ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ด้านทันตสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก ของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหล่า อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ธนิดา ผาติเสนะ สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • วิภาวรรณ มุ่งยุทธกลาง สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • อรชร กอหญ้ากลาง สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • เสฎฐวุฒิ ไพสีสาน สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การรับรู้ด้านทันตสุขภาพ, สุขภาพช่องปาก, ผู้ป่วยโรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ด้านทันตสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยโรคเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหล่า อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 92 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ไคสแควร์

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 71.7 อายุ 61 – 70 ปี ร้อยละ 32.6 จบการศึกษาสูงสุดระดับประถมศึกษา ร้อยละ 90.2 ระยะเวลาที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน 1 – 10 ปี ร้อยละ 72.8 มีปัญหาสุขภาพช่องปากส่วนใหญ่ปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์ ร้อยละ 93.5 ไม่เคยสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ร้อยละ 78.3 และ 67.4 ตามลำดับ มีการรับรู้ด้านทันตสุขภาพอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 85.9 และมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 60.9 การรับรู้ด้านทันตสุขภาพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05)

References

จันทนา อึ้งชูศักด์ิ และคณะ. การดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตัวเองสำหรับครอบครัว. กรุงเทพฯ : ชุมชุมการเกษตรแห่งประเทศไทย; 2552.

จันทนา อึ้งชูศักด์ิ. เบาหวานกับสุขภาพช่องปาก. [ออนไลน์]. (2561). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 10 ต.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก https://www.dailynews.co.th/article/582900

เดอะบางกอกนิวส์. สธ.เผยคนไทยป่วยเบาหวาน 3 . 5 ล้านคน ส่วนใหญ่คุมระดับน้ำตาลไม่ได้ อีก 1.2 ล้านคนไม่รู้ตัวว่าป่วย [ออนไลน์]. (2556). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 10 ตุลาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก http://www.bangkokvoice.com/2013/10/30/bv-news-1226/

ตวงพร กตัญญุตานนท์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวาน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลวัดศรีวารีน้อย ตำบลศีรษะจรเข้ใหญ่ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562; 28 (5) : 792 – 801.

ธนิดา ผาติเสนะ และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ 2561; 17(1): 26.

แบบรายงานการตรวจราชการระดับจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 จังหวัดนครราชสีมา เขตสุขภาพที่ 9 ครั้งที่ 2 วันที่ 5 – 7 มิถุนายน 2562. [ออนไลน์]. (2556). [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 14 มกราคม 2563] เ ข้าถึงได้จาก http://bie.moph.go.th/einsreport/file_report/2019-06-12-05-47-40-11.pdf

วรรณรา ชื่นวัฒนาและคณะ. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลบางแม่นาง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี 2557; 6(3) : 136 – 170.

ศิริพันธ์ หอมแก่นจันทร์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตอำเภอแม่ทะ จังหวัดลาปาง [การค้นคว้าอิสระ คณะสาธารณสุขศาสตร์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.

อภิวัฒน์ แสนวงษ์. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ กับการปฏิบัติตัวด้านการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการคลินิกโรคเรื้อรังในโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองกุง อำเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ : สานักงานสาธารณสุขอำเภอโนนคูณ; 2559.

Becker, M.H. The Health Belief Model and Personal Health Behavior. Health Education Monographs; 1974.

Yamane T. Statistics, an introductory analysis. 2nd Ed. New York: Harper and Row; 1967.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30