ระดับความรู้และการมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของบุคลากร ในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
คำสำคัญ:
การประหยัดพลังงานไฟฟ้า, ความรู้, การมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้และการมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานไฟฟ้า และความสัมพันธ์ระหว่างระดับความรู้และระดับการมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของบุคลากรโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายจากรายชื่อจำแนกตามวิชาชีพต่าง ๆ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเชื่อมั่นร้อยละ 95 และการทดสอบของฟิชเชอร์
กลุ่มตัวอย่างซึ่งมีความครบถ้วนของข้อมูล จำนวน 198 คน มีอายุเฉลี่ย 38 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 11.1 ปี อายุน้อยสุด 21 ปี อายุมากสุด 60 ปี ส่วนใหญ่ร้อยละ 74.6 เป็นเพศหญิง โดยในภาพรวม บุคลากร โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมามีความรู้เกี่ยวกับการประหยัดพลังงานไฟฟ้าถูกต้อง ร้อยละ 71.4 (ช่วงเชื่อมั่นร้อยละ 95: 64.4, 77.8) และความรู้ดังกล่าวถูกต้องอยู่ในระดับมากร้อยละ 32.8 (ช่วงเชื่อมั่นร้อยละ 95: 26.0, 39.6) บุคลากรส่วนใหญ่มีความรู้ที่ถูกต้องมากที่สุดเกี่ยวกับเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม เบอร์ 5 ซึ่งหมายถึงเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นมีประสิทธิภาพสูงและประหยัดพลังงาน ร้อยละ 99.5 และมีความรู้ที่ไม่ถูกต้องมากที่สุดเกี่ยวกับความสำคัญของการเลือกใช้วัสดุก่อผนังกระจก และอื่น ๆ ที่มีความเป็นฉนวนไม่นำพาความร้อนและมีความทนต่อความร้อนสูงต่อการประหยัดค่าไฟฟ้า ร้อยละ 74.1 บุคลากรมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานไฟฟ้า ร้อยละ 82.0(ช่วงเชื่อมั่น ร้อยละ 95 : 76.5, 87.5) แต่อย่างไรก็ตามไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างระดับความรู้และระดับการมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของบุคลากร
การศึกษาครั้งนี้มีส่วนช่วยในการระบุความรู้และประเด็นการมีส่วนร่วมที่เฉพาะเจาะจงเพื่อการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของบุคลากรโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ซึ่งจะสามารถนำไปพัฒนา การฝึกอบรม และบริบทที่เกี่ยวข้องกับการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาได้ต่อไป
References
เกศริน จุลหริก. การมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของประชาชนในอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม; 2551.
ประสงค์ เอี๊ยวเจริญและคณะ. ความรู้ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของนักศึกษาและบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร;2552.
ไพศาล หวังพานิช. การวัดผลทางการศึกษานนทบุรี: มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช; 2543.
รุ่งนภา มีพรหม. พฤติกรรมของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในการประหยัดพลังงานไฟฟ้า [วิทยานิพนธ์สังคมศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพ ฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2551.
วสันต์ ศรีสอาด. การพัฒนาพฤติกรรมการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของบุคลากรโรงพยาบาลหนองโดน อำเภอหนองโดน จังหวัดสระบุรี [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี; 2551.
ศักด์ิชาย พวงศิริ . การมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของบุคลากร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา ตามมาตรการของมหาวิทยาลัยมหิดล [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิยาลัยมหิดล; 2552.
สำนักสารสนเทศกระทรวงสาธารณสุข.ลดการใช้ไฟฟ้าป้องกันวิกฤตไฟฟ้า [ออนไลน์]. (2561). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 30 กันยายน 2561]. เข้าถึงได้จาก http://www.thaihealth.or.th/Content/3169.
หทัยรัตน์ เศรษฐวนิชและภิรดา ชัยรัตน์. การมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของบุคลากรสำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพ ฯ : มหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์; 2558.
Seniwoliba JA, Yakubu RN. Understanding Knowledge Attitude and Practice of Energy Conservation at Workplace among Employees of the University for Development Studies. IJASRD. 2015; 02 (04/I): 27 – 48.
Zulfikar Syaiful A, Mulyadi, Amir F, Mandra MA, Dirawan G. The Effect of Knowledge and Attitude of Student towards Save Energy Behavior in Makassar City. 2016. 703 – 714.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว