การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานมหัศจรรย์พันวันแรกแห่งชีวิต อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • อรุณ ประจิตร สำนักงำนสำธำรณสุขอำเภอเมืองยำง

คำสำคัญ:

มหัศจรรย์พันวันแรกแห่งชีวิต, มาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็ก, วงจรบริหารงานคุณภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยการพัฒนาแนวทางดำเนินงานมหัศจรรย์พันวันแรกแห่งชีวิต อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อนำผลการศึกษาไปใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานมหัศจรรย์พันวันแรกแห่งชีวิต และค้นหาปัจจัยความสำเร็จในการจัดบริการส่งเสริมสุขภาพของสตรี ก่อน ระหว่างการตั้งครรภ์ และหลัง การตั้งครรภ์ ของโรงพยาบาลพิมาย และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 200 คน ได้แก่ กลุ่มสตรีที่ต้องการมีบุตร จำนวน 176 คน และกลุ่มพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลัง การวิจัยตามขั้นตอนวงจรบริหารงานคุณภาพเดมมิ่ง จำนวน 2 วงรอบ ได้แก่ การกำหนด แผนงานกิจกรรม การดำเนินงานตามแผน การควบคุมการเฝ้าระวัง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเชิงพรรณนา การแจกแจงความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา โดยการบรรยายเชิงพรรณนา

ผลการวิจัย พบว่า หลังการพัฒนาแนวทางดำเนินงานมหัศจรรย์พันวันแรกแห่งชีวิต แตกต่างจากก่อนการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.05) ได้แนวทางการดำเนินงาน ประกอบด้วย (1) แนวทางดูแลสุขภาพกลุ่มสตรีที่ต้องการมีบุตร (2) แนวทางการส่งเสริมสุขภาพตามเกณฑ์มาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็ก (3) ปัจจัยความสำเร็จพัฒนาการดำเนินงานมหัศจรรย์พันวันแรกแห่งชีวิต (4) แนวทางการบริหารงานคุณภาพการดำเนินงานมหัศจรรย์พันวันแรกแห่งชีวิต (5) ชุดเอกสารความรู้การดำเนินงานงานมหัศจรรย์พันวันแรกแห่งชีวิต ข้อเสนอเชิงปฏิบัติการ พยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานอนามัยแม่และเด็ก นำแนวทางและชุดความรู้ไปปรับใช้ตามบริบทและความเหมาะสม โดยมีแพทย์ เภสัชกร สหวิชาชีพ เป็นที่ปรึกษาและสนับสนุนการดำเนินงาน ข้อเสนอเชิงนโยบาย ขยายผลการใช้ชุดความรู้และพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจ การส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มสตรีที่ต้องการมีบุตร ตามแนวทางการดำเนินงานและมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็ก เพื่อสามารถจัดบริการงานอนามัยแม่เด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน . สถิติสาธารณสุข ปี 2560. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี; 2559.

ประนอม บุพศิริ. การศึกษาสตรีตั้งครรภ์มีความต้องการไอโอดีนให้ทารกที่อยู่ในครรภ์ มากกว่าคนทั่วไป. เอกสารการประชุมวิชาการครั้งที่ 29 ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2559.

พิชฏา อังคะนาวิน. การส่งเสริมสมองเพื่อพัฒนาการของทารกในครรภ์. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี. วารสารสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2559; 3 (6) พฤศจิกายน–ธันวาคม : 162.

รุ่งนภา คำผาง และสุธาสินี คำหลวง. การศึกษาการพัฒนาแนวทางมาตรฐานคุณภาพ (quality standards: QS) สำหรับบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคระยะที่ 1. โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ มูลนิธิเพื่อการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

รุ่งนภา คำผาง สุธาสินี คำหลวง และคณะ. การศึกษาการพัฒนาแนวทางมาตรฐานคุณภาพ (quality standards: QS) สำหรับบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคระยะที่ 2. โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ มูลนิธิเพื่อการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ. นนทบุรี: กรมอนำมัย กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

เรณู ศรีสุข. การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมาฝากครรภ์ครั้งแรกภายใน 12 สัปดาห์ของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ในสถานบริการเขตอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี [วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการผดุงครรภ์ขั้นสูง]. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.

ศรีเรือน ดีพูน และวิไลลักษณ์ ไชยมงคล. การพัฒนาคุณภาพงานอนามัยแม่และเด็กเพื่อลดความขัดแย้งทางการแพทย์งานบริการสาธารณสุข จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2561; 33(1) : 23 – 36.

สมบูรณ์ บุณยเกียรติ และผกากรอง จันทร์แย้ม . การศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านโภชนาการในสตรีตั้งครรภ์ที่เข้ารับบริการฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศ จังหวัดปราจีนบุรี.วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้ำ จันทบุรี 2560; 34(4) : 270 –81 .

สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ. คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM). นนทบุรี : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. รายงานสุขภาพคนไทย 2561 : พุทธศาสนากับการสร้างเสริมสุขภาวะ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. นครปฐม : อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง (บมจ.); 2561.

สุวิมล ติรกานันท์. การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.

สำนักงานเขตสุขภาพที่ 9. คู่มือ CFT: มหัศจรรย์ 1,000 แรกแห่งชีวิต เขตสุขภาพที่ 9. นครราชสีมา; 2562.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอพิมาย. รายงานข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพเอกสารประกอบการตรวจราชการอำเภอพิมาย 2562; 2562.

Barker D.J. Intrauterine programming of coronary heart disease and stroke. Acta Paediatr Suppl 1997 Nov; 178 – 82.

Deming, W.E. PDCA cycle a quality approach. Cambridge: MA MIT; 1993.

Vollmer S, Harttgen K, Subramanyam MA, Finlay J, Klasen S, Subramanian SV. Association between economic growth and early childhood undernutrition: evidence from 121 Demographic and Health Surveys from 36 low-income and middle-income countries. Lancet Glob Health. 2014; 2 : 225 – 34.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30