การวิเคราะห์ตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสาธารณสุขในระดับพื้นที่
คำสำคัญ:
ตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน, เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสาธารณสุขในระดับพื้นที่บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ตัวชี้วัดด้านสาธารณสุขที่ใช้สำหรับจัดลำดับความก้าวหน้าการดำเนินงานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 3 ด้านสาธารณสุขของประเทศไทยในเวทีโลก และจัดลำดับความสำคัญของตัวชี้วัดสำหรับการขับเคลื่อนการดำเนินงานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสาธารณสุขพร้อมกับจัดลำดับความสำคัญของปัญหาในระดับพื้นที่รายจังหวัด โดยใช้วิธีศึกษาวิเคราะห์จากรายงาน“SDGs Index and Dashboards Report 2018”, ข้อมูลการเกิด / ข้อมูลการตายของสำนักบริหารการทะเบียน กระทรวงมหาดไทย ที่จัดทำรายงานโดยกลุ่มข้อมูลข่าวสารสุขภาพ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และข้อมูลระบบรายงานวัณโรค TBCM ของสำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
ผลการศึกษา พบว่า ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 59 จาก 156 ประเทศทั่วโลก ซึ่งประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 4 ของอาเซียน รองจากสิงคโปร์ มาเลเซีย และเวียดนาม โดยจัดลำดับตัวชี้วัดด้านสาธารณสุขของประเทศไทย ดังนี้ 1.ตัวชี้วัดระดับ ดีมาก 6 ตัวชี้วัด 2. ตัวชี้วัดระดับดี 4 ตัวชี้วัด 3.ตัวชี้วัดระดับพอใช้ 1 ตัวชี้วัด 4.ตัวชี้วัดระดับวิกฤต 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ อุบัติการณ์ของวัณโรค, อัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจร และอัตราการคลอด มีชีพของมารดาวัยรุ่นอายุ 15 – 19 ปี ซึ่งจำเป็น ต้องวางแผนการแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ อย่างเร่งด่วนโดยเฉพาะพื้นที่เขตเมืองและเขตอุตสาหกรรม เพื่อให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่สามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2573
References
กระทรวงการต่างประเทศ. การทบทวนการดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ.2030 ระดับชาติ โดยการสมัครใจของไทย พ.ศ.2560. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ. ; 2561
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. นนทบุรี . [ออนไลน์]. (2560). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562]. เข้าถึงได้จาก http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/SDG%20Goal3_220960.pdf
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข (พ.ศ.2560– 2579. [ออนไลน์]. (2561). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562]. เข้าถึงได้จาก http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/EbookMOPH20yrsPlan2017_version2.pdf
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. รายงานสุขภาพคนไทย 2560. นครปฐม : ม.ป.พ. ; 2560
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. การพัฒนาเชิงพื้นที่สู่ความยั่งยืนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง . กรุงเทพฯ : บริษัทสตูดิโอ เฮชคิว จำกัด; 2560
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ความเป็นมาของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน.วารสารบนเส้นทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน 2560; 1 : 7 –17.
สำนักข่าว Hfocus : เจาะลึกระบบสุขภาพ. ปัญหาสาธารณสุขเขตเศรษฐกิจพิเศษ. อุดรธานี . [ออนไลน์]. (2559). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 15 เมษายน 2562]. เข้าถึงได้จาก https://www.hfocus.org/content/2016/11/133673
Bertelsmann Stiftung and Sustainable Development Solution Network.SDGs Index and Dashboards Report 2018. New York; 2018.
Klaus S. The Globa competitiveness Report 2018. Geneva; 2018.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว