบบสุขภาพอำเภอ (รสอ.) District Health System (DHS) ฉบับประเทศไทย. นนทบุรี: สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2557.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์; 2545.

มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินการปฏิบัติตามนโยบาย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.). กรุงเทพฯ : มูลนิธิสาธารณสุข; 2554.

สัมฤทธิ์ ศรีธารงสวัสดิ์. ความเป็นธรรมการใช้บริการสุขภาพเมื่อเจ็บป่วยของผู้สูงอายุภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค). วารสารวิชาการสาธารณสุข 2549; 15 (5): 685-689

สัมฤทธิ์ ศรีธารงสวัสดิ์, วีระศักดิ์ พุทธาศรี, เพ็ญแข ลาภยิ่ง และ แพร จิตตินันท์. รายงานผลการประเมินการพัฒนาระบบริการตติยภูมิชั้นสูงภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า. นนทบุรี : สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพไทย; 2551.

สุพัตรา ศรีวณิชชากร. ปัจจัยผลักดันระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจากสถานการณ์และการพัฒนาหน่วยบริการปฐมภูมิ. เอกสารประกอบการศึกษาภาพอนาคตและเส้นทางสู่หลักประกันสุขภาพที่ยั่งยืน. นนทบุรี : สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย; 2551.

สัมฤทธิ์ ศรีธารงสวัสดิ์. ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขปฐมภูมิภายใต้กระทรวงสาธารณสุข.สำนักวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วันดีคืนดี; 2552.

สุพัตรา ศรีวณิชชากร. ปัจจัยผลักดันระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจากสถานการณ์และการพัฒนาหน่วยบริการปฐมภูมิ. เอกสารประกอบการศึกษาภาพอนาคตและเส้นทางสู่หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ยั่งยืนของประเทศไทย : สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย; 2554.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์,สำนักบริหารการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ, สำนักบริหารการสาธารณสุขและสำนักตรวจและประเมินผลกระทรวงสาธารณสุข. รายงานการประเมินนโยบายการพัฒนา รพ.สต.ในระยะนาร่องของปีงบประมาณ 2552. กรุงเทพฯ : บ้านสวนศิลป์; 2553.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือบริหารจัดการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. กรุงเทพฯ : องค์การทหารผ่านศึก; 2554.

สำนักวิจัยและพัฒนาสุขภาพชุมชน (สพช.) สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล.รายงานสถานการณ์ระบบบริการปฐมภูมิปี 2554. นครปฐม: สำนักวิจัยและพัฒนาสุขภาพชุมชม; 2555.

WHO. Harare Declaration : the interregional meeting on strengthening District Health System based on Primary Health Care. Zimbabwe; 1987.

WHO. Health System: Principle Integrated Care World Health Report 2003. Geneva, Switzrland : World Health Organization; 2003.

WHO. Primary Health Care: Now Mere Than Ever The World Health Report 2008. Geneva, Switzrland: World Health Organization; 2008.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-29