ความคิดเห็นของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขในส่วนภูมิภาค ต่อตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2561
คำสำคัญ:
ความคิดเห็น, ตัวชี้วัด, กระทรวงสาธารณสุขบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขในส่วนภูมิภาคต่อตัวชี้วัด ของกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 และพัฒนาข้อเสนอสำหรับผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขในการกำหนดตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง ศึกษาทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ (1) แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลทั่วไป สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 413 แห่ง สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิอย่างไม่เป็นสัดส่วน เก็บข้อมูลระหว่าง 15 มิถุนายน-2 กรกฎาคม 2561 ตอบกลับแบบสอบถามจำนวน 380 แห่ง (ร้อยละ 92.2) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ และร้อยละ (2) การระดมสมอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้แทนเครือข่ายนักยุทธศาสตร์สาธารณสุข สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง
ผลการศึกษา พบว่า ตัวชี้วัดที่ควรคงไว้มากที่สุด คือ อัตราความสำเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ (ร้อยละ 97.10) เนื่องจากเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญและเป็นตัวชี้วัดแสดงประสิทธิผลการให้บริการได้ ตัวชี้วัดที่ควรตัดออกมากที่สุด คือ ร้อยละของตำบลจัดการสุขภาพในการเฝ้าระวังป้องกันแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี (ร้อยละ 37.60) เนื่องจากเป็นปัญหาเฉพาะพื้นที่ ข้อเสนอแนะควรปรับลดตัวชี้วัดและเลือกตัวชี้วัดที่เป็นปัญหาสุขภาพสำคัญ ไม่เป็นปัญหาเฉพาะพื้นที่ สะท้อนผลลัพธ์การทำงานของกระทรวงสาธารณสุข และไม่เป็นภาระของผู้ปฏิบัติงานในการเก็บข้อมูล
ข้อเสนอเชิงนโยบาย กระทรวงสาธารณสุขควรเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการกำหนดตัวชี้วัด ควรเพิ่มตัวชี้วัดที่แสดงความคาดหวังและมุมมองของผู้รับบริการ และกำหนดเกณฑ์ในการคัดเลือกตัวชี้วัดให้เหมาะสม
References
กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายงานผล การสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อคุณภาพผลงานของกองยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560; 2561. เอกสารอัดสำเนา.
กองยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักงานปลัด กระทรวงสาธารณสุข . แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข (พ .ศ . 2560 – 2579) . กรุงเทพฯ: บุญศิริการพิมพ์; 2561.
ดวงพร คุณากรวงศ์. ความคิดเห็นต่อการประเมินผลแบบตัวชี้วัด : กรณีศึกษากรมการปกครอง [ภาคนิพนธ์ ปริญญาโทรัฐศาสตร์มหาบัณฑิต ]. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2553.
รณกรณ์ เอกฉันท์. การพัฒนาตัวชี้วัดการบริการด้านสุขภาพเพื่อคุภาพชีวิตของผู้ต้องขังในเรือนจาไทย [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2558.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: บริษัท วิชั่น พริ้นท์แอนด์มีเดีย จำกัด; 2557.
Arah OA, Westert GP, Hurst J, et al. A conceptual framework for the OECD Health Care Quality Indicators Project. Int J Qual Health Care 2006; Sep; 18 Suppl 1: 5 – 13.
Giuffrida A, Gravelle H and Roland M. Measuring quality of care with routine data: avoiding confusion between performance indicators and health outcomes. BMJ 1999. 319 : 94 – 88.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว