แนวทางการบำบัดและฟื้นฟูนักเรียนที่เสพสารเสพติดในจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • นิชัญญา ศรีเนตร์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การบำบัด, การฟื้นฟู, นักเรียน, เสพสารเสพติด

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การเสพสารเสพติด ศึกษาความรู้ ความพึงพอใจ และความต้องการที่มีต่อโครงการบำบัดและฟื้นฟูปัญหายาเสพติด และสร้างแนวทางการบำบัดและฟื้นฟูนักเรียนที่เสพสารเสพติดในจังหวัดนครราชสีมา เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบสนทนากลุ่ม แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบติดตามดูแลหลังการบำบัดและฟื้นฟู กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ (1) นักเรียนที่เสพสารเสพติด จำนวน 60 คน (2) ผู้ปกครองของนักเรียนที่เสพสารเสพติด จำนวน 8 คน (3) คณะครูในโรงเรียนที่นักเรียนเสพสารเสพติด จำนวน 3 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณเป็น ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการจัดหมวดหมู่ข้อมูล

ผลการวิจัย พบว่า (1) นักเรียนมีสารเสพติดในปัสสาวะ จำนวน 60 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย โดยนักเรียนต้องการให้จัดค่ายอบรมให้ความรู้แก่นักเรียน ที่เสพสารเสพติด จึงได้จัดทำโครงการค่ายแกนนำเยาวชนคนโคราช smart 4.0 (2) ก่อนเข้าโครงการนักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับสารเสพติดอยู่ในระดับปานกลาง แต่หลังจากเข้าร่วมโครงการมีความรู้อยู่ในระดับมากที่สุด (3) ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมในโครงการระดับมากในทุกประเด็น เช่น พึงพอใจต่อกิจกรรมในโครงการ และมีความต้องการอยู่ที่ระดับมากที่สุดในทุกประเด็น เช่น กิจกรรมในโครงการสามารถเพิ่มความสนุกสนานได้อีก (4) แนวทางการบำบัดและฟื้นฟูนักเรียนที่เสพสารเสพติดในจังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ดังนี้ (1) นักเรียน ต้องเปิดใจยอมรับ ให้ความร่วมมือในการบำบัดและฟื้นฟู (2) สถานศึกษา จัดกิจกรรมให้คำปรึกษา ให้โอกาส สนับสนุน การบำบัดและฟื้นฟู (3) ผู้ปกครอง ต้องให้กำลังใจ และให้คำปรึกษา (4) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมาเป็นหน่วยงานหลักในการประสานงาน คอยกำกับ ติดตาม และประเมินผลโครงการ ส่วนแนวทางการบำบัดและฟื้นฟูนักเรียนฯ ที่พัฒนาขึ้น ควรนำไปดำเนินการขยายผลกับกลุ่มเสพสารเสพติดกลุ่มอื่น ๆ ต่อไป

References

กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข). [ออนไลน์]. (2560). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562]. เข้าถึงได้จาก http://wops.moph.go.th/ops/oic/data/20180315154733_1_.pdf

ชาตรี ชัยนาคิน ชาตรี ประชาพิพัฒ และอารี พุ่มประไวทย์. การเลิกเสพยาบ้าซ้ำ: กรณีศึกษาผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพยาเสพติดค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยวิธีชุมชนบำบัด. วารสารเกื้อการุณย ์ 2559 ; 23(2) กรกฎาคม – ธันวาคม : 248 – 262.

ณัษฐนนท ทวีสิน และอานนท์ ทวีสิน. แนวทางการป้องกันปัญหายาเสพติดของเยาวชนในจังหวัดฉะเชิงเทรา . วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร 2560; 8(1) : 151 – 158.

ธินัฐดา พิมพ์พวง และมานพ คณะโต. ภูมิคุ้มกันยาเสพติดและสารเสพติดของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนอำเภอเมืองจังหวัดปัตตานี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 2559; 27(1) มกราคม – เมษายน : 136 – 146.

วรางคณา จันทร์คง และปาจรีย์ ผลประเสริฐ. แนวทางการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชนนอกสถานศึกษา ในจังหวัดกำแพงเพชร.วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข 2561; 4(1) มกราคม–เมษายน : 65 – 74.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522. [ออนไลน์]. (2562). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562]. เข้าถึงได้จาก http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%C207/%C207-20-9999-update.pdf

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. การป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษา. [ออนไลน์]. (2561). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 ]. เข้าถึงได้จาก https://media.oncb.go.th/index.php/th/23-2018-02-20-07-04-07/2018-02-20-07-05-01/39-2018-03-02-02-31-39

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด นครราชสีมา. ปัญหายาเสพติดในเด็กนักเรียนจังหวัดนครราชสีมา.นคราชสีมา : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา; 2560 (สำเนาอัด)

อัญชลี โตเอี่ยม และคณะ. ปัจจัยทำนายการเสพแอมเฟตามีนของเยาวชนในชุมชนแออัด. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2559; 9(2) กรกฎาคม – ธันวาคม : 88 – 103

อรพรรณ แซ่เอี้ยว. สถานการณ์และแนวทางในการแก้ปัญหายาเสพติดอาเซียน : ประเทศไทย. [ออนไลน์]. (2561). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562]. เข้าถึงได้จาก https://seven02.s3.amazonaws.com/2S58/1537817286.6fdfcd7747ef0e2c253c8bfcb132c480.pdf

Maslow, A. Motivation and Personality (2nd ed.). New York: Harpers and Row; 1970.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-24