รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังโดยมิติชุมชน กรณีศึกษาตำบลหัวดอน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • สิริพร วงศ์ตรี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ, การมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน, กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน, รูปแบบ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ (1) หาแนวทางแก้ปัญหากลุ่มเสี่ยง (2) สร้างแกนนำสุขภาพ (3) ศึกษาประสิทธิผลโปรแกรมปรับพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง (4) พัฒนารูปแบบการปรับพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง การดำเนินงาน 3 ขั้นตอนดังนี้ (1) ศึกษาบริบท (2) แนวทางการปรับพฤติกรรมสุขภาพของชุมชน (3) การคืนข้อมูล กลุ่มตัวอย่างแกนนำสุขภาพ 8 คน และกลุ่มเสี่ยง 40 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบวัดการรับรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา นำเสนอในรูปร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมานใช้เปรียบเทียบความแตกต่าง paired Sample t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และวิเคราะห์เชิงเนื้อหาข้อมูลเชิงคุณภาพ

ผลวิจัยพบว่า (1) แนวทางในการจัดกิจกรรมการปรับพฤติกรรม คือ หน่วยงานบริการสาธารณสุข แรงจูงใจ เจตคติ การรับรู้ความสามารถ การควบคุมตนเอง โรงเรียนผู้สูงอายุ ชมรม-กลุ่ม กฎชุมชนและครอบครัว (P-MA-3S-2C-1F program) (2) แกนนำนักปรับพฤติกรรมสุขภาพพบว่าการรับรู้ ความสามารถตนเอง การควบคุมตนเอง และการดูแลตนเองเพิ่มขึ้น (p<.01) และมีผลลัพธ์ด้านสุขภาพดีขึ้น (p<.05) 3) การจัดกิจกรรมปรับพฤติกรรมสุขภาพพบว่ากลุ่มเสี่ยงภายหลัง การเข้าร่วมกิจกรรม การรับรู้ ความสามารถตนเอง (p<.05) การควบคุมตนเอง (p<.01) และการดูแลสุขภาพตนเอง (p<.01) เพิ่มขึ้นและมีผลลัพธ์ด้านสุขภาพดีขึ้น (p<.05), 4) รูปแบบการปรับพฤติกรรมประกอบด้วย (1) บริบทปัญหาและสาเหตุที่สนับสนุนการดูแลสุขภาพ (2) สร้างความตระหนักและเตรียมความพร้อมกลุ่มเสี่ยง (3) วิเคราะห์ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหา (4) ร่างโปรแกรมการปรับพฤติกรรมสุขภาพ (5) พัฒนาแนวทางการปรับพฤติกรรมสุขภาพ (6) สร้างแกนนำนักปรับฤติกรรมสุขภาพ (7) จัดกิจกรรมในกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง (8) ติดตามประเมินผลและผลลัพธ์ด้านสุขภาพ (9) การสะท้อนผล

References

ชาย โพธิสิตา. ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2554

ประภาเพ็ญ สุวรรณ และสวิง สุวรรณ. พฤติกรรมศาสตร์พฤติกรรมสุขภาพและสุขศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : เจ้าพระยาการพิมพ์; 2536.

พัชรี ดวงจันทร์. ปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนและดัชนีมวลกายในเด็ก นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิต [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพ ฯ :มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2550.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. การสร้างและพัฒนาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธ์ิ. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสาน มิตร; 2530.

ศิริเนตร สุขดี. การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่ม เสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2560.

สุพิชชา วงค์จันทร์. อิทธิพลของลักษณะทางจิตลักษณะสถานการณ์ที่มีต่อพฤติกรรมสุขภาพและภาวะโภชนาการของบุคลากรกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทริโรฒ; 2554.

สุภางค์ จันทวานิช. การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.

สมใจ วินิจกุล. อนามัย ชุมชน กระบวนการวินิจฉัยและการแก้ปัญหา. กรุงเทพฯ: ฟันนี่พับบลิชชิ่ง; 2550.

อังศินันท์ อินทรกำแหง. การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ: 3 self ด้วยหลัก PROMISe Model. กรุงเทพฯ: สุขุมวิท; 2552.

อาภาพร เผ่าวัฒนา และคณะ. การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน : การประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2556.

Green, L. and Kreuter, M. Health program planning: An educational and ecological approach. 4th Edition, McGraw Hill, New York; 2005.

Huberman, A. M., & Miles, M. B. Data management and analysis methods. In N. K; 1994.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research 1977; 2: 49-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-31