ประสิทธิภาพของรูปแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพแบบมีส่วนร่วมเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของวัยรุ่นหญิง

ผู้แต่ง

  • จงรัก สุวรรณรัตน์ โรงพยาบาลปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
  • กรฐณธัช ปัญญาใส สาขาวิชาการจัดการสร้างเสริมสุขภาพ วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, การป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัย, วัยรุ่นหญิง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของความรอบรู้ด้านสุขภาพแบบมีส่วนร่วมเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของวัยรุ่นหญิง อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ วัยรุ่นหญิง จำนวน 53 คนโดยการสุ่มแบบแบบง่าย (Simple random sampling) ที่ได้รับโปรแกรมความรอบรู้ด้านสุขภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ชุดตรวจการตั้งครรภ์ และแบบประเมินความพึงพอใจ การดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนมิถุนายน – ตุลาคม 2561 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติ One way ANOVA with repeated measures

ผลการศึกษา พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของวัยรุ่นหญิงเพิ่มขึ้นจากการวัดซ้ำ ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพ การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ การสื่อสารเพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญ การจัดการเงื่อนไขทางสุขภาพของตนเอง การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ การตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง และพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ จากการวัดซ้ำแต่ละครั้งเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 หลังการติดตามกลุ่มตัวอย่างมีผลการตรวจการตั้งครรภ์ (pregnancy test) ในปัสสาวะ ไม่พบการตั้งครรภ์ และกลุ่มตัวอย่างมีระดับความพึงพอใจต่อกิจกรรมความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}=4.87, S.D.=.12)

References

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข. การประเมินและการสร้างเสริม ความรอบรู้ด้านสุขภาพ. [ออนไลน์]. (2560). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 17 กรกฎาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก http://www.hed.go.th.

กองสุขศึกษา และ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. คู่มือประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรสาหรับสตรีไทยวัยรุ่นอายุ 15 – 21 ปี. นนทบุรี: กองสุขศึกษา; 2559.

คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 กระทรวงสาธารณสุข. (ร่าง) แผนพัฒนาสุขภาพ แห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. [ออนไลน์]. (2561). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 17 กรกฎาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก http://wops.moph.go.th/ops/oic/data/20161115144754_1_แผน12.2559.pdf.

ฐิติวัสส์ สุขป้อม สันทนา วิจิตรเนาวรัตน์ และเกษมศรี อัศวศรีพงศ์ธร. การพัฒนารูปแบบชุดการจัดกิจกรรมแนะแนวที่มีต่อความยับยั้งชั่งใจด้านการมี เพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดชัยนาท. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ 2560; 6 : 189 – 202.

ไทยรัฐ. เด็กไทยตั้งท้องไม่พร้อมสูงกว่าเกณฑ์จากทั่วโลก. [ออนไลน์]. (2561). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 17 พฤษภาคม 2561 ]. เข้าถึงไดจ้ าก http://www.thaihealth.or.th/Content/2566.html.

บุรเทพ โชคธนานุกุล และกมลชนก ขาสุวรรณ. การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น : ผลกระทบทางสังคมจากมุมมองเรื่องเพศของแม่ต่างรุ่น. วารสารประชากร 2559 ; 4 : 61 – 79.

ประทวน วันนิจ. แนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของเยาวชนก่อนวัยอันควร เพื่อการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนในเขตพื้นที่ห้วยจระเข้มาก จังหวัดบุรีรัมย.์ วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย ์ 2558 ; 10 : 78 – 88.

วันวิสาข์ บัวลอย มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์ ภรณี วัฒนสมบูรณ์ และคณะ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาเพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 2557; 20 : 127-142.

สารานุกรมทางการพยาบาลและสาธารณสุข วิทยาลัยพยาบาลพระบรมราชชนนี. ปัญหาพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมของวัยรุ่น . [ออนไลน์]. (2561).[เข้าถึงเมื่อ วันที่ 17 พฤษภาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก http://www.bcnpy.ac.th/wiki/index.php/

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ : 21 เซ็นจูรี; 2550.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. อัตราป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นและเยาวชนอายุ 15 – 24 ปี. นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค; 2559.

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. สถานการณ์อนามัยเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชน. นนทบุรี: กรมอนามัย สำนักอนามัยเจริญพันธุ์; 2559.

Nutbeam D. Defining and measuring health literacy: what can we learn from literacy studies? Int. . J Public Health 2009 : 303 – 305.

Mancuso JM. Health Literacy: A concept/ dimensional analysis. Nurs Health Sci 2008; 10 (3 ): 248 – 255.

Ontario Health Promotion E-Bulletin: Health literacy and health promotion. [online]. (2017). [cited 2017 July 5]. Availble from http://www.ohpe.ca/node/175.

UNAIDS. Practical Guidelines for Intensifying HIV Prevention: Towards Universal Access. Geneva: UNAIDS; 2008.

WHO. health promotion. WHO publications; 1998.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-24