การพัฒนารูปแบบการจัดทำแผนการคุ้มครองสมุนไพรและบริเวณถิ่นกำเนิดสมุนไพร แบบมีส่วนร่วม ในพื้นที่ป่าชุมชนภูตะเภา เขตพื้นที่ตำบลสามสวน อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
สมุนไพร, ป่าชุมชน, A-I-Cบทคัดย่อ
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจ พรรณพืชสมุนไพรและพัฒนาประชาคมในการพัฒนารูปแบบจัดทำแผนคุ้มครองสมุนไพรและบริเวณถิ่นกำเนิดสมุนไพรแบบมีส่วนร่วม ในป่าชุมชนภูตะเภา เขตพื้นที่ตำบลสามสวน อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่าง คือ องค์กรภาครัฐ และประชาชนในหมู่บ้านรอบ ๆ ป่าชุมชน รวม 84 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย แบบการสำรวจป่าชุมชน และแบบสอบถาม การพัฒนาประชาคมในการพัฒนารูปแบบการจัดทำแผนคุ้มครองสมุนไพร ใช้แบบสังเกตพฤติกรรมและสัมภาษณ์กลุ่มประชาคมป่าชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการจัดหมวดหมู่ และสรุปประเด็นสำคัญ ตามสภาพความเป็นจริงที่ปรากฏ
ผลการสำรวจป่าชุมชนพบสมุนไพร 122 ชนิด แยกเป็นสมุนไพรที่มีค่าต่อการศึกษาวิจัย 3 ชนิด สมุนไพรที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ 14 ชนิด สมุนไพรที่อาจจะสูญพันธุ์ 20 ชนิด ผลการพัฒนาประชาคมด้วยเทคนิค A-I-C และวิเคราะห์ SWOT พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ด้านกฎหมายป่าชุมชน และกฎหมายด้านการคุ้มครองสมุนไพรเพิ่มมากขึ้น และส่วนใหญ่คิดว่าผู้นำเป็นหัวใจสำคัญที่สะท้อนให้เห็นความเข้มแข็งของชุมชน
ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการพัฒนารูปแบบการจัดทำแผนคุ้มครองฯ ภายใน พบว่า จุดแข็ง คือวิถีชุมชนเดียวกัน ทำให้สร้างจิตสำนึกใน การคุ้มครองสมุนไพรฯ ร่วมกัน จุดอ่อน คือกลุ่มตัวอย่างขาดความรู้ด้านกฎหมาย ขาดการสนับสนุนความรู้ งบประมาณ ไม่มีแผนการคุ้มครองสมุนไพรที่ชัดเจน และไม่มีการตรวจสอบติดตามอย่างเป็นระบบ โอกาส คืออ.บ.ต. ให้ความสนใจ และสนับสนุนงบประมาณ บูรณาการการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนด้านความรู้ ทักษะ เทคโนโลยี เพื่อนำแผนไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ และ อุปสรรค คือความไม่รู้ กฎระเบียบคนนอกเขตชุมชม ไม่มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนงานอย่างจริงจัง การจัดทำแผนคุ้มครองสมุนไพรฯ แบบมีส่วนร่วม ควรมีองค์ประกอบคือ ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินงาน ร่วมติดตามและประเมินผล และร่วมในผลประโยชน์ โดยการระดมสมองจึงทำให้ได้แผนงานหลักด้านการคุ้มครองสมุนไพร 4 แผนงาน
References
กระทรวงสาธารณสุข.พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ.2542และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : พุ่มทอง; 2558
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. คณะอนุกรรมการพิจารณาจัดทาแผนจัดการเพื่อคุ้มครองสมุนไพรและบริเวณถิ่นกำเนิดสมุนไพร. แผนจัดการเพื่อคุ้มครองสมุนไพรในพื้นที่เขตอนุรักษ์ภูผากูด จังหวัดมุกดาหาร กรุงเทพ : บริษัท สปีดกราฟฟิคเฮ้าส์ จำกัด; 2551.
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก . รายงานผลการดำเนินงานเพื่อประสิทธิภาพในการอนุรักษ์และใชป้ ระโยชน์จากสมุนไพรในป่าชุมชนปีงบประมาณ 2559 – 2560.
บัญชร แก้วส่อง. รูปแบบสังคม-จิตวิทยาสำหรับการอธิบายการมีส่วนร่วมของประ ชาชนในกระบวนการพัฒนา [วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร; 2531.
ประชาสรรค์ แสนภักดี. M.P.M.CMU. เทคนิคกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม Mind Map & A-I-C for Partipatory Planning. [ออนไลน์]. (ม.ป.ท.]. [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 6 มิถุนายน 2562]. เข้าถึงได้จาก http://Prachasan.com/mindmapknowlege/aic.htm.
พระใบฎีกาวิเชียร ใจดี. การมีส่วนร่วมของชาวบ้านในการจัดการป่าชุมชน กรณีศึกษาชุมชนบ้านปี้ ตำบลเวียง อำเภอเชียงคา จังหวัดพะเยา [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่; 2548
ไพโรจน์ คชรินทร์. ผลสำเร็จของการจัดการป่าชุมชน กรณีศึกษาป่าชุมชนบ้านปางเปา [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้; 2556.
สำนักนโยบายและแผนงานสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. การวางแผนพัฒนาสาธารณสุข. กรุงเทพฯ : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2536.
อมร นนทสุต. สำนักนโยบายและแผนสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข : ม.ป.พ.; 2539.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงสาธารณสุข
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา และบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว